ทีม Mythology of Siam จากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ กวาด 3 รางวัล บนเวที สหกรุ๊ป แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2019


ดีไซน์เนอร์เจนใหม่จัดเต็ม 70 ชุด ธีม Thai Ness สุดปัง ในโครงการ SAHA GROUP BANGKOK YOUNG DESIGNER AWARDS 2019  บนเวทีสหกรุ๊ป แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2019  ล่าสุดประกาศผลเวทียังดีไซน์เนอร์  ทีม Mythology of Siam จากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ คว้ารางวัลชนะเลิศ และ The best makeup awards พร้อมด้วยรางวัลเครื่องแต่งกายสตรี
สำหรับโครงการ SAHA GROUP BANGKOK YOUNG DESIGNER AWARDS 2019 (สหกรุ๊ป แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2019) เดินทางมาถึงปีที่ 18 กับเวทีที่เปิดโอกาสเพื่อเฟ้นหาดีไซน์เนอร์เจนเนอร์เรชั่นใหม่กับกิจกรรมการประกวดแข่งขันออกแบบเสื้อผ้า ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Thai Ness (ไทยเหนด) ปลุกทุกสตรีทแฟชั่น ด้วยความเป็นไทยในหัวใจคุณ” โดยมี ดร. ศิรินา โชควัฒนา ปวโรฬารวิทยา ประธานกลุ่ม บูติคนิวซิตี้ฯ พร้อมผู้บริหารเครือสหพัฒน์  ให้เกียรติมอบรางวัลในโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกาย ณ ไบเทคบางนา จัดโดยเครือสหพัฒน์   และในปีนี้ยังคงมุ่งส่งเสริม สนับสนุนให้นักออกแบบหน้าใหม่ นิสิต-นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่หลงรักงานแฟชั่น อายุ18-25 ปี จับคู่ทีมละ 2 คน เข้ามาร่วมกิจกรรมและสร้างอินสไปเรชั่น พร้อมแสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์ นำเสนอมุมมอง ไอเดียและตัวตนผ่านกระแสแฟชั่นไทยที่กำลังได้รับความนิยมกับผลงานในสไตล์สตรีทแฟชั่น เพื่อบอกให้โลกรู้ว่าเราคือ Thainess โดยเน้นสไตล์ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็น   เทรนด์แฟชั่นแบบใหม่ ที่สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน พร้อมชิงเงินรางวัลและบินลัดฟ้าสู่กรุงโตเกียว ชมแฟชั่นโชว์สุดตระการตาของ Bunka Fashion Collage ที่ญี่ปุ่น และรับคอร์สเรียนจากโรงเรียนบุนกะแฟชั่นในไทย พร้อมรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 550,000  บาท ที่สำคัญยังดีไซเนอร์ที่ผ่านโครงการฯ นี้ มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทในเครือสหพัฒน์อีกด้วย โดยมี 5 รางวัล ดังนี้

• รางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม รับเงินสด 100,000 บาท รวมถึงแพ็กเก็จท่องแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ
• รางวัลดีเด่นประเภทเสื้อผ้าผู้ชาย เสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าเด็ก ได้รับเงินสดรางวัลละ 30,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ
• รางวัล The Best Make Up Award  ได้รับเงินสด 15,000 บาท โล่พร้อมใบประกาศ
• รางวัลชมเชย ได้รับเงินสด รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมใบประกาศ
• ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 8 ทีม ได้รับคอร์สดีไซน์จากโรงเรียนบุนกะแฟชั่น มูลค่า 8,000 บาท  และประกาศนียบัตรรับรองความสามารถจากโครงการฯ

สำหรับการแข่งขันในปีนี้ผู้เข้าแข่งขันร่วมส่งผลงานเข้ามากันอย่างดุเดือด โดยมี 8 ทีมสุดท้ายเป็นนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ที่ผ่านเข้าสู่ “รอบชิงชนะเลิศ” สร้างผลงานตอบโจทย์ พร้อมดึงไอเดียสร้างสรรค์ออกมาเป็นสไตล์ “Thai Ness (ไทยเหนด) ที่สะท้อนตัวตนได้เข้าตากรรมการมากที่สุด ซึ่งน้องๆ ทุกทีมได้จัดเตรียมผลงานกว่า 70 ชุดที่ได้รับทุนตัดเย็บชุดจริงในสไตล์สตรีทแฟชั่นที่ทันสมัยแต่ใส่ได้จริง เพื่อจัดแสดงแฟชั่นโชว์แบบเต็มคอลเลคชั่นต่อหน้าบุคลากรด้านแฟชั่นมืออาชีพ ที่ให้เกียรติมาเป็นคณะกรรมการตัดสิน ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการออกแบบและผู้บริหารด้านธุรกิจสิ่งทอ ผ่านการแสดงแบบของเหล่าโมเดลทั้งชาย หญิง และเด็กที่หลากหลายคาแร็กเตอร์

ล่าสุดประกาศผลเวทียังดีไซน์เนอร์  ทีม Mythology of Siam จากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม และเงินสด 100,000 บาท รวมถึงแพ็กเก็จท่องแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ นอกจากนี้ยังคว้ารางวัล The Best Makeup Awards พร้อมด้วยรางวัลเครื่องแต่งกายสตรี สำหรับทีม 6 Mythology of Siam เจ้าของผลงาน Mythology of amazing Siam โดยมีนายจิณณวัตร ละครชัย – นางสาวกานต์ธิดา ประทุมนันท์  จากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์  ซึ่งมาในคอนเซ็ปต์ Mathology of amazing siam เป็นคอนเซ็ปต์แคชชวลซึ่งมีความเป็นสตรีท แต่เป็น street allegiant ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานศิลปะของไทย (รัชกาลที่10) ในงาน “อุ่นไอรักคลายความหนาว” จึงเกิดเป็นที่มาของการออกแบบคอลเลคชั่นนี้ โดยมีแนวคิดในการหยิบยกงานศิลปะแขนงต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน  และนำเอาการปักแบบโขนโบราณด้วยดิ้นเงินดิ้นทองมาปักประยุกต์ให้มีความนำสมัย ชวนมองมากขึ้น ออกแบบลวดลายให้สอดคล้องแต่ดูใหม่ และยังคงเอกลักษณ์การปักแบบโบราณ ซึ่งลวดลายของเรานั้นจะบอกเล่าเรื่องราวผ่านบทกลอน กาพย์ เห่เรือให้ได้รับความรู้สึกของบรรยากาศความเป็นกลิ่นอายของประเพณีและวัฒนธรรมของไทย

สำหรับรางวัลดีเด่นประเภทเสื้อผ้าผู้ชาย ทีม MITNICE กับผลงาน Avant Giant โดยนางสาวธันยกานต์ มหาพล – นางสาวปาลิตา พันธ์แสง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาในชุดโอเวอร์ไซส์ที่ถอดฟอร์มมาจากโครงร่างของยักษ์ ผสมผสานกับโครงชุดแบบ street wear โดย collection นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากวัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง ในการออกแบบ ได้ดึง element จากสถาปัตยกรรมในบริเวณวัดและปฏิมากรรมเลื่องชื่ออย่างยักษ์สหัสเดชะและทศกัณฐ์ที่ยืนเฝ้าบริเวณประตูซุ้มยอดมงกุฎทางเข้าพระอุโบสถ มาปรับใช้และลดทอนความเป็นไทยให้ดูทันสมัยมากขึ้น รวมไปถึงโครงชุดที่นำ street wear มาผสมผสานให้เข้ากับชุดไทยสมัยอยุธยา ผลงาน collection นี้ มีความโดดเด่นทั้งในด้านของโครงชุด  สี  และลายปริ้น ซึ่งผสมผสานได้อย่างลงตัวผ่านคอนเซ็ปต์ชุด  Street playful contemporary ได้รับเงินสดรางวัลละ 30,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ

สำหรับรางวัลดีเด่นประเภทเสื้อผ้าเด็ก ทีม nanno  ผลงาน Wat Pho (วัดโพธิ์) โดยนายอานนท์ ยามา – นายประพนธ์ ชนะพล ม.ราชมงคลศรีวิชัย มาในแนวความคิดได้มาจากการท่องเที่ยววิถีไทย หรือ Discover Thainess ซึ่งเป็นสถานที่ที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่มีความเป็นไทยและคงหนีไม่พ้นวัด จึงได้นำแรงบันดาลใจมาจากวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรม ประติมากรรมที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์มาออกแบบเป็นชุดแนว street ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสมัยนี้  โดยนำมาออกแบบให้น่าสนใจ สวมใส่ได้จริง และแปลกใหม่มากขึ้น

8 ทีมสุดท้าย เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ


ทีม 1 BOCE 
ผลงาน contemporary BENJARONG
นางสาวสุรนุช คงพิริยะมณี - นายธนัท จึงประเสริฐ ม.ธรรมศาสตร์ ได้นำแนวคิดจากความสวยงามของลวดลายเครื่องเบญจรงค์มาออกแบบผ่านโครงชุดในช่วงยุค 80  กับคอนเซ็ปต์ Contemporary Benjarong ซึ่งคอลเลคชั่นนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานศิลป์ชั้นสูง เครื่องเบญจรงค์ ที่มีการพัฒนาความสวยงามมาตลอด ในทุกยุคทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน จึงได้นำอัตลักษณ์ลวดลายเบญจรงค์ของไทย มาดัดแปลงให้ดูโมเดิร์นและจัดวางลงในเสื้อผ้า โดยยังใช้เทคนิคอื่น ทั้งการเย็บรูด ปัก  อัดพลีทให้เสื้อผ้าดูมีมิติ และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ทีม 2 Double NN 
ผลงาน Gather the best of Thai Craft
นางสาวกานต์ธิดา จรณะ – นางสาวรัสยา อภัยนิจ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Gather the best of Thai Craft  คอนเซ็ปต์ชุดที่ได้รับเเรงบันดาลใจมาจากงาน Craft ของไทย ซึ่งมีเเนวคิดที่ต้องการนำหัตถกรรมที่สวยงามของไทยมาปรับประยุกต์ให้มีความทันสมัย เเละใส่ได้จริงในชีวิตประจำวันเป็นการนำเสนอ product ของไทยที่ผ่านชุดที่ได้ออกเเบบ และได้คัดสรรหนึ่งจังหวัดที่น่าสนใจคือ ชัยภูมิ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทางการย้อมสีผ้าแบบธรรมชาติ  เเละมีงานถักที่ประณีตสวยงาม จึงนำมาปรับใช้ให้ดูโมเดิร์นเเละมีความทันสมัยเหมาะกับยุคปัจจุบัน


ทีม 3 DELICATE  
ผลงาน DELICATE
นางสาวชนาภา ลดาวงศ์สุนทร – นางสาวณิชา ลาภอดิศร  โรงเรียนบุนกะแฟชั่นความอ่อนหวาน  ความประณีตของชุดไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นแรงบันดาลใจ ในการนำมาประยุกต์ใช้และวางคอนเซ็ปต์ชุดให้เข้ากับความเท่ของ street fashion โดยมีแนวคิดที่ว่า "softness is not weakness. it takes courage to stay delicate in a world this cruel."  ความอ่อนหวานไม่ใช่ความอ่อนแอ และมันยากในการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งจะคงความละเอียดอ่อนของตนเองเอาไว้

ทีม 4  MITNICE 
ผลงาน Avant Giant
นางสาวธันยกานต์ มหาพล – นางสาวปาลิตา พันธ์แสง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชุดโอเวอร์ไซส์ที่ถอดฟอร์มมาจากโครงร่างของยักษ์ ผสมผสานกับโครงชุดแบบ street wear โดย collection นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากวัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง ในการออกแบบ ได้ดึง element จากสถาปัตยกรรมในบริเวณวัดและปฏิมากรรมเลื่องชื่ออย่างยักษ์สหัสเดชะและทศกัณฐ์ที่ยืนเฝ้าบริเวณประตูซุ้มยอดมงกุฎทางเข้าพระอุโบสถ มาปรับใช้และลดทอนความเป็นไทยให้ดูทันสมัยมากขึ้น รวมไปถึงโครงชุดที่นำ street wear มาผสมผสานให้เข้ากับชุดไทยสมัยอยุธยา ผลงาน collection นี้ มีความโดดเด่นทั้งในด้านของโครงชุด  สี  และลายปริ้น ซึ่งผสมผสานได้อย่างลงตัวผ่านคอนเซ็ปต์ชุด  Street playful contemporary

ทีม 5 7 สี 7 ศอก 
ผลงาน 7 สี 7 ศอก 
นายศิริพิชัย สิงห์นี – นายอรรถวิโรจน์ ทองทิพย์ ม.ขอนแก่นความเชื่อความศรัทธาของคนไทยไม่ว่าจะมองไปที่ไหนจะเห็นพวงมาลัย 7 สี ผ้า 7สี ยาว 7 ศอก มัดผูกอยู่รอบตัว เราจึงมองเห็นความงามที่ถูกซ่อนอยู่ภายในความเชื่อ ความศรัทธา จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลงานชิ้นนี้ โดยมีแนวคิดในการนำโครงสร้างของชุดไทยสมัยนิยมมาผสมผสานกับการออกแบบเสื้อผ้าสมัยใหม่ ถ่ายทอดผ่านเทคนิคการร้อยมาลัย ศิลปะความงามของไทย รวมไปถึงการแต่งกายสีเสริมมงคลมาใช้และเพิ่มความสนุกสนานให้กับเสื้อผ้า ด้วยการเพิ่มลวดลายล็อตเตอร์รี่ เพื่อปลุกกระแสสตรีทแฟชั่นของไทยในสไตล์ไทยไทย

ทีม 6 Mythology of Siam 
ผลงาน Mythology of amazing Siam
นายจิณณวัตร ละครชัย – นางสาวกานต์ธิดา ประทุมนันท์  สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์
Mathology of amazing siam คอนเซ็ปต์ แคชชวลซึ่งมีความเป็นสตรีท แต่เป็น street allegiant ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานศิลปะของไทย (รัชกาลที่10) ในงาน “อุ่นไอรักคลายความหนาว” จึงเกิดเป็นที่มาของการออกแบบคอลเลคชั่นนี้ โดยมีแนวคิดในการหยิบยกงานศิลปะแขนงต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน  และนำเอาการปักแบบโขนโบราณด้วยดิ้นเงินดิ้นทองมาปักประยุกต์ให้มีความนำสมัย ชวนมองมากขึ้น ออกแบบลวดลายให้สอดคล้องแต่ดูใหม่ และยังคงเอกลักษณ์การปักแบบโบราณ ซึ่งลวดลายของเรานั้นจะบอกเล่าเรื่องราวผ่านบทกลอน กาพย์ เห่เรือให้ได้รับความรู้สึกของบรรยากาศความเป็นกลิ่นอายของประเพณีและวัฒนธรรมของไทย

ทีม 7 Little girl 150 
ผลงาน Ta Khon (ตาโขน)
นางสาวพิชชาภา โชติสุวรรณกิจ – นางสาวศศิธร เอกสรกุล ม.ธรรมศาสตร์ได้แรงบันดาลใจจากผีตาโขน ซึ่งมีแนวคิดออกแบบ collection โดยการนำ movements, colorful, funny ของเทศกาลผีตาโขนมาเป็น key works ในการออกแบบ  โดยดึงเอกลักษณ์จากสีสันของเทศกาลมาใช้ให้ดูสนุกสนาน นำความเป็นไทยที่ได้จากเทศกาลและmaterial ความเป็นอีสานสู่การยกระดับความสากลมากขึ้น   โดยการใช้โครงชุดแนว street style เพื่อปรับให้เป็น ready to wear ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำเสนอเอกลักษณ์ทางภาคอีสาน โดยการใช้ผ้ามัดหมี่เสนอในรูปแบบ Thai street style 2019

ทีม 8  nanno  
ผลงาน Wat Pho (วัดโพธิ์)
นายอานนท์ ยามา – นายประพนธ์ ชนะพล ม.ราชมงคลศรีวิชัย แนวความคิดได้มาจากการท่องเที่ยววิถีไทย หรือ Discover Thainess ซึ่งเป็นสถานที่ที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่มีความเป็นไทยและคงหนีไม่พ้นวัด จึงได้นำแรงบันดาลใจมาจากวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรม ประติมากรรมที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์มาออกแบบเป็นชุดแนว street ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสมัยนี้  โดยนำมาออกแบบให้น่าสนใจ สวมใส่ได้จริง และแปลกใหม่มากขึ้น


Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก