จัดเต็ม 70 ชุดสุดปังบนเวทีสหกรุ๊ป
แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2018
ในธีมแคชชวล โซไซตี้ 4.0
8 ทีมสุดท้าย เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
ทีม 1. YOU AND I น.ส. สลิลดา ศรีถาการ ม.เชียงใหม่–น.ส. เพชรรัตน์ ป่วนครบุรี ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
ได้แนวคิดมาจากความอิสระของจิตรกรที่ความคิดสร้างสรรค์และมีอิสระในการทำงาน สอดคล้องกับยุค 4.0 เป็นยุคแห่งโลกที่เปิดกว้างทางด้านมุมมองและความคิด เนื้อผ้าส่วนใหญ่จะเป็น cotton 100% เพื่อสื่อถึงความสบายในการสวมใส่ ส่วนเทคนิคพิเศษเป็นการทำลายนูน ปั๊มลายนูนเรืองแสงเพื่อเล่นกับไฟให้ดูมีมิติมากขึ้น
ทีม 2. Alienend น.ส. อนัญญา นิวัฒน์ฐิติกุล-น.ส. ญาณิศา แผนสนิท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้แรงบันดาลใจมาจากโรบอทและนวัตกรรมการใส่ฟังก์ชั่นที่ปรับเปลี่ยนได้หลายๆ แบบ มีทั้งฟังก์ชั่นจากเสื้อโค้ทมาเป็นกระเป๋า จากกระเป๋าไปเป็นหมวก หรือกระเป๋าถือเป็นโคเซ็ท เพราะว่าการใส่ฟังก์ชั่นที่เปลี่ยนได้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกว่าแฟชั่นก็ตามทันโลก เทคนิคพิเศษจะนำผ้าเวสปอยท์มาทำเป็นราฟเฟิล นำผ้าเมทาลิคยัดใยสังเคราะห์เพื่อให้รูปทรงเหมือนบุนวมข้างในและเสื้อของผู้ชายจะมีแผงไฟฟ้าเมทาลิคที่สื่อถึงโรบอท
ทีม 3. D.Z (ดีซี) นายสิทธิพงษ์ จรัสแสง-นายปฤษฎี สัตยรังษี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แนวคิดนี้เป็นการออกแบบที่สื่อถึงปัญหาสังคมและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องขยะพลาสติก ได้ดึงเทรนด์ ปี 2018-2019 มาเป็นไกด์ในการออกแบบ โดยจะเน้นสีแดงและสีเทาเป็นหลัก เป็นการเล่าเรื่องผ่านสัญลักษณ์ นำความเป็นสตรีท ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ มาใช้ และนำ QR Code มาสกรีนลงบนชุด เนื้อผ้าที่ใช้จะเป็น คอตตอนสแปนเด็กซ์ ที่มีความยืดหยุ่น ใช้เทคนิคสีที่สกรีนเป็นสีเรืองแสง และบางชุดสามารถใส่ร่วมกันได้ทั้งหญิงและชาย
ทีม 4 YO-DO น.ส. วิริญ ธรรมดี-น.ส. ธัญวลัย โภคินเมธาสิทธิ์ ม.เกษมบัณฑิต
เทรนด์เสื้อผ้าที่ใช้เป็นแบบสปอร์ทผสมกับแม่น้ำคาโนคริสเทลส์หรือแม่น้ำห้าสีที่มีความเป็นธรรมชาติ ผสมผสานความเป็นดิจิตอลและเทคโนโลยียุคปัจจุบันที่มีความล้ำสมัย เพราะคนส่วนใหญ่จะสนใจแต่เทคโนโลยีโดยจนอาจลืมความเป็นธรรมชาติ เลยนำสองสิ่งนี้มารวมกัน ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้ายืด ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมสี คือการเอาสีต่างๆ มาหยดลงในน้ำ ทำให้เกิดลายบนผืนน้ำและใช้ผ้าจุ่มลงไปให้สีติดบนเนื้อผ้า รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่คนมองข้ามกัน อย่างเช่น นำพรมมาทำเป็นดีเทลเสื้อผ้า
ทีม 5 LIMITLESS นายธนู อุ่นศิริ–น.ส. ณัฐสุดา ศรีแย้ม ม.ขอนแก่น
แนวคิดมาจากวัฒธรรมพื้นถิ่น โดยต้องการให้สิ่งที่คนมองว่าเก่าโบราณ กลับมาใช้ได้ใหม่และยังมีคุณค่าในตัวเอง ซึ่งเป็นการนำเอาลวดลายศิลปะโบราณของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมาทำให้มีความทันสมัย นำมาประยุกต์ตกแต่งเพิ่มให้มีความแปลกใหม่ แต่ยังมีพื้นฐานของเรื่องราวเดิมๆ เทคนิคพิเศษ คือเพิ่มลวดลายให้มีความเป็นสามมิติ โดยวัสดุที่ใช้นั้นจะเป็นแผ่นยางที่มีความนุ่ม ใช้สีเมทาลิคมาผสมกับผ้าลินินและผ้าออคินดี้ ที่เป็นเนื้อผ้าเบา สบาย สวมใส่ง่ายเหมะกับสภาพอากาศของไทย
ทีม 6 Back to the Future น.ส. ณัฐธิดา ปรีชาไว–น.ส. ชญาภรณ์ จันทร์ฉาย ม.ธรรมศาสตร์
แนวคิดมาจากการเปลี่ยนระบบของกล้องถ่ายภาพจากอนาล็อกไปสู่ดิจิทัล ซึ่งมีการเปลี่ยนผ่านค่อนข้างรวดเร็ว แต่ในความรวดเร็วนั้นก็ยังคงมีรูปแบบเดิมอยู่ เหมือนทรานฟอร์มจากแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง ผ้าที่ใช้มีผ้าซิลค์ ออแกนดี้ซิลค์ ผ้าเมทาลิค ผ้าแจ็คการ์ด ส่วนเทคนิคพิเศษนั้นมีการปริ้นท์ดิจิทัลลงพลาสติก และลงซิลค์ ออแกนดี้ เพิ่มเติมด้วยการอัดพลีท
ทีม 7 Paradox นายเฌอพัชญ์ เศวตภาคิน-นายณัฐรัสน์ วีระชนานันท์ โรงเรียนบุนกะแฟชั่น
คอนเซ็ปมาจากความย้อนแย้ง ความสับสนของความคิดคนเรา เช่น เราคิดอะไรได้สักอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่กล้าที่จะทำ เพราะคิดว่าเราแค่คนส่วนน้อยจะทำหรือไม่คงไม่ส่งผลต่อสังคม เนื้อผ้าที่เราใช้นั้นจะเป็น PVC ออกแบบเป็นกึ่งทางการ กึ่งแคชชวล เพราะอยากได้เสื้อผ้าที่เป็นทางการและดูลำลองในชุดเดียวกัน เทคนิคพิเศษใช้การปักและใช้สียางวาดลงบนผ้ารวมถึงการปริ้นท์ดิจิทัล
ทีม 8 617 น.ส. อภิญญา ทรงพลยศ-น.ส. มณีรัตน์ ฉัตรชูไชยกุล ม.ธรรมศาสตร์
ผลงานนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของชนชั้นและด้วยที่บ้านทำธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือด้านวิศวกร จึงหยิบยกรูปแบบของวิศวกรมาทำให้ดูคลีน ออกแบบให้เป็นสไตล์สปอร์ท มีความทะมัดทะแมงและ เนื้อผ้าในส่วนของโค้ทเป็นผ้าชาแนล ทำให้ดูไม่เรียบเกินไป และส่วนของชุดหมี ชุดเอี๊ยมจะใช้ผ้าดัชเชส ซาติน ให้ดูมีความเงา เรียบหรู เทคนิคพิเศษจะมีชุดครีเอทีฟที่ไม่เหมือนตัวอื่น คือทำดีฟังก์ชั่นกระเป๋า มีลายปริ้นท์ที่ออกแบบเอง เป็นลายฟันเฟืองสื่อถึงวิศวกร เครื่องจักร ใช้การสกรีนลงบนผ้าและมีเย็บตามรอบขอบปริ้นท์ให้เกิดความนูน
แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2018
ในธีมแคชชวล โซไซตี้ 4.0
ดร. ศิรินา โชควัฒนา ปวโรฬารวิทยา พร้อมผู้บริหารเครือสหพัฒน์ ให้เกียรติมอบรางวัลในโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกาย “SAHA GROUP BANGKOK YOUNG DESIGNER AWARDS 2018” (สหกรุ๊ป แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2018)
ณ ไบเทคบางนา จัดโดยเครือสหพัฒน์ เปิดบันไดก้าวแรกในเส้นทางดีไซเนอร์มืออาชีพมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 โดยปีนี้ได้กำหนดคอนเซ็ปต์ “CASUAL SOCIETY 4.0 (แคชชวล โซไซตี้ 4.0) เมื่อสังคมขยับ ดีไซน์ต้องปรับให้ทัน” เป็นการออกแบบสร้างสรรค์ชุด
ในสไตล์ที่ดูล้ำสมัยเหมาะกับสังคมยุคดิจิทัลแต่ใส่ได้จริงให้กลายเป็นเทรนด์อนาคตและจัดแสดงแฟชั่นโชว์แบบเต็มคอลเลกชั่น ซึ่งได้มีการเปิดรับสมัครนักศึกษาอายุ 18 – 25 ปี จับคู่ทีมละ 2 คน เข้ามาประกวดแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลและบินลัดฟ้าสู่กรุงโตเกียวชมแฟชั่นโชว์สุดตระการตาของ Bunka Fashion Collage ที่ญี่ปุ่น และรับคอร์สเรียนจาก Bunka Fashion School ในไทย พร้อมรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 550,000 บาท ที่สำคัญยังดีไซเนอร์ที่ผ่านโครงการฯ นี้ มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทในเครือสหพัฒน์อีกด้วย
ณ ไบเทคบางนา จัดโดยเครือสหพัฒน์ เปิดบันไดก้าวแรกในเส้นทางดีไซเนอร์มืออาชีพมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 โดยปีนี้ได้กำหนดคอนเซ็ปต์ “CASUAL SOCIETY 4.0 (แคชชวล โซไซตี้ 4.0) เมื่อสังคมขยับ ดีไซน์ต้องปรับให้ทัน” เป็นการออกแบบสร้างสรรค์ชุด
ในสไตล์ที่ดูล้ำสมัยเหมาะกับสังคมยุคดิจิทัลแต่ใส่ได้จริงให้กลายเป็นเทรนด์อนาคตและจัดแสดงแฟชั่นโชว์แบบเต็มคอลเลกชั่น ซึ่งได้มีการเปิดรับสมัครนักศึกษาอายุ 18 – 25 ปี จับคู่ทีมละ 2 คน เข้ามาประกวดแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลและบินลัดฟ้าสู่กรุงโตเกียวชมแฟชั่นโชว์สุดตระการตาของ Bunka Fashion Collage ที่ญี่ปุ่น และรับคอร์สเรียนจาก Bunka Fashion School ในไทย พร้อมรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 550,000 บาท ที่สำคัญยังดีไซเนอร์ที่ผ่านโครงการฯ นี้ มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทในเครือสหพัฒน์อีกด้วย
• รางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม รับเงินสด 100,000 บาท รวมถึงแพ็กเก็จท่องแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ
• รางวัลดีเด่นประเภทเสื้อผ้าผู้ชาย เสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าเด็ก ได้รับเงินสดรางวัลละ 30,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ
• รางวัล The Best Make Up Award ได้รับเงินสด 15,000 บาท โล่พร้อมใบประกาศ
• รางวัลชมเชย ได้รับเงินสด รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมใบประกาศ
• ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 8 ทีม ได้รับคอร์สดีไซน์จากโรงเรียนบุนกะแฟชั่น มูลค่า 8,000 บาท และประกาศนียบัตรรับรองความสามารถจากโครงการฯ
สำหรับการแข่งขันได้ปีนี้ได้เดินทางมาถึง “รอบชิงชนะเลิศ” มีผู้เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย เป็น นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดโดยสามารถตอบโจทย์แนวคิดในปีนี้ และมีฝีมือเข้าตากรรมการมากที่สุด ซึ่งน้องๆ ทุกทีมได้จัดเตรียมผลงานกว่า 70 ชุดที่ได้รับทุนตัดเย็บชุดจริงในสไตล์ครีเอทีฟแวร์และเรดดี้ทูแวร์ ที่ทันสมัยแต่ใส่ได้จริง เพื่อจัดแสดงแฟชั่นโชว์ต่อหน้าบุคลากรระดับแนวหน้าที่ให้เกียรติมาเป็นคณะกรรมการตัดสิน ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการออกแบบและผู้บริหารด้านธุรกิจสิ่งทอ อาทิ สุวิทย์ วงศ์เจริญวุฒภร กัลยา ไวยานนท์ ตวงทิพย์ ณ นคร ธนฤทธิ์ แสงสิน ผ่านการแสดงแบบของเหล่าโมเดลทั้งชาย หญิง และเด็กเลือดใหม่ไฟแรง จีน่า-วิรายา ภัทรโชคชัย หลิน-มชณต สุวรรณมาศ มะปราง-จุติพร อรุณโชติ แนท-อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ ฯลฯ
ทีม 1. YOU AND I น.ส. สลิลดา ศรีถาการ ม.เชียงใหม่–น.ส. เพชรรัตน์ ป่วนครบุรี ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
ได้แนวคิดมาจากความอิสระของจิตรกรที่ความคิดสร้างสรรค์และมีอิสระในการทำงาน สอดคล้องกับยุค 4.0 เป็นยุคแห่งโลกที่เปิดกว้างทางด้านมุมมองและความคิด เนื้อผ้าส่วนใหญ่จะเป็น cotton 100% เพื่อสื่อถึงความสบายในการสวมใส่ ส่วนเทคนิคพิเศษเป็นการทำลายนูน ปั๊มลายนูนเรืองแสงเพื่อเล่นกับไฟให้ดูมีมิติมากขึ้น
ทีม 2. Alienend น.ส. อนัญญา นิวัฒน์ฐิติกุล-น.ส. ญาณิศา แผนสนิท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้แรงบันดาลใจมาจากโรบอทและนวัตกรรมการใส่ฟังก์ชั่นที่ปรับเปลี่ยนได้หลายๆ แบบ มีทั้งฟังก์ชั่นจากเสื้อโค้ทมาเป็นกระเป๋า จากกระเป๋าไปเป็นหมวก หรือกระเป๋าถือเป็นโคเซ็ท เพราะว่าการใส่ฟังก์ชั่นที่เปลี่ยนได้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกว่าแฟชั่นก็ตามทันโลก เทคนิคพิเศษจะนำผ้าเวสปอยท์มาทำเป็นราฟเฟิล นำผ้าเมทาลิคยัดใยสังเคราะห์เพื่อให้รูปทรงเหมือนบุนวมข้างในและเสื้อของผู้ชายจะมีแผงไฟฟ้าเมทาลิคที่สื่อถึงโรบอท
ทีม 3. D.Z (ดีซี) นายสิทธิพงษ์ จรัสแสง-นายปฤษฎี สัตยรังษี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แนวคิดนี้เป็นการออกแบบที่สื่อถึงปัญหาสังคมและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องขยะพลาสติก ได้ดึงเทรนด์ ปี 2018-2019 มาเป็นไกด์ในการออกแบบ โดยจะเน้นสีแดงและสีเทาเป็นหลัก เป็นการเล่าเรื่องผ่านสัญลักษณ์ นำความเป็นสตรีท ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ มาใช้ และนำ QR Code มาสกรีนลงบนชุด เนื้อผ้าที่ใช้จะเป็น คอตตอนสแปนเด็กซ์ ที่มีความยืดหยุ่น ใช้เทคนิคสีที่สกรีนเป็นสีเรืองแสง และบางชุดสามารถใส่ร่วมกันได้ทั้งหญิงและชาย
ทีม 4 YO-DO น.ส. วิริญ ธรรมดี-น.ส. ธัญวลัย โภคินเมธาสิทธิ์ ม.เกษมบัณฑิต
เทรนด์เสื้อผ้าที่ใช้เป็นแบบสปอร์ทผสมกับแม่น้ำคาโนคริสเทลส์หรือแม่น้ำห้าสีที่มีความเป็นธรรมชาติ ผสมผสานความเป็นดิจิตอลและเทคโนโลยียุคปัจจุบันที่มีความล้ำสมัย เพราะคนส่วนใหญ่จะสนใจแต่เทคโนโลยีโดยจนอาจลืมความเป็นธรรมชาติ เลยนำสองสิ่งนี้มารวมกัน ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้ายืด ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมสี คือการเอาสีต่างๆ มาหยดลงในน้ำ ทำให้เกิดลายบนผืนน้ำและใช้ผ้าจุ่มลงไปให้สีติดบนเนื้อผ้า รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่คนมองข้ามกัน อย่างเช่น นำพรมมาทำเป็นดีเทลเสื้อผ้า
ทีม 5 LIMITLESS นายธนู อุ่นศิริ–น.ส. ณัฐสุดา ศรีแย้ม ม.ขอนแก่น
แนวคิดมาจากวัฒธรรมพื้นถิ่น โดยต้องการให้สิ่งที่คนมองว่าเก่าโบราณ กลับมาใช้ได้ใหม่และยังมีคุณค่าในตัวเอง ซึ่งเป็นการนำเอาลวดลายศิลปะโบราณของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมาทำให้มีความทันสมัย นำมาประยุกต์ตกแต่งเพิ่มให้มีความแปลกใหม่ แต่ยังมีพื้นฐานของเรื่องราวเดิมๆ เทคนิคพิเศษ คือเพิ่มลวดลายให้มีความเป็นสามมิติ โดยวัสดุที่ใช้นั้นจะเป็นแผ่นยางที่มีความนุ่ม ใช้สีเมทาลิคมาผสมกับผ้าลินินและผ้าออคินดี้ ที่เป็นเนื้อผ้าเบา สบาย สวมใส่ง่ายเหมะกับสภาพอากาศของไทย
ทีม 6 Back to the Future น.ส. ณัฐธิดา ปรีชาไว–น.ส. ชญาภรณ์ จันทร์ฉาย ม.ธรรมศาสตร์
แนวคิดมาจากการเปลี่ยนระบบของกล้องถ่ายภาพจากอนาล็อกไปสู่ดิจิทัล ซึ่งมีการเปลี่ยนผ่านค่อนข้างรวดเร็ว แต่ในความรวดเร็วนั้นก็ยังคงมีรูปแบบเดิมอยู่ เหมือนทรานฟอร์มจากแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง ผ้าที่ใช้มีผ้าซิลค์ ออแกนดี้ซิลค์ ผ้าเมทาลิค ผ้าแจ็คการ์ด ส่วนเทคนิคพิเศษนั้นมีการปริ้นท์ดิจิทัลลงพลาสติก และลงซิลค์ ออแกนดี้ เพิ่มเติมด้วยการอัดพลีท
ทีม 7 Paradox นายเฌอพัชญ์ เศวตภาคิน-นายณัฐรัสน์ วีระชนานันท์ โรงเรียนบุนกะแฟชั่น
คอนเซ็ปมาจากความย้อนแย้ง ความสับสนของความคิดคนเรา เช่น เราคิดอะไรได้สักอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่กล้าที่จะทำ เพราะคิดว่าเราแค่คนส่วนน้อยจะทำหรือไม่คงไม่ส่งผลต่อสังคม เนื้อผ้าที่เราใช้นั้นจะเป็น PVC ออกแบบเป็นกึ่งทางการ กึ่งแคชชวล เพราะอยากได้เสื้อผ้าที่เป็นทางการและดูลำลองในชุดเดียวกัน เทคนิคพิเศษใช้การปักและใช้สียางวาดลงบนผ้ารวมถึงการปริ้นท์ดิจิทัล
ทีม 8 617 น.ส. อภิญญา ทรงพลยศ-น.ส. มณีรัตน์ ฉัตรชูไชยกุล ม.ธรรมศาสตร์
ผลงานนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของชนชั้นและด้วยที่บ้านทำธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือด้านวิศวกร จึงหยิบยกรูปแบบของวิศวกรมาทำให้ดูคลีน ออกแบบให้เป็นสไตล์สปอร์ท มีความทะมัดทะแมงและ เนื้อผ้าในส่วนของโค้ทเป็นผ้าชาแนล ทำให้ดูไม่เรียบเกินไป และส่วนของชุดหมี ชุดเอี๊ยมจะใช้ผ้าดัชเชส ซาติน ให้ดูมีความเงา เรียบหรู เทคนิคพิเศษจะมีชุดครีเอทีฟที่ไม่เหมือนตัวอื่น คือทำดีฟังก์ชั่นกระเป๋า มีลายปริ้นท์ที่ออกแบบเอง เป็นลายฟันเฟืองสื่อถึงวิศวกร เครื่องจักร ใช้การสกรีนลงบนผ้าและมีเย็บตามรอบขอบปริ้นท์ให้เกิดความนูน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น