ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศริ้วขบวนที่ 6 (ริ้วขบวนสุดท้าย)


การพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ดำเนินมาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว คือ พระราชพิธีบรรจุ พระบรมราชสริรางคาร

ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศริ้วขบวนที่ 6 (ริ้วขบวนสุดท้าย)

การเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระบรมมหาราชวังไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหารโดยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ 6 ในเวลา 17.30 น. วันที่ 29 ตุลาคม 2560

พระราชพิธีพระบรมศพ
ความแตกต่างระหว่าง พระบรมอัฐิ กับ พระบรมราชสรีรางคาร จากพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


"อัฐิ" หมายถึง กระดูกคนที่เผาแล้ว ส่วน "สรีรางคาร" หรือ อังคาร หมายถึง เถ้าถ่านที่ปะปนกับกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยของศพที่เผาแล้ว

โดย พระบรมอัฐิ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประมวลลงในพระโกศทองคำลงยา อัญเชิญจากพระเมรุมาศมาประดิษฐานบนบุษบกแว่นฟ้า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งจะมีพิธีอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ ขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 29 ตุลาคม 2560 ช่วงเวลา 10.30 น


ส่วน พระบรมราชสรีรางคาร เจ้าพนักงานได้ประมวลลงในพระผอบโลหะปิดทอง อัญเชิญจากพระเมรุมาศ มาพักไว้ที่พระศรีรัตนเจดีย์ พระบรมมหาราชวัง โดยในวันที่ 29 ตุลาคม 2560 เริ่ม 17.30 น.   จะอัญเชิญไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร โดยริ้วขบวนสุดท้าย

พระราชพิธีพระบรมศพ

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศริ้วขบวนที่ 6 เป็นขบวนกองทหารม้าเชิญพระบรมราชสรีรางคารโดยรถยนต์พระที่นั่ง ซึ่งมีพันโทหญิงพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ องค์ผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ ทรงนำขบวนกองทหารม้า   จัดขบวนม้าจำนวน 77 ม้า

พระราชพิธีพระบรมศพ

ริ้วขบวนเชิญพระบรมราชสรีรางคาร
เริ่มจากเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์
วัดพระศรีรัตนศาสดารามไปบรรจุ
ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

พระราชพิธีพระบรมศพ


เส้นทางจากพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี – ถนนหน้าพระลาน – ถนนสนามไชย – ถนนกัลยาณไมตรี – ถนนอัษฎางค์ – วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
พระราชพิธีพระบรมศพ

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็น  พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412  มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย
ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ “ราชบพิธ” หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง บพิธ คำนี้มาจากภาษาบาลีคือ ปวิธะ ที่แปลว่าสร้าง ส่วน “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึ่งมีสีมากว้างใหญ่ เป็นมหาสีมาล้อมรอบอาณาเขตของวัด

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

พระราชพิธีพระบรมศพ

จากนั้นขบวนเชิญพระบรมราชสีรางคาร
จากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ไปบรรจุ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระราชพิธีพระบรมศพ

วัดบวรนิเวศวิหาร
เส้นทางจากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม – ถนนอัษฎางค์ – ถนนกัลยาณไมตรี – ถนนสนามไชย – ถนนราชดำเนินใน – ถนนราชดำเนินกลาง – ถนนพระสุเมรุ – วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)

วัดบวรนิเวศวิหาร

พระราชพิธีพระบรมศพ



จบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย


สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์ 
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวณิชาภา เจียกขจร 
Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก