TMA ผลักดันนักเทคโนโลยีไทยไปให้ถึงฝั่งฝัน

TMA ผนึกกำลังมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ ประกาศรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น พร้อมจัดสัมมนา STI Forum 2019 “แปลงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ธุรกิจ”
ตลาดธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงและทวีความท้าทายมากขึ้นในทุกปี การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สามารถนำมาต่อยอดธุรกิจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ อ้างอิงจากการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย International Institute for Management Development (IMD) แสดงให้เห็นว่าไทยควรมุ่งเน้นและผลักดันการวิจัยและพัฒนาเทคนโนโลยีและนวัตกรรม นำไปสู่การจดสิทธิบัตรและช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ให้ได้มากขึ้น
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จับมือร่วมกันจัดงานประกาศผลรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่น และงานสัมมนาเชิงวิชาการ Outstanding Technologist Awards and STI Forum 2019 ภายใต้หัวข้อ Turning Science & Technology into Business เพื่อเชิดชูเกียรติและแสดงความยินดีต่อนักเทคโนโลยีไทยที่สร้างผลงานด้านการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งผลักดันให้ผลงานวิจัยได้เชื่อมโยงไปสู่ตลาดธุรกิจได้อย่างแท้จริง
นายสัตวแพทย์  รุจเวทย์  ทหารแกล้ว ประธานกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า
“ในปี 2562 นี้มีโครงการของนักเทคโนโลยีรวมทั้งสิ้น 62 โครงการ แบ่งเป็น โครงการนักเทคโนโลยีดีเด่น 41 โครงการ และโครงการนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จำนวน 21 โครงการ โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี ที่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติหรือเชิงพาณิชย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 
 นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ใช้ “เรือใบซุปเปอร์มด” ซึ่งเป็นผลงานของพระองค์ท่านที่แสดงถึงการพัฒนาการให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งานที่เป็นเลิศ เป็นแบบฉบับกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างครบวงจร โดยนักเทคโนโลยีดีเด่น จะได้รับประติมากรรมเรือใบซุปเปอร์มด และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะได้รับเหรียญเรือใบซุปเปอร์มดอีกด้วย”
  
งานสัมมนา “Outstanding Technologist  Awards and STI Forum 2019”  ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นเวทีคุณภาพด้านนวัตกรรมระดับโลก เนื่องจากวิทยากรล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศที่ประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียงมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ใหม่ ๆ และแนวคิดที่สามารถนำไปปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”  นายสัตวแพทย์  รุจเวทย์  กล่าวเสริม
ภายในงาน จะมีการประกาศผลรางวัลพระราชทาน “นักเทคโนโลยีดีเด่น”  เพื่อเชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ นักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานโดดเด่นด้านการวิจัยและพัฒนาให้สร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยไฮไลท์เด่นภายในงานจากภายใต้ theme งานหลัก “Turning Science and Technology into Business” ประกอบไปด้วย
การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Visualizing Business Opportunities through Foresight” จากDr. Tamara Carleton, CEO and Founder, Innovation Leadership Group ผู้เชี่ยวชาญด้านการคาดการณ์ (Foresight) และนวัตกรรม (Innovation) ด้วยเครื่องมือ Foresight ที่สามารถช่วยองค์กรชั้นนำระดับโลกให้วางแผนการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
การนำเสนอเทคโนโลยีขั้นสูง (TechShare) ซึ่งได้รับการยอมรับและคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จนได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2562
บูธแสดงผลงานของนักเทคโนโลยีที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
 นางสาววรรณวีรา รัชฎาวงศ์  กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “นอกจากการร่วมแสดงความยินดีและเชิดชูเกียรติของนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่แล้ว เรายังเป็นอีกหนึ่งองค์กรหลักที่ช่วยผลักดันให้นักเทคโนโลยีลุกขึ้นมานำเสนอไอเดียและต่อยอดงานวิจัยให้สามารถวางสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้ 
เพราะเรามุ่งเน้นให้ความสำคัญและสร้างประโยชน์อันเกิดจากความร่วมมือและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Tech Transfer) จากหน่วยงานวิจัยไปสู่ภาคธุรกิจ อีกทั้งเป็นพื้นที่เชื่อมโยง (Network Platform) ระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษาอีกด้วย”
โดยภายในงาน สมาคมฯ โดยกลุ่มบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Innovation Management Group: TMA-TIMG) เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำระดับโลก มาร่วมแบ่งปันแนวคิด ประสบการณ์การพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยทางด้าน STI ให้สามารถตอบสนองความต้องการของโลกธุรกิจ ถ่ายทอดกรณีศึกษาการทำงานอย่างเชื่อมโยงจากหลายภาคส่วน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ค้นหางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันทางธุรกิจ
 “กลุ่มเป้าหมายหลักที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา ที่เห็นความสำคัญของการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในองค์กร  รวมทั้งบุคลากรที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนกลุ่มสตาร์ทอัพ (Startups) รวมถึงผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะสามารถช่วยต่อยอดไอเดียจากห้องทดลองสู่ความสำเร็จเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง”  นางสาววรรณวีรากล่าวสรุปทิ้งท้าย
Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก