ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นศูนย์ฉายรังสีของภาครัฐเพียงแห่งเดียวของไทย และเป็นศูนย์ฯที่ได้รับการรับรองมาตรฐานให้สามารถฉายรังสีผลไม้ส่งออก 7 ชนิด ไปยังสหรัฐอเมริกามากกว่า 10 ปี แล้ว ก็จำเป็นต้องปรับปรุงระบบมาตรฐานเพิ่มเติม
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศออสเตรเลีย จนผ่านมาตรฐานและได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรเพื่อให้สามารถส่งออกผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีไปจำหน่ายในประเทศออสเตรเลียได้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
สทน.ได้ทำงานหนักร่วมกับ กรมวิชาการเกษตรเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้ผลไม้ไทยได้ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่ง สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้ผลไม้ไทยที่ผ่านการฉายรังสีเข้าไปจำหน่ายจำนวน 7 ชนิด อนุญาตมาประมาณ 10 แล้ว ส่วนออสเตรเลียเองเพิ่งเห็นชอบให้ส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปยังออสเตรเลีย เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ทางออสเตรเลียอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ฉายรังสีของไทยได้ แต่ยังไม่มีการส่งออกไป เนื่องจากโรงงานฉายรังสีที่จะให้บริการก็ต้องได้มาตรฐาน สทน.จึงใช้เวลา 1 ปีในการปรับปรุงระบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของออสเตรเลีย
และได้การรับรองจากกรมวิชาการเกษตร นับจากนี้ไปผู้ประกอบการสินค้าส่งออกสามารถนำสินค้ามาฉายเพื่อส่งออกไปสหรัฐออสเตรเลียได้ โดย อนุญาตให้ผลไม้ฉายรังสีของไทย 2 ชนิดนำเข้าออสเตรเลีย ได้แก่ ลำไย และลิ้นจี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันศูนย์ฉายรังสี มีเครื่องฉายรังสีแกมมาจากต้นกำเนินโคบอลด์ 60 โดยการฉายรังสีผลไม้จะใช้รังสีแกมมา จากต้นกำเนิดโคบอลต์-60 ในปริมาณที่น้อย 0.2-0.7 กิโลเกรย์ ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่ก่ออันตรายต่อผู้บริโภค และไม่ก่อมะเร็ง แต่สามารถทำลายไข่แมลงและควบคุมการเจริญแพร่พันธุ์ของแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน
ซึ่งได้มาตรฐานสากล และศูนย์ฉายรังสียังได้ผ่านการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001:2000 และขณะนี้ศูนย์ฉายรังสีได้ขยายโรงงานฉายรังสีขึ้น โดยโรงงานฉายรังสีแห่งใหม่ติดตั้งเครื่องฉายรังสีอิเล็กตรอน โดยเครื่องดังกล่าวจะให้พลังงานอเล็กตรอนไม่เกิน 10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ให้รังสีเอกซ์พลังงาน 5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ โดยจะให้บริการฉายรังสีอาหาร ผลิตผลทางการเกษตร และเครื่อมือแพทย์ ซึ่งขณะนี้กำลังทดลองเดินเครื่องและคาดว่าจะให้บริการได้ในปี 2563 นี้
ฝ่ายสื่อสารองค์การ สทน.
02 401 9889 ต่อ 5913 หรือ 084 4380515
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น