“เทศกาลลอยกระทง” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ บูรณาการร่วมกับ อำเภอประโคนชัย อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้มาก กำหนดจัดโครงการสืบสานประเพณีลอยกระทง “บารายศรัทธา สมมาสายน้ำ ปราสาทเมืองต่ำ น้อมนำบูชา” จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ บริเวณปราสาทหินเมืองต่ำ ตำบลจรเข้มาก อำเภอ ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
เพื่อส่งเสริมพื้นฟู สืบสาน อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามของชาวไทยให้คงอยู่สืบไป รวมทั้งสื่อสารความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่สายตาชาวต่างชาติ และสนับสนุนนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป
โดยงานครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจทั่วบริเวณปราสาทหินเมืองต่ำ โบราณสถานเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์ สะท้อนถึงศรัทธาความเชื่อความเคารพสักการะของพี่น้องชาวไทย และคนพื้นถิ่นอีสาน ที่มีต่อสายน้ำอย่างไม่เสื่อมคลาย ทำให้ประเพณีการลอยกระทงได้รับการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนปัจจุบัน โดยมีนางเอกสาวสวยหน้าหวาน นาว-ทิสานาฏ ศรศึก ร่วมรำบวงสรวงสิ่งศักดิ์ภายในพิธีเปิดงาน
ชมการประกวด “นาคะเทวี ศรีเมืองต่ำ” การประกวดสาวงามที่มีความเป็นเอกลักษณ์คือ เป็นการประกวดนางนพมาศหน้าปราสาทหินที่เดียว และที่แรกในประเทศไทย คัดสาวงามตามแบบฉบับเบญจกัลยาณี คือ สตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม ๕ ประการ คือ ผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม ชิงเงินรางวัล ถ้วยเกียรติยศ พร้อมสายสะพาน โดยมี นิโคลีน-พิชาภา ลิมศนุกาญจน์ มิสไทยแลนด์เวิลด์ ๒๕๖๑ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด
พบกับการแสดง แสง สี เสียง ในชุดการแสดง “บารายศรัทธา สมมาสายน้ำ ปราสาทเมืองต่ำ น้อมนำบูชา” ตามคติความเชื่อของคนไทย และคนพื้นถิ่นอีสาน นาค ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกสวรรค์และโลกมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน ผู้คนที่มีถิ่นอาศัยในแถบนี้จึงสักการะบูชาและศรัทธา พญานาคเทพเจ้าแห่งสายน้ำ ผู้นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่แดนดินแห่งนี้ โดยกิจกรรมการแสดง แสง สี เสียง จะมีขึ้นทั้ง ๒ วัน (๑๐-๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒) บริเวณปราสาทเมืองต่ำ โบราณสถานเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์ ซึ่งคำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิมแต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขาที่ เป็นสำคัญ เป็นปราสาทที่มีสระน้ำล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน เปรียบประดุจมหาสมุทรทั้ง ๔ ด้านของเขาพระสุเมรุ ได้แก่
ปิตสาคร ทางทิศเหนือ มีน้ำสีเหลือง
ผลิกสาคร ทางทิศตะวันตก มีน้ำใสสะอาด เหมือนแก้วผลึกมรกต
ขีรสาครเกษียรสมุทร ทางทิศตะวันออก มีน้ำสีขาว
นิลสาคร ทางทิศใต้ มีน้ำสีน้ำเงินอมม่วง
มีนาคล้อมสระน้ำทั้ง ๔ ทิศ จึงเปรียบประดุจเป็นผู้ธำรงรักษาโบราณสถานแห่งนี้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังจวบจนปัจจุบันและตราบนานเท่านาน
สำหรับประเพณีลอยกระทงมีมายาวนานตั้งแต่สมัยอดีตกาล มีประเพณีหนึ่งที่ถือเป็นต้นกำเนิด นั่นคือ พระราชพิธีจองเปรียง ในราชสำนักกษัตริย์ผู้ปกครองทรงมีพระราชดำริให้จัดทำโคมพระประทีป เพื่อบูชาเทพเจ้าทั้ง ๓ ของฮินดู ดังที่ปรากฏชัดเจนในพระราชนิพนธ์พระราชพิธี ๑๒ เดือน ตอนพระราชพิธีจองเปรียง “การที่ยกโคมขึ้นนั้นตามโบราณกล่าวว่ายกขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสามคือพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนาก็กล่าวว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์พิภพ
กาลต่อมาในสมัยสุโขทัยราชธานี ก่อเกิดตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้า แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ประดิษฐ์กระทงรูปดอกกระมุทหรือดอกบัวซึ่งประดับด้วยประทีปที่ทาด้วยเปรียงถวายพระร่วงเจ้าเพื่อทรงลอย จึงเป็นที่มาของต้นกำเนิดการลอยกระทง
จวบจนปัจจุบัน มนษุย์ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค มากมายทั้งการดำรงชีวิตและการเกษตร มนุษย์จึงผูกพันธ์ กับสายน้ำ เมื่อถึงเทศกาลลอยกระทง ต่างตั้งอกตั้งใจทำกระทงลอยเพื่อเป็นพุทธบูชา และขอขมาพระแม่คงคา ที่ได้อาศัยดื่มกินและดำรงชีวิตอยู่นั่นเอง"
ภายในงานนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย ได้แก่ การประดับประดาไฟแสงสีสวยงาม, การแสดงแสง สี เสียง, พิธีกรรม การบูชาและพิธีสมาน้ำ ทักษิณาวัตรเพื่อขอขมาน้ำ ปราสาทเมืองต่ำ น้อมนำบูชา, การแสดงศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นพื้นบ้าน, สาธิตการทำกระทง, การประกวดกระทง, ชมการแสดง สาธิต และจำหน่ายสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม, ทำบุญตักบาตร ณ บริเวณถนนด้านหน้าปราสาทเมืองต่ำ, การแสดงดนตรีพื้นบ้าน, ชม ชิม ช้อป แชะ แชร์ ตลาดอารยธรรมขอมโบราณ, การแสดงกันตรึม และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสื่อและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมสืบสานประเพณี การแต่งกายผ้าไทย ในเทศกาลลอยกระทง “บารายศรัทธา สมมาสายน้ำ ปราสาทเมืองต่ำ น้อมนำบูชา” จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ บริเวณปราสาทหินเมืองต่ำ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และสามารถติดตามรายละเอียดงานได้ที่ แฟนเพจ ลอยกระทงบารายพันปี ปราสาทเมืองต่ำ
เพื่อส่งเสริมพื้นฟู สืบสาน อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามของชาวไทยให้คงอยู่สืบไป รวมทั้งสื่อสารความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่สายตาชาวต่างชาติ และสนับสนุนนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป
โดยงานครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจทั่วบริเวณปราสาทหินเมืองต่ำ โบราณสถานเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์ สะท้อนถึงศรัทธาความเชื่อความเคารพสักการะของพี่น้องชาวไทย และคนพื้นถิ่นอีสาน ที่มีต่อสายน้ำอย่างไม่เสื่อมคลาย ทำให้ประเพณีการลอยกระทงได้รับการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนปัจจุบัน โดยมีนางเอกสาวสวยหน้าหวาน นาว-ทิสานาฏ ศรศึก ร่วมรำบวงสรวงสิ่งศักดิ์ภายในพิธีเปิดงาน
ชมการประกวด “นาคะเทวี ศรีเมืองต่ำ” การประกวดสาวงามที่มีความเป็นเอกลักษณ์คือ เป็นการประกวดนางนพมาศหน้าปราสาทหินที่เดียว และที่แรกในประเทศไทย คัดสาวงามตามแบบฉบับเบญจกัลยาณี คือ สตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม ๕ ประการ คือ ผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม ชิงเงินรางวัล ถ้วยเกียรติยศ พร้อมสายสะพาน โดยมี นิโคลีน-พิชาภา ลิมศนุกาญจน์ มิสไทยแลนด์เวิลด์ ๒๕๖๑ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด
พบกับการแสดง แสง สี เสียง ในชุดการแสดง “บารายศรัทธา สมมาสายน้ำ ปราสาทเมืองต่ำ น้อมนำบูชา” ตามคติความเชื่อของคนไทย และคนพื้นถิ่นอีสาน นาค ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกสวรรค์และโลกมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน ผู้คนที่มีถิ่นอาศัยในแถบนี้จึงสักการะบูชาและศรัทธา พญานาคเทพเจ้าแห่งสายน้ำ ผู้นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่แดนดินแห่งนี้ โดยกิจกรรมการแสดง แสง สี เสียง จะมีขึ้นทั้ง ๒ วัน (๑๐-๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒) บริเวณปราสาทเมืองต่ำ โบราณสถานเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์ ซึ่งคำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิมแต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขาที่ เป็นสำคัญ เป็นปราสาทที่มีสระน้ำล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน เปรียบประดุจมหาสมุทรทั้ง ๔ ด้านของเขาพระสุเมรุ ได้แก่
ปิตสาคร ทางทิศเหนือ มีน้ำสีเหลือง
ผลิกสาคร ทางทิศตะวันตก มีน้ำใสสะอาด เหมือนแก้วผลึกมรกต
ขีรสาครเกษียรสมุทร ทางทิศตะวันออก มีน้ำสีขาว
นิลสาคร ทางทิศใต้ มีน้ำสีน้ำเงินอมม่วง
มีนาคล้อมสระน้ำทั้ง ๔ ทิศ จึงเปรียบประดุจเป็นผู้ธำรงรักษาโบราณสถานแห่งนี้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังจวบจนปัจจุบันและตราบนานเท่านาน
สำหรับประเพณีลอยกระทงมีมายาวนานตั้งแต่สมัยอดีตกาล มีประเพณีหนึ่งที่ถือเป็นต้นกำเนิด นั่นคือ พระราชพิธีจองเปรียง ในราชสำนักกษัตริย์ผู้ปกครองทรงมีพระราชดำริให้จัดทำโคมพระประทีป เพื่อบูชาเทพเจ้าทั้ง ๓ ของฮินดู ดังที่ปรากฏชัดเจนในพระราชนิพนธ์พระราชพิธี ๑๒ เดือน ตอนพระราชพิธีจองเปรียง “การที่ยกโคมขึ้นนั้นตามโบราณกล่าวว่ายกขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสามคือพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนาก็กล่าวว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์พิภพ
กาลต่อมาในสมัยสุโขทัยราชธานี ก่อเกิดตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้า แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ประดิษฐ์กระทงรูปดอกกระมุทหรือดอกบัวซึ่งประดับด้วยประทีปที่ทาด้วยเปรียงถวายพระร่วงเจ้าเพื่อทรงลอย จึงเป็นที่มาของต้นกำเนิดการลอยกระทง
จวบจนปัจจุบัน มนษุย์ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค มากมายทั้งการดำรงชีวิตและการเกษตร มนุษย์จึงผูกพันธ์ กับสายน้ำ เมื่อถึงเทศกาลลอยกระทง ต่างตั้งอกตั้งใจทำกระทงลอยเพื่อเป็นพุทธบูชา และขอขมาพระแม่คงคา ที่ได้อาศัยดื่มกินและดำรงชีวิตอยู่นั่นเอง"
ภายในงานนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย ได้แก่ การประดับประดาไฟแสงสีสวยงาม, การแสดงแสง สี เสียง, พิธีกรรม การบูชาและพิธีสมาน้ำ ทักษิณาวัตรเพื่อขอขมาน้ำ ปราสาทเมืองต่ำ น้อมนำบูชา, การแสดงศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นพื้นบ้าน, สาธิตการทำกระทง, การประกวดกระทง, ชมการแสดง สาธิต และจำหน่ายสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม, ทำบุญตักบาตร ณ บริเวณถนนด้านหน้าปราสาทเมืองต่ำ, การแสดงดนตรีพื้นบ้าน, ชม ชิม ช้อป แชะ แชร์ ตลาดอารยธรรมขอมโบราณ, การแสดงกันตรึม และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสื่อและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมสืบสานประเพณี การแต่งกายผ้าไทย ในเทศกาลลอยกระทง “บารายศรัทธา สมมาสายน้ำ ปราสาทเมืองต่ำ น้อมนำบูชา” จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ บริเวณปราสาทหินเมืองต่ำ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และสามารถติดตามรายละเอียดงานได้ที่ แฟนเพจ ลอยกระทงบารายพันปี ปราสาทเมืองต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น