ผลงาน มอ. กับ อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา คว้ารางวัลผลงานที่น่าลงทุนที่สุด จากงาน THAILAND TECH SHOW 2019

(5 ก.ย. 62) กรุงเทพฯ : งานวิจัยนวัตกรรมฝีมือคนไทย ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา หรือ Thai Colostomy Bag ซึ่งนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ลดการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์ และเพิ่มมูลค่ายางพาราอันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ผลงานโดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลผลงานที่น่าลงทุนที่สุดในกิจกรรม NSTDA Investors' Day 2019 ในงาน THAILAND TECH SHOW 2019 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 6 กันยายน 2562 ที่ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 เซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ฯ
ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ (ฝ่ายจัดการนวัตกรรม) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม เป็นสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ บางยี่ห้อมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วย “Thai Colostomy Bag” นับเป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทย ที่จะช่วยลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
โดยนำ “ยางพารา” ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาเป็นวัตถุดิบ โดยจุดเด่นของเทคโนโลยีอยู่ที่การเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้ยางพาราเป็นส่วนประกอบ เปรียบเทียบอาการข้างเคียง เช่น อาการแพ้ ผื่น คัน ฯลฯ กับยี่ห้ออื่นในท้องตลาด พบว่า มีน้อยมาก ผ่านการทดสอบทาง Biocompatibilities (Cytotoxicity, Skin Irritation, Skin sensitization) ซึ่งได้มีการทดลองใช้จริงในผู้ป่วยให้ผลการใช้งานเทียบเท่ากับยี่ห้อในท้องตลาด โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้มีการทดสอบทาง Biocompatibilities หรือความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกาย ก่อนการใช้งานจริงในมนุษย์ เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีความเหมาะสมกับสรีระของคนไทย และใช้งานง่าย
ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีการขับถ่ายทางหน้าท้อง (ทวารเทียม) รวมถึงใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีทวารเทียม โรงพยาบาลต่าง ๆ และร้านขายยา และเหมาะสมกับกลุ่มนักลงทุนที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยขณะนี้ผลงานดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการผลิตเพื่อจัดจำหน่าย โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร. 074 289 321, 090 970 7099 หรืออีเมล: sitanon.@psu.ac.th” 
ทั้งนี้ กิจกรรม NSTDA Investors' Day 2019 ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์งาน THAILAND TECH SHOW 2019 ซึ่งเป็นรูปแบบ Investment Pitching โดยให้เวลา 7 นาทีสำหรับนักวิจัยในการนำเสนอแต่ละผลงาน และให้ผู้เข้าร่วมงานช่วยกันโหวตผลงานที่น่าลงทุนที่สุด และผลงานที่นำเสนอดีที่สุด โดยในปีนี้มีผลงานเด่นจาก สวทช. 5 ผลงาน และหน่วยงานพันธมิตรอีก 6 ผลงาน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจสามารถเข้าเจรจาธุรกิจแบบ One-on-One Matching ได้
โดย 5 ผลงานเด่นจาก สวทช. ได้แก่
1) สารทำหมันสัตว์เพศผู้แบบไม่ผ่าตัด (V-HAPPY) โดย นาโนเทค สวทช.
2) จิ๊บจิ๊บ (JibJib CUI) โดย เนคเทค สวทช.
3) แพลตฟอร์มการบริหารจัดการเมืองด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล (Traffy City Platform) โดย เนคเทค สวทช.
4) นอนวูฟเวนเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (Magik Growth) โดย เอ็มเทค สวทช.
5) เบต้ากลูแคนโอลิโกแชคาร์ไลด์เพื่อใช้เสริมสุขภาพและความงาม (Betaprime) โดย ไบโอเทค สวทช.

และอีก 6 ผลงานจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่
6) กล่องโฟมอเนกประสงค์ (Healthy Box) โดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

7) เครื่องปิ้งเนื้อสัตว์กึ่งอัตโนมัติ (HAS Grill Machine) โดย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
8) ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา (Thai Colostomy Bags) โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
9) โซเดียมซิลิเกตเจลกันน้า (Hydrophobic (Sodium) Silicate Gel) โดย มหาวิทยาลัยสุรนารี
10) เครื่องทำลายเชี้อแบบพลาสเจอร์ไรซ์ผสานระบบอบลมร้อนสาหรับอุปกรณ์การแพทย์ โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
11) อาษาเฟรมเวิร์ค (ARSA Framework) โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลปรากฏว่า ผลงานที่น่าลงทุนที่สุด ได้แก่ Thai Colostomy Bag ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา โดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับเงินรางวัล 10,000 บาทพร้อมโล่รางวัล ขณะที่ผลงานที่นำเสนอดีที่สุด ได้แก่ อาษาเฟรมเวิร์ค (ARSA Framework) โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ผศ.ดร.อาษา ตั้งจิตสมคิด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก