อาชีพอิสระได้เฮ! เมื่อประกันสังคมเพิ่มสิทธิ์ประโยชน์ให้อีกเพียบในมาตรา40


มาทำความรู้จัก ประกันสังคม มาตรา 40 ให้มากขึ้นแล้วคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าเดิม เสริมสร้างความมั่นคงให้ชีวิต กับอาชีพอิสระที่คุณเลือกได้ เอาใจคนทำงานอาชีพอิสระ ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อค้า แม่ขาย คนขับรถแท็กซี่ พี่วินมอเตอร์ไซต์ กรรมกร หรือกรรมการ แม่ค้าออนไลน์ ฟรีแลนซ์ทั่วราชอาณาจักร อาชีพที่คุณเป็นเจ้านายตัวเอง ไม่ได้ขึ้นกับหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทใดๆ คุณสามารถเป็นหนึ่งในผู้รับประโยชน์จากการทำประกันสังคมได้


รัฐบาลได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็น ประกันสังคม มาตรา40 แบบใหม่ ที่ช่วยดูและเพิ่มความคุ้มครองที่มากกว่า และเข้าถึงแรงงานนอกระบบ ทั้งเงินชดเชยยามพักฟื้นเวลาเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ เงินสงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ เงินชราภาพ ไปจนถึงเงินทำศพ ประกันสังคม มาตรา40 ช่วยเราได้


นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ กล่าวว่า “ จ่ายน้อย คุ้มค่า และไม่ประมาท ” สมาคม ก่อตั้งมา 6 ปี มีสมาชิกทั้งหมด 1200-1300 คน จึงต้องการส่งเสริม และช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ให้กับคนขับแท็กซี่สมาชิกในสมาคมทุกคน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ จากประกันสังคมมาตรา40 ใหม่นี้ เพื่อเป็นสวัสดิการคุ้มครองให้กับชีวิต ต้องการทำความเข้าใจกับสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ และเข้าถึงสมาชิกทุกคนให้ได้ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาระดับชีวิตในอนาคตที่ดีขึ้น

ประกันสังคม มาตรา 40 กับ 5 ความคุ้มครอง 3 ทางเลือก ที่คุณจะได้รับ

ชุดสิทธิประโยชน์ที่1 จ่าย 70 บาท/เดือน

ชุดสิทธิประโยชน์ที่2 จ่าย 100 บาท/เดือน

ชุดสิทธิประโยชน์ที่3 จ่าย 300 บาท/เดือน

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ( รับค่าทดแทนขาดรายได้ )
- เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 300 บาทต่อวันไม่เกิน 30 วันต่อปี
- กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ( ภายใน 1 ปี นับรวมกันมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 30 วัน )- กรณีมีใบรับรองแพทย์ ให้หยุดพักรักษาตัว 1-2 วัน ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 50 บาท แต่ไม่เกินคนละ 3 ครั้งต่อปี
เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่3 จ่าย 300 บาท/เดือน ภายใน 1 ปี นับรวมกันมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 90 วัน

เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)


2. กรณีทุพพลภาพ
- รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี หากเสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท
เพิ่มสิทธิพิเศษ

ชุดสิทธิประโยชน์ที่3 จ่าย 300 บาท/เดือน รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาท ส่งเงินสมทบให้ตลอดชีวิต หากเสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท

เงื่อนไข 
- จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
( ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแพทย์ )

3. กรณีเสียชีวิต
- ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ
- ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่ม 3,000 บาท ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต
เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่3 จ่าย 300 บาท/เดือน ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 40,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ

เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต
ยกเว้น กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต หรือ 6 เดือน ใน 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต

4. กรณีชราภาพ
ชุดสิทธิประโยชน์ที่2 จ่าย 100 บาท/เดือน
- ได้รับบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 50 บาท พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ( ออมเพิ่ม ได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน )
ชุดสิทธิประโยชน์ที่3 จ่าย 300 บาท/เดือน
- ได้รับบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 150บาท พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ( ออมเพิ่ม ได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน )
- จ่ายเงินสมทบ 180 บาทต่อเดือน ได้รับเพิ่มอีก 10,000 บาท

เงื่อนไข เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

5. กรณีสงเคราะห์บุตร
ชุดสิทธิประโยชน์ที่3 จ่าย 300 บาท/เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200บาท บุตรแรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ( คราวละไม่เกิน 2คน )
เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24ใน 36 เดือน และขณะรับเงินสงเคราะห์บุตรต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน

คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 40 

1. ผู้สมัครมีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันสมัคร
3. ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 ผู้สมัครประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
5. ผู้สมัครไม่เป็นสมาชิกกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นๆของรัฐ
6. ไม่ได้เป็นชนกลุ่มน้อย ที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย
4. ผู้สมัครเป็นบุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคมที่ตนจะได้รับ

ช่องทางการสมัครประกันสังคม มาตรา 40 

1. สมัครโดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมเขตใกล้บ้าน
2. สมัครผ่านเว็บไซต์ https://www.sso.go.th
3. สมัครผ่านร้านสะดวกซื้อ7-11 เพียงยื่นบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น


วิธีการนำส่งเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 40 
1.  หักผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ได้ทุกธนาคาร ทุกวันที่ 20 ของทุกๆเดือน
2.  นำส่งเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาใกล้บ้าน
3.  ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกแห่ง
4. สามารถจ่ายผ่านตู้เติมเงินบุญเติม

 “ ผู้ประกันตน ตามมาตร 40 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
“ ไม่ถูกตัดสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ”

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม มาตรา 40 ได้ที่
สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 หรือ เว็บไซต์ https://www.sso.go.th
Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก