องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection) จัดกิจกรรมโรดโชว์เพื่อการรณรงค์ภายใต้โครงการ “ถ้าคุณเป็นเสือ…ชีวิตคุณจะอยู่อย่างไร” (Save Breeding Tiger) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์เสือโคร่งในอุตสาหกรรมเพื่อความบันเทิงแก่คนรุ่นใหม่ โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากนิสิตและนักศึกษาสถาบันฯ ต่างๆ จำนวนหลายพันคน ร่วมลงชื่อยุติการขยายพันธุ์เสือในกรงขัง พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป สามารถร่วมลงชื่อให้การสนับสนุน เพื่อเสนอร่างกฎหมาย ยุติการขยายพันธุ์เสือโคร่งในกรงเลี้ยง ต่อรัฐสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคต โดยล่าสุดจัดกิจกรรมรณรงค์พร้อมการบรรยายความรู้ให้แก่นักศึกษาที่สนใจ กว่า 1,000 คน ณ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี จังหวัดชลบุรี เมื่อวันก่อน
สมศักดิ์ สุนทรนวภัทร หัวหน้าฝ่ายโครงการ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวถึงที่มาของกิจกรรมนี้ว่า "ทุกวันนี้มีเสือถูกขังและใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดอยู่ในสวนเสือทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยเรื่อง Trading cruelty – how captive big cat farming fuels the traditional Asian medicine industry ที่ชี้ให้เห็นถึงเบื้องหลังการเพาะพันธุ์สิงโตในทวีฟแอฟริกาและการเพาะพันธุ์เสือในทวีปเอเชียที่มุ่งตอบสนองต่ออุปสงค์ความต้องการของตลาดค้าเสือทั่วโลก
โดยที่เสือและสิงโตเหล่านั้นต่างถูกเลี้ยงอย่างไร้สวัสดิภาพและตกเป็นเหยื่อเพื่อความบันเทิงของมนุษย์ หากแต่เราเชื่อมั่นว่า “เสือควรอยู่อย่างเสือ ไม่ควรเป็นจำอวดของมนุษย์” นั่นคือเสือควรอยู่ในผืนป่ากว้างใหญ่อันเป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของมันมากกว่าอยู่ในกรงขัง ดังนั้นเราจึงอยากเชิญชวนประชาชนและผู้ที่สนใจร่วมผลักดันผ่านร่างกฎหมาย รวมถึงหยุดการสนับสนุนสถานที่ท่องเที่ยวที่มีเสือในกรงเลี้ยงที่ใช้เพื่อความบันเทิง และไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเสือ เช่น ยาสมุนไพร เครื่องประดับ วัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ เพื่อตัดวงจรทรมานเสือในอนาคต”
ปัญจเดช สิงห์โท ที่ปรึกษาด้านนโยบาย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า
“ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่วันนี้เราได้มาเป็นตัวแทนสัตว์ป่าพูดคุยกับน้องๆนักศึกษาคนรุ่นใหม่ เพื่อการร่วมลงชื่อสนับสนุนการร่างกฎหมายให้มีการยุติการขยายพันธุ์เสือโคร่งในกรงเลี้ยงเพื่อยุติการผสมพันธุ์เสือเพื่อความบันเทิงของมนุษย์ เพราะเสือเหล่านี้ต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสในกรงเลี้ยงตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลกที่มีนโยบายและกฏหมายเพื่อยุติการนำสัตว์ป่ามาแสดง รวมไปถึงยุติการผสมพันธุ์เสือเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการเพื่อความบันเทิง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจของประเทศไทยที่ธุรกิจดังกล่าวกลับเติบโตสวนทางกับกระแสอนุรักษ์ทั่วโลก
เห็นได้จากการประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาไซเตส (COP-18) เมื่อเดือนที่ผ่านมา ที่ประชุมได้หารือในเรื่องการพยายามลดจำนวนเสือในกรงเลี้ยงและห้ามผสมพันธุ์เสือเพื่อนำไปใช้ในธุรกิจเพื่อความบันเทิง พร้อมย้ำให้ประเทศสมาชิกทำการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังอีกด้วย ดังนั้นผมมองว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องแสดงพลังและความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันแก้ไขนโยบายและผลักดันร่างกฏหมาย ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงแทนพวกมันเพื่อให้เสือเหล่านี้เป็นรุ่นสุดท้ายที่ต้องทุกข์ทรมานในกรงเลี้ยงของมนุษย์” ที่ผ่านมาองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกกฎทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนในการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านการประสานขอความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตรต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงทำการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาและภัยคุกคาม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เสืออย่างแท้จริง
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้ที่ www.worldanimalprotection.or.th หรือร่วมลงชื่อสนับสนุนเพื่อยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงที่ไม่ใช่จุดประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ได้ที่ http://bit.ly/2L8Faia
ข้อมูลทั่วไป - ทำไมต้องมีการยุติการผสมพันธุ์เสือในฟาร์มเสือ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของภาคีสมาชิกอนุสัญญาไซเตส (CITES) ภายใต้ประเด็นการค้าสัตว์ดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการผสมพันธุ์เสือที่ไม่เป็นไปตามอนุญาสัญญาไซเตส ที่ระบุว่าการขออนุญาตดังกล่าวจะออกให้กับการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นไปในเชิงการค้าระหว่างสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับเพื่อเป้าหมายด้านการอนุรักษณ์เท่านั้น หากแต่ฟาร์มเสือในประเทศไทยกลับใช้เพื่อการแสดงหรือกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและสร้างความสุขให้แก่มนุษย์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เบื้องหลังแฝงไปด้วยความทุกข์ทรมาณของสัตว์ทั้งจากการฝึกและการบีบบังคับเพื่อการแสดง
เกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก หรือ World Animal Protection เป็นองค์กรเพื่อคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ และยุติการทารุณกรรมสัตว์อย่างถาวร โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 มีบทบาทในการให้คำปรึกษากับองค์การสหประชาชาติและสภายุโรป ทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ สร้างความแตกต่างให้สัตว์ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ถูกทารุณกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยดำเนินงานครอบคลุมทั้งสัตว์ในชุมชน – สุนัข , สัตว์ป่า, สัตว์ประสบภัยพิบัติ - ช่วยเหลือสัตว์ในภาวะภัยพิบัติ การจัดหาอาหาร ที่อยู่และยารักษาโรคให้กับสัตว์, สัตว์ในฟาร์ม รวมถึงการให้ความรู้ด้านปศุสัตว์ที่มีมนุษยธรรมอันส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนและสัตว์ ข้อมูลเพิ่มเติม www.worldanimalprotection.or.th /
สมศักดิ์ สุนทรนวภัทร หัวหน้าฝ่ายโครงการ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวถึงที่มาของกิจกรรมนี้ว่า "ทุกวันนี้มีเสือถูกขังและใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดอยู่ในสวนเสือทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยเรื่อง Trading cruelty – how captive big cat farming fuels the traditional Asian medicine industry ที่ชี้ให้เห็นถึงเบื้องหลังการเพาะพันธุ์สิงโตในทวีฟแอฟริกาและการเพาะพันธุ์เสือในทวีปเอเชียที่มุ่งตอบสนองต่ออุปสงค์ความต้องการของตลาดค้าเสือทั่วโลก
โดยที่เสือและสิงโตเหล่านั้นต่างถูกเลี้ยงอย่างไร้สวัสดิภาพและตกเป็นเหยื่อเพื่อความบันเทิงของมนุษย์ หากแต่เราเชื่อมั่นว่า “เสือควรอยู่อย่างเสือ ไม่ควรเป็นจำอวดของมนุษย์” นั่นคือเสือควรอยู่ในผืนป่ากว้างใหญ่อันเป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของมันมากกว่าอยู่ในกรงขัง ดังนั้นเราจึงอยากเชิญชวนประชาชนและผู้ที่สนใจร่วมผลักดันผ่านร่างกฎหมาย รวมถึงหยุดการสนับสนุนสถานที่ท่องเที่ยวที่มีเสือในกรงเลี้ยงที่ใช้เพื่อความบันเทิง และไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเสือ เช่น ยาสมุนไพร เครื่องประดับ วัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ เพื่อตัดวงจรทรมานเสือในอนาคต”
ปัญจเดช สิงห์โท ที่ปรึกษาด้านนโยบาย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า
“ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่วันนี้เราได้มาเป็นตัวแทนสัตว์ป่าพูดคุยกับน้องๆนักศึกษาคนรุ่นใหม่ เพื่อการร่วมลงชื่อสนับสนุนการร่างกฎหมายให้มีการยุติการขยายพันธุ์เสือโคร่งในกรงเลี้ยงเพื่อยุติการผสมพันธุ์เสือเพื่อความบันเทิงของมนุษย์ เพราะเสือเหล่านี้ต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสในกรงเลี้ยงตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลกที่มีนโยบายและกฏหมายเพื่อยุติการนำสัตว์ป่ามาแสดง รวมไปถึงยุติการผสมพันธุ์เสือเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการเพื่อความบันเทิง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจของประเทศไทยที่ธุรกิจดังกล่าวกลับเติบโตสวนทางกับกระแสอนุรักษ์ทั่วโลก
เห็นได้จากการประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาไซเตส (COP-18) เมื่อเดือนที่ผ่านมา ที่ประชุมได้หารือในเรื่องการพยายามลดจำนวนเสือในกรงเลี้ยงและห้ามผสมพันธุ์เสือเพื่อนำไปใช้ในธุรกิจเพื่อความบันเทิง พร้อมย้ำให้ประเทศสมาชิกทำการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังอีกด้วย ดังนั้นผมมองว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องแสดงพลังและความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันแก้ไขนโยบายและผลักดันร่างกฏหมาย ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงแทนพวกมันเพื่อให้เสือเหล่านี้เป็นรุ่นสุดท้ายที่ต้องทุกข์ทรมานในกรงเลี้ยงของมนุษย์” ที่ผ่านมาองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกกฎทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนในการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านการประสานขอความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตรต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงทำการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาและภัยคุกคาม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เสืออย่างแท้จริง
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้ที่ www.worldanimalprotection.or.th หรือร่วมลงชื่อสนับสนุนเพื่อยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงที่ไม่ใช่จุดประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ได้ที่ http://bit.ly/2L8Faia
ข้อมูลทั่วไป - ทำไมต้องมีการยุติการผสมพันธุ์เสือในฟาร์มเสือ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของภาคีสมาชิกอนุสัญญาไซเตส (CITES) ภายใต้ประเด็นการค้าสัตว์ดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการผสมพันธุ์เสือที่ไม่เป็นไปตามอนุญาสัญญาไซเตส ที่ระบุว่าการขออนุญาตดังกล่าวจะออกให้กับการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นไปในเชิงการค้าระหว่างสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับเพื่อเป้าหมายด้านการอนุรักษณ์เท่านั้น หากแต่ฟาร์มเสือในประเทศไทยกลับใช้เพื่อการแสดงหรือกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและสร้างความสุขให้แก่มนุษย์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เบื้องหลังแฝงไปด้วยความทุกข์ทรมาณของสัตว์ทั้งจากการฝึกและการบีบบังคับเพื่อการแสดง
เกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก หรือ World Animal Protection เป็นองค์กรเพื่อคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ และยุติการทารุณกรรมสัตว์อย่างถาวร โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 มีบทบาทในการให้คำปรึกษากับองค์การสหประชาชาติและสภายุโรป ทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ สร้างความแตกต่างให้สัตว์ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ถูกทารุณกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยดำเนินงานครอบคลุมทั้งสัตว์ในชุมชน – สุนัข , สัตว์ป่า, สัตว์ประสบภัยพิบัติ - ช่วยเหลือสัตว์ในภาวะภัยพิบัติ การจัดหาอาหาร ที่อยู่และยารักษาโรคให้กับสัตว์, สัตว์ในฟาร์ม รวมถึงการให้ความรู้ด้านปศุสัตว์ที่มีมนุษยธรรมอันส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนและสัตว์ ข้อมูลเพิ่มเติม www.worldanimalprotection.or.th /