เดิมเป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่เคยสำคัญยิ่งมาในอดีตสมัยอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒(เจ้าสามพระยา)ทรงสร้างขึ้น และได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งในหลายสมัย แต่ได้กลายเป็นวัดร้าง เข้าใจว่านับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ รวมเวลาร่วงเลยมา ๒๐๐ กว่าปี ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่สภาพโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่ได้ปรักหักพังไปมาก แต่ก็พอมีเค้าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงศิลปะการก่อสร้างอันประณีตงดงามมโหฬารและระดับความสำคัญของพระอารามแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
แนวคิดทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับการสร้างวัดมเหยงคณ์ ได้แตกออกเป็น ๒ แนวทางคือ
- ตามพงศาวดารเหนือได้บันทึกไว้ว่า พระนางกัลยาณี มเหสีของพระเจ้าธรรมราชา (พ.ศ. ๑๘๔๔-๑๘๕๓) กษัตริย์องค์ที่ ๘ ของอโยธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์ ซึ่งแสดงว่าวัดมเหยงคณ์สร้างในสมัยอโยธยาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาอย่างน้อย ๔๐ ปี
- ส่วนพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่าศักราช ๗๘๖ มะโรงศก(พ.ศ.๑๙๖๗)สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า(เจ้าสามพระยา)กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์ขณะที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติกล่าวว่าศักราช ๘๐๐ มะเมียศก (พ.ศ.๑๙๘๑) สมเด็จบรมราชาธิราชเจ้า (เจ้าสามพระยา) เป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์
มีการวิเคราะห์กันว่าวัดมเหยงคณ์นั้นถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งอโยธยา แต่ชำรุดทรุดโทรมเมื่อเวลาผ่านไปกว่า ๑๐๐ ปี ถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเห็นว่าเป็นวัดเก่าแก่ จึงบูรณะและสร้างเพิ่มเติมให้ใหญ่โตจากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว
วัดมเหยงคณ์ได้รับการบูรณะ
ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
ในสมัยกษัตริย์พระนามว่า พระภูมิมหาราช (พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ในปีฉลูเอกศก
(สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ.๒๒๕๒) วัดมเหยงคณ์ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงรุ่งเรืองตลอดมาจนถึง สมัยกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐
(สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ.๒๒๕๒) วัดมเหยงคณ์ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงรุ่งเรืองตลอดมาจนถึง สมัยกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐
ภายในวัดมเหยงคณ์ มีพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานสูง ๒ ชั้นลดหลั่นกัน ขนาดพระอุโบสถกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร นับว่าเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุด ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังพระอุโบสถทางทิศตะวันตกพ้นเขตกำแพงแก้ว จะพบพระเจดีย์ฐานช้างล้อมซึ่งเป็นเจดีย์องค์ประธานของวัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างยาวด้านละ ๓๒ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ทิศ ที่ฐานทักษิณมีรูปช้างปูนปั้นยืนประดับอยู่ตามซุ้มรอบฐานรวม ๘๐ เชือก องค์เจดีย์ประธานยอดเจดีย์หักตั้งแต่ใต้บัลลังก์ลงมา ฐานชั้นล่างของพระเจดีย์มีซุ้มพระพุทธรูปจตุรทิศยื่นออกมาเห็นชัดเจน
วัดมเหยงคณ์
ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐
โทร.๐๓๕ ๒๔๒๘๙๒, ๐๓๕ ๒๔๔๓๓๕
ความสำคัญ : สำนักปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมม
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
เสียงธรรมเทศนา :
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) เจ้าอาวาส
ข้อมูลรายละเอียด
สามารถบวชได้ทุกวัน
ไม่ต้องแจ้งความจำนงล่วงหน้า
ไม่ต้องแจ้งความจำนงล่วงหน้า
บวชเนกขัมมภาวนา (ถือศีล ๘) วันธรรมดา
พิธีบวชเวลา ๐๘.๔๕ น. (วันพระ ๐๙.๐๐ น.)
พิธีลาสิกขา ๐๖.๐๐ น.
เปิดลงทะเบียนที่สำนักงานวัด
เวลา ๐๗.๓๐ น.เป็นต้นไป ปิด 17.00 น.
เวลา ๐๗.๓๐ น.เป็นต้นไป ปิด 17.00 น.
บวชเนกขัมมภาวนา ช่วงวันเทศกาล
~ กำ ห น ด ก า ร ~
พิธีบวช มีวันละ ๓ รอบ คือ
๑. เวลา ๑๒.๐๐ น. (วันแรกเวลา ๑๐.๐๐ น.)
๒. เวลา ๑๕.๓๐ น.
๓. เวลา ๒๑.๐๐ น.
(ผู้จะบวชตอนบ่ายและตอนค่ำได้ ต้องไม่ทานอาหารในเวลาวิกาล
คือ เลยหลังเที่ยงวัน)
~ พิ ธี ล า สิ ก ข า ~
มีวันละ ๑ รอบ คือ เวลา ๐๖.๐๐ น.
ตารางกำหนดการปฏิบัติประจำวัน
◆ ๐๔.๐๐ น. ตื่นขึ้นทำภารกิจส่วนตัว
◆ ๐๔.๓๐ น. ทำวัตรเช้า ปฏิบัติกรรมฐาน (หญิง)
ณ ศาลาเขมรังสี
◆ ๐๖.๐๐ น. ช่วยกันทำความสะอาด
ศาลาเขมรังสี-บริเวณวัด (จิตอาสา)
◆ ๐๗.๐๐ น. ช่วยจัดอาหารที่พระสงฆ์บิณฑบาตมา (จิตอาสา)
◆ ๐๗.๓๐ น. พร้อมกันที่ศาลาสติมา
◆ ๐๘.๔๕ น. เริ่มพิธีบวช ณ ศาลาเขมรังสี
◆ ๐๙.๓๐ น. ฟังธรรม พร้อมการเจริญสติ ปฏิบัติธรรม
◆ ๑๑.๐๐ น. พร้อมกันที่ศาลาเขมรังสี เตรียมตักอาหารเพล (เฉพาะผู้ทาน 2 มื้อ)
◆ ๑๓.๓๐ น. เดินจงกรม ณ ลานธรรมจักษุ ลานอตมธรรม,สวนแสนสบาย,สวนสุขสงบ
◆ ๑๔.๓๐ น. นั่งเจริญกรรมฐาน ณ ลานธรรมจักษุ ลานอตมธรรม
สวนแสน สบาย สวนสุขสงบ
◆ ๑๕.๓๐ น. พักดื่มน้ำปานะ - ทำความสะอาด บริเวณวัด(จิตอาสา) -อาบน้ำ
◆ ๑๗.๐๐ น. นั่งเจริญกรรมฐาน ณ ริมสระใหญ่ (สระมุจลินท์)
◆ ๑๘.๓๐ น. นั่งเจริญกรรมฐาน
ณ ศาลาเขมรังสี หรือ ลานอมตธรรม
◆ ๑๙.๓๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น (หญิง) ณ ศาลาเขมรังสี
◆ ๒๐.๐๐ น. ฟังการแสดงธรรม ณ ศาลาเขมรังสี
(ยกเว้น เฉพาะวันพระ วันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์
ฟังการแสดงธรรมณ ลานอมตธรรม)
◆ ๒๑.๐๐ น. แยกย้ายกลับสู่ที่พัก ปฏิบัติส่วนตัว และพักผ่อน
หมายเหตุ ปิดโทรศัพท์และงดพูดคุยเวลาปฏิบัติธรรม,เวลาฟังธรรม,และเวลานอน
**สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น
ณ ศาลาเขมรังสี วัดมเหยงคณ์
พระนครศรีอยุธยา
ช่วงเช้าของวันพระ
มีการใส่บาตรหน้าวัดมเหยงค์
ณ ศาลาเขมรังสี วัดมเหยงคณ์
พระนครศรีอยุธยา
ช่วงเช้าของวันพระ
มีการใส่บาตรหน้าวัดมเหยงค์
การแต่งกายสำหรับอุบาสกอุบาสิกา ( ศีล ๘ )
ชุดอุบาสก - อุบาสิกา ที่วัดมีจำหน่าย และ มีให้ยืม
อุบาสก (ชาย) เสื้อคอกลมสีขาวแขนสั้น กางเกงขายาวสีขาว
อุบาสิกา (หญิง) ผ้าถุงยาวสีขาว (ต้องใส่ซับใน)
เสื้อแขนสามส่วนสีขาว พร้อมสไบ
ถ้าผมยาวต้องรวบผมให้เรียบร้อย ด้วยอุปกรณ์สีดำ ,
ตัดเล็บให้เรียบร้อย ไม่ทาสีเล็บ
การปฏิบัติตนขณะบวช
- ปิดโทรศัพท์ และงดพูดคุยเวลาปฏิบัติธรรม,
เวลาฟังธรรม,และเวลานอน
-การนั่งฟังธรรม ให้นั่งพับเพียบอยู่ในอาการสงบ
ไม่พูดคุยหรือส่งเสียงดัง
-การเดิน ควรเดินอย่างสำรวม ไม่กระโดด ไม่วิ่ง
-เมื่อจะเดินผ่านคนที่นั่งควรก้มตัวลง
-ไม่ควรเดินผ่านพระภิกษุ หรือแซงพระภิกษุ
เมื่อพระภิกษุเดินผ่าน
-การดื่มน้ำ การรับประทานอาหาร
ควรนั่งให้เรียบร้อยก่อน (ไม่ยืนดื่มน้ำ)
-ไม่รวมกลุ่มสนทนาเรื่องทางโลก และเรื่องไร้สาระ
-ไม่พูดเสียงดังจนเป็นที่รำคาญของผู้อื่น
-หลังเที่ยง ไม่ให้รับประทานเครื่องดื่มประเภท
นม ไมโล โอวัลติล น้ำนมถั่วเหลือง
ของใช้ที่ต้องเตรียมมาเอง
ชุดบวชเนกขัมมภาวนา สวมชุดขาว
(อุบาสิกาไม่สวมกางเกง ยกเว้นเวลานอน)
หรือ สหกรณ์วัด มีจำหน่าย
เครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น สบู่ แชมพู หวี
แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไฟฉาย ฯลฯ
ยาประจำตัวสำหรับท่านที่มีโรคประจำตัว
บัตรประจำตัวประชาชน
(ไม่ควรนำสิ่งของมีค่ามา
หรือถ้ามี ควรนำติดตัวไว้เสมอ)
หมายเหตุ ที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม
ค่าใช้จ่าย:ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น หากประสงค์จะทำบุญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น