กำแพงเพชร-ตาก/สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม
กรมการพัฒนาชุมชนโดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้น การ สร้าง โอกาส อาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการ พัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้ สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้อง การของประชาชนนั้นวันแรก เริ่มต้นการเดินทางที่ ตำบลไตรตรึงษ์ อ. เมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีประชาชน บ้านวังพระธาตุ หมู่ 4 ตำบลไตรตรึงษ์ อ.เมือง และบ้านชุมชน ไทร หมู่ 8 ตำบล โป่งน้ำร้อน บ้านเพชรนิยม หมู่ 2 ตำบลสักงาม อ.คลองลาน โดยมีผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับพร้อม รับชมการแสดงต้อนรับ สักการะวัดวังพระธาตุ,หลวงพ่อโต,หลวงพ่อเพชร,ท้าวแสนปม , เวียนเทียนรอบพระธาตุ ,ลอดใต้โบสถ์ ,นั่งรถอีต๊อกชมเจดีย์ 7 ยอด ตามรอยเสด็จ ร.5 ,สักการะวัดท้ายเกาะ ,ชมต้นหว้า 400 ปี
กำแพงเพชร
เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ทางทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ ทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นน้ำของลำธารต่าง ๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด มีชื่อเรียกว่าเมืองไตรตรึงษ์ เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่ และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมือง ไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมือง ของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดง ถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ ว่า "เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์"วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)
ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเห็นรูปทรงของเจดีย์ได้ อย่างครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวที่นับว่าใหญ่ที่สุดในเมืองกำแพงเพชร ด้านหน้าพระเจดีย์มีพระวิหารฐานก่อด้วย อิฐ มีพระประธานประดิษฐานบนฐานชุกชี ด้านข้างอุโบสถมีศาลท้าวแสนปมรูปปั้นท้าวแสนปมหน้าเจดีย์วังพระธาตุ เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตาทรงพระนามว่า นางอุษา ที่ใกล้เมือง ไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไป ด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวนครัวขาย เลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่ง เทวดาดลใจให้พระธิดานีกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจนมาพบมะเขือในสวนของนายแสนปม ลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อไปถวาย หลังจากพระราชธิดาเสวยมะเขือของนายแสนปมได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายหน้า พยายามสอบถามอย่างไรพระธิดาก็ไม่ยอมบอกว่าใครคือพ่อของเด็กในท้อง ครั้นเมื่อพระกุมารได้ เติบโตพอรู้ความ ท้าวไตรตรึงษ์จึงประกาศให้บรรดาขุนนางและเหล่าราษฎร์ทั้งหลายให้นำของกินเข้ามาในวัง หากพระกุมารยอมกิน ของผู้ใดผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวง บรรดาชายหนุ่มในเมืองต่างก็รีบเดินทางเข้าวังพร้อมของกินดีๆนายแสน ปมทราบข่าวก็เข้าวังมาด้วยเช่นกัน โดยถือเพียงข้าวสุกติดมือมาก้อนเดียว แต่พระกุมารรับไปเสวย ท้าวไตรตรึงษ์ทรงกริ้ว ที่พระธิดาไปได้กับคนชั้นไพร่ มิหนำซ้ำยังอัปลักษณ์จึงขับไล่ออกจากวัง นายแสนปมพาพระธิดากับพระกุมารเดินทางเข้าไปหาที่อยู่ใหม่ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษมามอบให้ กลองนี้อยากได้อะไรก็ตีเอาตามได้ดังสารพัดนึก
นายแสนปมอธิษฐานให้ปุ่มปมตามตัวหายไปแล้วตีกลองวิเศษ ร่างก็กลับเป็นชายรูปงาม จึงตีกลองขอบ้านเมืองขึ้นมาเมืองหนึ่ง ให้ชื่อ ว่า เมืองเทพนคร และสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ท้าวแสนปม ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความสงบสุข และเชื่อกันว่าราชโอรสของท้าวแสนปมคือพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า นำไปพระราชนิพนธ์ เรื่อง ท้าวแสนปม ทำให้คนทั้งประเทศรู้จักท้าวแสนปมมากขึ้น
เจดีย์เจ็ดยอดงามสม หมายถึง ภายในกำแพงเมืองโบราณของนครไตรตรึงษ์ มีวัดประจำเมืองคือวัดเจดีย์ เจ็ดยอด ซึ่งเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) เสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2449 เมื่อ ถึงนครไตรตรึงษ์ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า...วิหารเจดีย์พังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยหนึ่ง เรียกว่าเจดีย์เจ็ด ยอด จะเป็นด้วยผู้มาตรวจตราค้นพบ สามารถจะถางเข้าไปได้แค่เจ็ดยอดแต่ที่จริงคราวนี้ เขาถางได้ดีกว่า จึงได้พบ มากกว่า 7 คือ พระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์สามด้าน... เจดีย์เจ็ดยอด มีเจดีย์รายล้อม พระมหาเจดีย์ อยู่ 3 ด้าน รวม 14 องค์
ยังมีเศียรหลวงพ่อโต เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนวิหาร เป็นพระที่สร้างขึ้นมาใหม่ จากคำบอกเล่าของนางเสนอ สิทธิ ปราชญ์ชาวบ้านเมืองไตรตรึงษ์ เล่าว่า เป็นพระที่สร้างขึ้นมาใหม่ ทางวัดได้จัดหา ลิเกมาเล่นและเล่นบนวิหารโบราณ ในคืนนั้นฝนตกหนัก ตอนเช้าได้พบว่าองค์พระได้โค่นลงมา พังเสียหายหมด เหลือแต่เศียรเท่านั้นทางวัดจึงยกเศียรขึ้นตั้งอย่างที่เห็นในปัจจุบัน บริเวณหน้าวัดมีศาลของท้าวแสนปมและใน บริเวณวัด ก็มีมีรูปปั้นท้าวแสนปม ที่คนทั่วไปให้ความเคารพนับถือในฐานะเป็นตำนานของท้าวแสนปม ผู้สร้างเมือง เทพนคร ฝั่งตรงกันข้ามกับนครไตรตรึงษ์ตามตำนาน
ภายในโบสถ์ ได้รับการต่อเติมจากใหม่จากชาวบ้าน มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านเรียกขานกันว่า "หลวงพ่อเพชร" ใต้ฐานพระอุโบสถ ขุดลงไปทะลุไปทั้งสองด้าน ทำให้งดงาม ลมพัดผ่านเย็น เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนิยมทีนักท่องเที่ยวนิยมมาลอดใต้โบสถ์ขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคล
รอบบ่าย ไปที่ หมู่บ้านเพชรนิยม อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
ผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับพร้อมชมการแสดงต้อนรับ ทำกิจกรรมร่วมกัน ชมการสาธิตการทำจักสาน สินค้าโอทอป นั่งรถอีต๊อกชมวิวิถีปกาเกอะญอ เที่ยวชมถ้ำแสงเพชรวิถีชาวปกาเกอะญอ หรือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไป ทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่ อ.คลองลาน มี2 หมู่บ้าน คือ บ้านคลองน้ำไหลใต้และบ้าน กะเหรี่ยงน้ำตก ต.คลองลานพัฒนา อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย ปัจจุบันพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ทั้งภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ ชาวปกาเกอะญอ ยังคงใส่ในงานประเพณีสำคัญ โดยวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ยังคงเรียบง่าย มีการปลูกผัก เลี้ยงหมู และไก่ไว้รับประทานในครอบครัว หมู่บ้านแห่งนี้ยังคงความเป็นธรรมชาติที่เงียบสงบ มีธารน้ำตกไหลผ่าน ให้นัก ท่องเที่ยวได้สัมผัสความเย็นของสายน้ำ บริเวณน้ำตกยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ใสสะอาดเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตคน ในหมู่บ้าน ที่นี่มีอาคารศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงน้ำตก เป็นหมู่บ้านอัตลักษณ์โอทอปเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้ มีสินค้าหลากหลายภายในชุมชนที่เกิดจากภูมิปัญญาชุมชน สามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่าง ชัดเจน โดยเฉพาะเครื่องจักสานและผลงานปักผ้าชมความสวยงามของถ้ำแสงเพชร
มีหินงอกหินย้อย ความงดงามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่ยามต้องแสง ส่องประกายดุจดั่งเพชร ส่องแสงเป็นประกายแวววาวระยิบระยับ หินงอก หินย้อย แต่ล่ะก้อนสะสมตัว ผ่านตามกาล เวลา เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆจบการเยี่ยมวันแรกจังหวัดกำแพงเพชร วันนี้ได้สักการะสิ่งศักดิ์ ในแบบของความเชื่อและความศรัทธาของชาวพุทธ และเยี่ยมชมเรียนรู้วิถีชาวบ้าน ทุกคนพร้อมที่จะพัฒนาเปิดบ้าน เพื่อการท่องเที่ยว จริง ๆ เรามาตามอ่าน การเยี่ยมชมวันที่ 2 ที่จังหวัดตาก คลิ๊กด้านล่างได้เลยค่ะ
Editter :: Insightoutstory.com
ขอบคุณ :: กรมการพัฒนาชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น