คำขวัญเพชรบูรณ์
เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว
ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์
นครพ่อขุนผาเมือง
วันนี้ Insight out ได้รับเชิญจากสำนักงานท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดกิจกรรม Familiarization trip ดึงผู้ประกอบการไทย - ต่างชาติ เปิดประตู้เส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก อยุธยา ศรีเทพ สุโขทัย หลวงพระบาง พร้อมจัดสัมนาทางวิชาการและเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งจากใน และต่างประเทศ และสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้กอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
วันนี้ Insight out ได้รับเชิญจากสำนักงานท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดกิจกรรม Familiarization trip ดึงผู้ประกอบการไทย - ต่างชาติ เปิดประตู้เส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก อยุธยา ศรีเทพ สุโขทัย หลวงพระบาง พร้อมจัดสัมนาทางวิชาการและเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งจากใน และต่างประเทศ และสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้กอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
กิจกรรมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๘-๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ เส้นทางเริ่มจากกรุงเทพ มุ่งสู่จังหวัดเพชบูรณ์ อำเภอหล่มสัก ที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถมุ่งสู่หลวงพระบาง ผ่านด่านพรมแดนบ้านนากระแซ็ง จังหวัดเลย จะเชื่อมต่อไปยังเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วสามารถมุ่งกลับมายังไทย สู่แหล่งท่องท่องเที่ยวมรดกโลก คือ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุโขทัย อุทธยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เชื่อมโยงต่อไปยังจังหวัดตาก และกลับมายังอยุธยา และกลับมายังกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ เรามาดูภาพเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง กันนะค่ะ
วันแรกเดินทางออกจากกรุงเทพ ถึงเพชรบูรณ์ ประมาณเที่ยงวันและแว่ะมาทักทานอาหาร ณ ร้านไก่ย่างตาแป๊ะ 2 เป็นไก่ย่างต้นตำหรับหนังกรอบเนื้อนุ่ม เจ้าแรกในตำนานของอำเภอวิเชียรบุรี
จากนั้น นำเที่ยวชมอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีเทพ ดินแดนที่มีอารยธรรม อยู่ใกล้แม่น้ำป่าศักดิ์
"อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ" เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์จำนวน สิบแห่งของประเทศไทย ปัจจุบันที่จัดตั้งขึ้นโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สำหรับชื่อเรียก“ศรีเทพ” พื้นที่ที่มีการตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้น นับเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยปัจจุบัน เนื่องจากยังเป็นพื้นที่ที่ปรากฎร่องรอยหลักฐานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของมนุษย์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทวารวดีและเขมรตามลำดับ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นพื้นที่ในส่วนเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒,๘๘๙ ไร่ หรือประมาณ ๔.๗ ตารางกิโลเมตร
มีลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแบบเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี ที่ยังคงสามารถรักษารูปแบบแต่เดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุดโดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแห่งหนึ่งของประเทศไทย แบ่งพื้นที่ภายในเป็นสองเมืองที่นับได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะที่พบไม่มากนักในเมืองร่วมสมัยเดียวกันที่พบในปัจจุบัน โดยเมืองในมีพื้นที่ประมาณ ๑,๓๐๐ ไร่ เป็นเมืองรูปเกือบกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร มีช่องประตูเมือง ๖ ช่องทางและมีโบราณสถาน ซึ่งได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้วทั้งหมดประมาณ ๔๐ แห่ง อันมีโบราณสถานเขาคลังใน ทางทีมงานได้พาเข้าร่วมชม
"อาคารวิชาการ และห้องสมุด" เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งกิจกรรมด้านการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภายในประกอบด้วยห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนและห้องสมุด
"ปรางค์สองพี่น้อง" เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะเป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐสององค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทั้งสององค์ส่วนยอดพังทลายไปจนหมดสิ้นแล้ว แต่องค์เล็กยังหลงเหลือทับหลังศิลาทรายที่มีสภาพสมบูรณ์ประดับอยู่จำหลักเป็นรูปอุมามเหศวร (พระอิศวรอุ้มนาง ปารพตี (อุมา) ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราชหรือนนทิ) จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบทำให้อนุมานได้ว่าปรางค์สองพี่น้องนี้คงสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยเนื่องในศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ลัทธิไศวนิกายในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ แล้วต่อมาจึงได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๗๖๐)
"ปรางค์ศรีเทพ" เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมรมีลักษณะเป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางด้านตะวันตกในแนวแกนเดียวกับปรางค์สองพี่น้อง จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบโดย เฉพาะทับหลังทำให้อนุมานได้ว่าคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยเนื่องในศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ต่อมาคงมีการพยายามซ่อมแซมดัดแปลง แต่ยังไม่แล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๗๖๐) เช่นเดียวกันกับปรางค์สองพี่น้อง เนื่องจากมีการพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่เป็นเพียงโกลนอยู่เป็นจำนวนมาก
"เขาคลังนอก" เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งอยู่นอกเมือง ไม่สุภาพงออกไปราว ๒ กิโลเมตร สันนิษฐานว่ามีลักษณะเป็นมหาสถูป มีฐานขนาดใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประดับตกแต่งฐานด้วยอาคารจำลองขนาดต่างๆอยู่โดยรอบ ภายในทึบตัน มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ถือได้ว่าเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์มากที่สุดในบรรดาศาสนสถานที่ร่วมสมัยเดียวกัน
จากนั้นเราได้ขับรถออกไป ชม วัดธรรมยาน เป็นวัดแห่งใหม่ที่ตั้งขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2545 จุดประสงค์ของการจัดตั้งวัดคือ ให้เป็นวัดที่ฝึกฝนพระธรรม และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสาธุชน จุดเด่นของวัดนี้สำหรับมุมมองของคนเดินทางท่องเที่ยว คือการได้มาไหว้พระสมเด็จองค์ปฐม หลวงพ่อยิ้ม และถ่ายรูปพญานาคที่สง่างาม 1 คู่อยู่ตรงหน้าโบสถ์
"พญานาคพ่นน้ำวัดธรรมยาน" พญานาคกับพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกมาช้านานมากแล้ว แต่ในยุคหลังหลังนี้ คนที่นับถือศาสนาพุทธ มักจะชอบวัดที่มีพญานาคสวย มากขึ้นมากขึ้น
หลังจากนั้น รับประทานอาหารค่ำ และพักที่ โรงแรมโฆษิตฮิลล์
การเดินทางวันที่สอง เราจะเพชรบูรณ์ – หล่มสัก พาเยี่ยมชม หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556 เดิมเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์หลังเก่า เมื่อมีการย้ายศาลากลางจังหวัดไปอยู่ศูนย์ราชการ ทางเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์จึงขอใช้สถานที่นี้เพื่อทำเป็นหอโบราณคดีโดยมีดำริมาจากบุคคลที่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภูมิปัญญาต่าง ๆ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดเพชรบูรณ์ การจัดแสดงเรื่องราวของเพชรบูรณ์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคศรีเทพ และจัดแสดงในช่วงต่อมาคือ สมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ จนถึงยุคร่วมสมัย
หลังจากนั้นนำท่านสักการะ “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” เสาหลักเมืองเพชรบูรณ์ เป็นแท่งเสาหินทรายสีเทา มีลักษณะปลายป้านโค้งมน
ปัจจุบันนี้ กรมศิลปากรได้ทำการอ่านและแปลศิลาจารึกเสาหลักเมืองเพชรบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสรุปได้ความว่า เป็นการจารึกลงในเสาหินทรายสีเทาใน 2 ยุคด้วยกันคือ ครั้งแรกเป็นการจารึกในด้านที่ 1 เป็นอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต เป็นข้อความการสรรเสริญพระศิวะในศาสนาพราหมณ์ ส่วนการจารึกครั้งที่ 2 เป็นอักษรขอม ภาษาไทย บาลีและเขมร เป็นข้อความเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีข้อความที่ให้ช่วยกันสืบสานพระพุทธศาสนาให้ได้ 5,000 ปี
นำท่านสักการะ “พระพุทธมหาธรรมราชา” พระประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นองค์ประธาน ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยานเพชบุระ ถนนสายสระบุรี-หล่มสัก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ยอดพระเกตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
จากนั้นพาไปอำเภอหล่มสัก นำท่านเยี่ยมชม “พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์” สถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว เหตุการณ์ ความเป็นมาและวิถีชีวิต ของ “เมืองหล่มสัก” ชุมชนที่มีประวัติมาช้านานและมีความสำคัญอย่างมากของจังหวัดเพชรบูรณ์ มาจัดแสดงไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา
รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคารเมืองหล่ม และนำท่านเที่ยวชมถนนคนเดินไทหล่ม สัมผัสกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นผ่านถนนคนเดิน
คืนนี้เราพักกันที่ โรงแรม หล่มสักณัฐติรัตน์แกรนโฮเต็ล
วันที่สามแล้ว เราออกจากหล่มสัก ไปด่านซ้าย – เขาค้อ เมื่อผ่าน “อำเภอด่านซ้าย” ต้องแว่ะ สักการะพระธาตุศรีสองรัก ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2103 สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือกันระหว่างพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา(ไทย) และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง(ลาว) ได้กระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน พร้อมได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ขึ้นถวายมีพระนามว่า“พระธาตุศรีสองรัก” ริมลำน้ำหมัน เป็นดังสักขีพยานแห่งสัจจะไมตรี และจะมีการจัดงานสมโภชพระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
จากนั้นแว่ะรับประทานอาหาร ณ ร้านขนมจีนแม่บุญมี และนำท่านสู่อำเภอเขาค้อ ต่อเลยค่ะ
แว่ะชมความงามของวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
"วัดพระธาตุผาแก้ว" เดิมชื่อพุทธธรรมสถานพระธาตุผาซ่อนแก้ว เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามรอบด้านมองเห็นผาซ่อนแก้วและทิวเขาสลับซับซ้อน มีศาลาปฎิบัติธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปหยกงดงามภายในตกแต่งด้วยภาพวาดศิลปะสวยงามแปลกตา ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างในราวปลายปี 2547
คืนนี้เราพักกันที่ โรงแรมบรีซฮิลล์ เขาค้อ ตั้งอยู่บริเวณแยกแคมป์สน เส้นทางเพชรบูรณ์-เขาค้อ-พิษณุโลก ทางหลวงหมายเลข 12
วันที่ 4 แล้ว ตะลุยกันต่อที่ เขาค้อ – สุโขทัย รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊แฮ
จากนั้นเราไปต่อที่ อุทยานประวัติศาตร์สุโขทัย หรือ เมืองเก่าสุโขทัย ตั้งอยู่นอกตัวเมืองสุโขทัย ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยไป ตามทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย-ตาก ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่า จะแลเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่างๆ อันสง่างามและวิหารอันศักดิ์สิทธิ์
กำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ตำบลเมืองเก่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพงและพื้นดินที่ขุด ขึ้นยังเป็นคูขังน้ำไว้ ใช้สอยและเป็นกำแพงน้ำขึ้นอีก 2 ชั้น กำแพงด้านทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร มีประตูเมือง 4 ประตู ด้านเหนือเรียกว่า “ประตูศาลหลวง” ด้านใต้เรียกว่า “ประตูนะโม” ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า “ประตูกำแพงหัก” ด้านทิศ ตะวันตกเรียกว่า “ประตูอ้อ” ภายนอกกำแพงเมืองในรัศมี 5 กิโลเมตร มีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร และได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การ UNESCO ในปี 2537
แวะนมัสการพระอจนะ วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พระผู้มั่นคงไม่หวั่นไหว กราบ “พระอจนะ” วัดศรีชุม ขอพรให้มีิจิตใจที่แน่วแน่ มุ่งมั่นทำการใดๆ ก็สำเร็จ มีความเมตตา และความสุขพระอจนะ พระผู้มั่นคงไม่หวั่นไหว พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ พุทธลักษณะงดงามมากพระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์แฝงด้วยรอยยิ้ม และความเมตตาเป็นพระพุทธรูปที่ควรบูชาอย่างยิ่งเพราะะว่าอจนะ ภาษาบาลี แปลว่า การบูชา
และรับประทานอาหารค่ำ ณ ร้านครัวสุโขทัย ซึ่งอยุ่ตรงกันข้ามกับ โรงแรมที่พักเลยค่ะ คืนนี้เราพักกันที่ โรงแรม เลอ ชาร์ม สุโขทัย
วันสุดท้ายแล้วนะค่ะ ช่วงเช้าทีมงานแวะซื้ออาหารใส่บาตรที่ ตลาดวัดตระพังทองซึ่งอยู่ใกล้ๆวัด เพื่อตักบาตรรับอรุณ บริเวณวัดตระพังทอง ก่อนจะไป พระนครศรีอยุธยา – กรุงเทพฯ
ระหว่างทางแว่ะ รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านเรือนไทยสยาม
ที่สุดท้ายของทริปนี้คือ “พระนครศรีอยุธยา” นั้นเองค่ะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยคือ 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองจำนวนทั้งหมด 33 พระองค์ ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานนี้ บรรพชนของไทยได้สร้างสรรค์ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ไว้เป็นอนุสรณ์มากมาย ปรากฏเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า มีพื้นที่โบราณสถานทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ไร่ โดยกรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองพระนครศรีอยุธยาภายใต้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2525 และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
จบทริปแล้ว ในฐานะที่เราเป็นคนไทย ดีใจมากที่ได้มาเรียนรู้ประวัติศาตร์ชาติไทยเพิ่มเติม ขอสนับสนุน และเป็นกำลังใจให้ อุทยานประวัติศาตร์ศรีเทพ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เป็นอีกหนึ่งให้ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ขอบคุณสำนักงานท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ และผู้จัดทุกท่าน ที่จัดกิจกรรม Familiarization trip ในครั้งนี้
การเดินทางวันที่สอง เราจะเพชรบูรณ์ – หล่มสัก พาเยี่ยมชม หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556 เดิมเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์หลังเก่า เมื่อมีการย้ายศาลากลางจังหวัดไปอยู่ศูนย์ราชการ ทางเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์จึงขอใช้สถานที่นี้เพื่อทำเป็นหอโบราณคดีโดยมีดำริมาจากบุคคลที่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภูมิปัญญาต่าง ๆ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดเพชรบูรณ์ การจัดแสดงเรื่องราวของเพชรบูรณ์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคศรีเทพ และจัดแสดงในช่วงต่อมาคือ สมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ จนถึงยุคร่วมสมัย
หลังจากนั้นนำท่านสักการะ “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” เสาหลักเมืองเพชรบูรณ์ เป็นแท่งเสาหินทรายสีเทา มีลักษณะปลายป้านโค้งมน
ปัจจุบันนี้ กรมศิลปากรได้ทำการอ่านและแปลศิลาจารึกเสาหลักเมืองเพชรบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสรุปได้ความว่า เป็นการจารึกลงในเสาหินทรายสีเทาใน 2 ยุคด้วยกันคือ ครั้งแรกเป็นการจารึกในด้านที่ 1 เป็นอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต เป็นข้อความการสรรเสริญพระศิวะในศาสนาพราหมณ์ ส่วนการจารึกครั้งที่ 2 เป็นอักษรขอม ภาษาไทย บาลีและเขมร เป็นข้อความเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีข้อความที่ให้ช่วยกันสืบสานพระพุทธศาสนาให้ได้ 5,000 ปี
นำท่านสักการะ “พระพุทธมหาธรรมราชา” พระประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นองค์ประธาน ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยานเพชบุระ ถนนสายสระบุรี-หล่มสัก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ยอดพระเกตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
จากนั้นพาไปอำเภอหล่มสัก นำท่านเยี่ยมชม “พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์” สถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว เหตุการณ์ ความเป็นมาและวิถีชีวิต ของ “เมืองหล่มสัก” ชุมชนที่มีประวัติมาช้านานและมีความสำคัญอย่างมากของจังหวัดเพชรบูรณ์ มาจัดแสดงไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา
รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคารเมืองหล่ม และนำท่านเที่ยวชมถนนคนเดินไทหล่ม สัมผัสกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นผ่านถนนคนเดิน
คืนนี้เราพักกันที่ โรงแรม หล่มสักณัฐติรัตน์แกรนโฮเต็ล
วันที่สามแล้ว เราออกจากหล่มสัก ไปด่านซ้าย – เขาค้อ เมื่อผ่าน “อำเภอด่านซ้าย” ต้องแว่ะ สักการะพระธาตุศรีสองรัก ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2103 สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือกันระหว่างพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา(ไทย) และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง(ลาว) ได้กระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน พร้อมได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ขึ้นถวายมีพระนามว่า“พระธาตุศรีสองรัก” ริมลำน้ำหมัน เป็นดังสักขีพยานแห่งสัจจะไมตรี และจะมีการจัดงานสมโภชพระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
จากนั้นแว่ะรับประทานอาหาร ณ ร้านขนมจีนแม่บุญมี และนำท่านสู่อำเภอเขาค้อ ต่อเลยค่ะ
แว่ะชมความงามของวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
"วัดพระธาตุผาแก้ว" เดิมชื่อพุทธธรรมสถานพระธาตุผาซ่อนแก้ว เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามรอบด้านมองเห็นผาซ่อนแก้วและทิวเขาสลับซับซ้อน มีศาลาปฎิบัติธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปหยกงดงามภายในตกแต่งด้วยภาพวาดศิลปะสวยงามแปลกตา ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างในราวปลายปี 2547
คืนนี้เราพักกันที่ โรงแรมบรีซฮิลล์ เขาค้อ ตั้งอยู่บริเวณแยกแคมป์สน เส้นทางเพชรบูรณ์-เขาค้อ-พิษณุโลก ทางหลวงหมายเลข 12
วันที่ 4 แล้ว ตะลุยกันต่อที่ เขาค้อ – สุโขทัย รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊แฮ
จากนั้นเราไปต่อที่ อุทยานประวัติศาตร์สุโขทัย หรือ เมืองเก่าสุโขทัย ตั้งอยู่นอกตัวเมืองสุโขทัย ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยไป ตามทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย-ตาก ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่า จะแลเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่างๆ อันสง่างามและวิหารอันศักดิ์สิทธิ์
กำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ตำบลเมืองเก่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพงและพื้นดินที่ขุด ขึ้นยังเป็นคูขังน้ำไว้ ใช้สอยและเป็นกำแพงน้ำขึ้นอีก 2 ชั้น กำแพงด้านทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร มีประตูเมือง 4 ประตู ด้านเหนือเรียกว่า “ประตูศาลหลวง” ด้านใต้เรียกว่า “ประตูนะโม” ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า “ประตูกำแพงหัก” ด้านทิศ ตะวันตกเรียกว่า “ประตูอ้อ” ภายนอกกำแพงเมืองในรัศมี 5 กิโลเมตร มีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร และได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การ UNESCO ในปี 2537
แวะนมัสการพระอจนะ วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พระผู้มั่นคงไม่หวั่นไหว กราบ “พระอจนะ” วัดศรีชุม ขอพรให้มีิจิตใจที่แน่วแน่ มุ่งมั่นทำการใดๆ ก็สำเร็จ มีความเมตตา และความสุขพระอจนะ พระผู้มั่นคงไม่หวั่นไหว พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ พุทธลักษณะงดงามมากพระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์แฝงด้วยรอยยิ้ม และความเมตตาเป็นพระพุทธรูปที่ควรบูชาอย่างยิ่งเพราะะว่าอจนะ ภาษาบาลี แปลว่า การบูชา
และรับประทานอาหารค่ำ ณ ร้านครัวสุโขทัย ซึ่งอยุ่ตรงกันข้ามกับ โรงแรมที่พักเลยค่ะ คืนนี้เราพักกันที่ โรงแรม เลอ ชาร์ม สุโขทัย
วันสุดท้ายแล้วนะค่ะ ช่วงเช้าทีมงานแวะซื้ออาหารใส่บาตรที่ ตลาดวัดตระพังทองซึ่งอยู่ใกล้ๆวัด เพื่อตักบาตรรับอรุณ บริเวณวัดตระพังทอง ก่อนจะไป พระนครศรีอยุธยา – กรุงเทพฯ
ที่สุดท้ายของทริปนี้คือ “พระนครศรีอยุธยา” นั้นเองค่ะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยคือ 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองจำนวนทั้งหมด 33 พระองค์ ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานนี้ บรรพชนของไทยได้สร้างสรรค์ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ไว้เป็นอนุสรณ์มากมาย ปรากฏเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า มีพื้นที่โบราณสถานทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ไร่ โดยกรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองพระนครศรีอยุธยาภายใต้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2525 และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
จบทริปแล้ว ในฐานะที่เราเป็นคนไทย ดีใจมากที่ได้มาเรียนรู้ประวัติศาตร์ชาติไทยเพิ่มเติม ขอสนับสนุน และเป็นกำลังใจให้ อุทยานประวัติศาตร์ศรีเทพ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เป็นอีกหนึ่งให้ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ขอบคุณสำนักงานท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ และผู้จัดทุกท่าน ที่จัดกิจกรรม Familiarization trip ในครั้งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น