เทศกาลวาเลนไทน์ปีนี้ Insighout ชวนเพื่อนลุย สังขละกันค่ะ ทริปนี้ ทำบุญ ชมอารยะ เรามาชม 5 มนต์เสน่ห์แห่งสังขละบุรี รับรองว่าคุณต้องหลงรัก

สังขละบุรี มีแม่น้ำซองกาเรีย เป็นศูนย์รวมความมีชีวิตชีวา เพราะชีวิตต้องหล่อเลี้ยงด้วยสายน้ำ ชาวบ้านที่นี่มีความรักในถิ่นเกิดและธรรมชาติของพวกเขามาก เมื่อคุณไปคุณจะเห็นแววตาแห่งความสุขของพวกเขา เมื่อได้เล่าเรื่องราวถิ่นเกิดอันน่าประทับใจ …

1. สะพานมอญ
หรือ สะพานอุตตมานุสรณ์​ เป็นสะพานไม้ข้ามแม่น้ำซองกาเรียไปยังหมู่บ้านมอญ ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับสองของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า และเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี เป็นสะพานแห่งศรัทธา ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชุมชนที่อาศัยอยู่ในสังขละบุรี ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาสัมผัสธรรมชาติ พร้อม ๆ กับการได้เห็นวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญในแถบนี้ สิ่งที่ห้ามพลาดคือการได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับสะพานที่เสมือนเป็นสายใยวัฒนธรรมของชาวมอญและไทย ในดินแดนสุดขอบตะวันตกแห่งนี้

2. วัดจมน้ำ เมืองบาดาล และวัดวังก์วิเวการาม เก่า 
วัดใต้น้ำ หรือ วัดจมน้ำ คือวัดวังก์วิเวการามเดิม ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Unseen Thailand เพราะมีความแปลกที่มีซากโบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ เป็นสถานที่เล่าขานถึงตำนานความเป็นมาของวัดหลวงพ่ออุตตมะ จนหลายคนเรียกกันว่าเมืองบาดาล นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในช่วงฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝน ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม – มิถุนายน เป็นช่วงหน้าแล้ง น้ำจะลดลงมาก จะสามารถเดินเข้าไปเยี่ยมชมโบสถ์เก่าได้ ส่วนคนที่มาเที่ยวช่วงปลายฝนจนถึงฤดูหนาว ตั้งแต่ประมาณกันยายน – มกราคม อาจจะได้เห็นแค่บางส่วนของตัวโบสถ์ที่โผล่พ้นน้ำ หรือบางทีก็จมน้ำเป็นเมืองบาดาล จะมีให้เห็นก็เพียงแต่ยอดหอระฆังเดิมเท่านั้นที่สูงพ้นน้ำเท่านั้น

3.วัดสมเด็จ(เก่า) 
ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองบาดาล เป็นอุโบสถของวัดสมเด็จ (เก่า) ที่ถูกทิ้งร้าง  เมื่อคราวย้ายเมืองสังขละบุรี ตอนที่เริ่มมีการสร้างเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ ในปัจจุบัน) วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ ภายในอุโบสถมีพระประธานสภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์ รอบตัวโบสถ์มีต้นไทรใหญ่ ปกคลุมดูเก่าแก่ งดงามยิ่งนัก 

4.พิธีตักบาตรมอญ
เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวบ้านที่นี่ ทุกเช้าตรู่เวลาประมาณ 6.30 น. ชาวบ้าน นักท่องเที่ยว ต่างต่อแถวเนื่องแน่น เพื่อรอใส่บาตรพระสงฆ์ คุณจะพบรอยยิ้มของคนในชุมชน เด็กน้อยผู้นำโถข้าวมาซ้อนไว้บนศีรษะ หรือนักท่องเที่ยวที่สวมชุดมอญเดินถ่ายรูป เป็นภาพที่คุณไม่อาจเห็นที่ไหนในประเทศนี้


5.วัดวังก์วิเวการาม 
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "วัดหลวงพ่ออุตตมะ" นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คัญของอำเภอสังขละบุรีแล้ว ยังเป็นวัดที่ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับคนพื้นถิ่น และเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนหลายเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในอำเภอสังขละบุรี ทั้งชาวไทย และกะเหรี่ยง โดยเฉพาะสำหรับชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่เปรียบหลวงพ่ออุตตมะเป็น "เทพเจ้าแห่งชาวมอญ" วัดวังก์วิเวการาม จึงเกิดจากพลังศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อ และเป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาของ "หลวงพ่ออุตตมะ" วัดจึงเป็นเสมือนตัวแทนหลวงพ่อ และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวมอญ ในการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของมอญ และจัดงานอื่นๆ เช่นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีการจัดงานคล้ายวันเกิดของหลวงพ่ออุตตมะ มีงานกิจกรรมต่างๆ พิธีกรรมทางศาสนา งานแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่นการรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และมีการแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมชาวไทยรามัญ
     
6. เจดีย์พุทธคยา
พระเจดีย์พุทธคยา เป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่กับวัดวังก์วิเวการาม เป็นเจดีย์องค์ใหญ่นี้ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ มีสีเหลืองทอง สามารถมองเห็นได้จากแม่น้ำซองกาเรีย ภายในองค์เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงเป็นเจดีย์ที่มีผู้คนมาสักการะ บูชาองค์เจดีย์ที่เสมือนเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เจดีย์พุทธคยายังเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนาและงานเทศกาลเช่น วันสงกรานต์




Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก