ปัญหามลพิษทางอากาศกำลังเป็นภัยคุกคามผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ซึ่งมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากมาย ด้วยเหตุนี้เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกจึงพยายามหาทางออกในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่กำลังคุกคามสุขภาพของชาวเมือง
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2562 สังคมไทยได้เกิดกระแสการตื่นตัวในวงกว้าง ถึงภัยอันตรายจากปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ การต้องเผชิญกับภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ที่สูงเกินค่ามาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ถุงลมปอด รวมทั้งระบบไหลเวียนของโลหิตได้ง่าย ในปริมาณที่มากกว่าฝุ่นควัน PM10 จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวรุนแรงกว่า PM10 เกือบ 2 เท่า ทำให้เกิดโรคและกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และหืดหอบ อีกทั้งมีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นและยังมีผลเสียกับระบบประสาท และระบบทางเดินอาหารด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคปอด โรคหัวใจ จะมีความไวและเกิดอาการได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น ๆ
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งมาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 1 ปีไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่กรมควบคุมมลพิษของไทยตั้งค่าความปลอดภัยด้านปริมาณฝุ่นละอองสูงกว่านานาชาติ โดยกำหนดเพดานเฉลี่ย 1 ปี ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดังนั้นในการกำหนดเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ของไทย จากการกำหนด “สี” เป็นสัญลักษณ์ ฝุ่นระดับ 101-200 อยู่ในระดับสีส้ม ซึ่งหมายถึงอากาศพิษที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ แต่หากเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลแล้วค่ามลพิษทางอากาศเกิน 150 จะถือเป็นพื้นที่สีแดงซึ่งหมายถึงมีผลกระทบเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว
และตลอดปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา คนในกรุงเทพมหานครต้องเผชิญกับวันที่มีมลพิษทางอากาศสูงถึง 170 วันใน 1 ปี และมีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) สูงถึงระดับ 154 ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบให้โรงเรียนและธุรกิจหลายแห่งปิดทำการชั่วคราว ผู้คนจำนวนมากต้องเผชิญกับความผิดปกติในการดำเนินชีวิต และระบบเศรษฐกิจไทยได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
และเราจะเผชิญกับปัญหาที่สำคัญนี้อย่างไร ซึ่งในวันนี้ชาร์ปขอเสนอแนะการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศโดยใช้เทคโนโลยี พลาสม่า คลัสเตอร์ของชาร์ป นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นลิขสิทธิ์ของชาร์ปที่ผ่านการทดสอบและพิสูจน์โดยสถาบันวิจัยต่าง ๆ มากมายทั่วโลก เทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์จะสร้างไอออนบวกและลบซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำให้อากาศบริสุทธิ์ กำจัดกลิ่น ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น และลดไฟฟ้าสถิตย์ ผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้ง พลาสม่าคลัสเตอร์ของชาร์ปจึงมียอดขายมากกว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก
ดังนั้นเมื่อไม่อาจควบคุมสถานการณ์อากาศกลางแจ้งได้ แต่เราสามารถมั่นใจได้ว่ามีอากาศที่ดีภายในร่มรอบตัวเรา ในอนาคตอันใกล้นี้ชาร์ปไทยได้วางแผนในการบรรจุเทคโนโลยี“ชาร์ป พลาสม่าคลัสเตอร์” ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แบบครบวงจร ไม่เพียงแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเท่านั้น
“พลาสม่าคลัสเตอร์”เป็นเทคโนโลยีการฟอกอากาศซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของชาร์ปที่สามารถปล่อยอนุภาคไฟฟ้าประจุบวกและลบแบบเดียวกันกับที่มีในธรรมชาติ โดยอนุภาคเหล่านี้จะเข้าทำลายผนังเซลล์ของเชื้อรา เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย เข้าสลายสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ ยับยั้งการเพิ่มขึ้นของสารก่อภูมิแพ้และฝุ่นละอองส่วนใหญ่ที่หมุนเวียนอยู่ในอากาศและยากที่ตกลงบนพื้น รวมถึงหมอกควันไฟ กลิ่นอับชื้น พร้อมด้วยสุดยอดของระบบหมุนเวียนอากาศที่ให้ประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นละอองได้อย่างรวดเร็ว และแผ่นกรอง HEPA คุณภาพสูงที่สามารถกำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ถึง 99.97% ทดสอบโดย Japan Synthetic Textile Inspection Institute Foundation สามารถช่วยกำจัดฝุ่นละอองในอาคารและทำให้อากาศสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยี “พลาสม่าคลัสเตอร์” ได้ผ่านการรับรองและพิสูจน์โดยสถาบันวิจัยนานาชาติ 30 แห่ง และสถาบันการแพทย์ในประเทศไทย 2 แห่ง และยอดขายผลิตภัณฑ์กลุ่ม พลาสม่า คลัสเตอร์ของชาร์ปพุ่งสูงถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลกและเป็นแบรนด์เครื่องฟอกอากาศอันดับ 1 ของโลกและอาเซียน (การจัดส่งสินค้าทั้งหมดทั่วโลกพร้อมกับเทคโนโลยีพลาสม่า คลัสเตอร์รวมถึงเครื่องกำเนิดไอออนบวกพลาสม่าคลัสเตอร์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 – ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2560)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น