วันนี้ (17 พ.ย. 2562) Insight Out Story
มาปักหมุด ชิมเมนู กาแฟหวานน้อยกัน
" โครงการสิงห์บุรีอ่อนหวาน"
หวานน้อยสั่งได้อร่อยด้วย
หวานน้อยสั่งได้อร่อยด้วย
ร้านกาแฟในสิงห์บุรีประกาศเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 10 แห่ง และมีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของผู้บริโภค เพราะส่วนใหญ่เมื่อเข้าร้านกาแฟมักจะสั่งหวานน้อย และทางสำนักงานสาธารณสุข และกรมอนามัยจัดเยี่ยมชมร้าน และมอบกระเช้า ป้ายร้านในเครือข่าย โดยวันนี้เราไป ปักหมุดกัน 4 ร้าน ใน “โครงการร้านกาแฟหวานน้อยสั่งได้” กันค่ะ
เริ่มต้นร้านแรก
ร้านสิงห์กาแฟ
ร้านกาแฟหวานน้อยรุ่นแรกที่ยังยึดมั่นในความตั้งใจที่จะให้ลูกค้าสุขภาพดี ทางร้านจะมีป้ายอธิบายให้ความรู้และเชิญชวนลูกค้าให้ลดความหวานจากเครื่องดื่มให้ลดลง กว่าแต่ก่อนและยิ่งถ้าลูกค้าได้เห็นป้ายก็คงจะได้มีความเข้าใจและได้พูดคุยซักถามกันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะทางร้านเองก็สนับสนุนเรื่องของการรักสุขภาพอยู่แล้ว
#จากเมนูหวานน้อยสั่งได้
ร้าน ชาพยอม
ร้านน้องใหม่ที่อยากมีส่วนร่วมในการรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาล เพื่อป้องกันโรคต่างๆ และสุขภาพที่ดีของลูกค้า
ร้านกาแฟหวานน้อย
ณ บ้านควายอาร์ต
#เสฟศิลป์กินกาแฟ
#ลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน
ส่วนเรื่องการเข้าร่วม “โครงการร้านกาแฟหวานน้อยสั่งได้” เมื่อได้รับการชักชวนสนใจและตอบรับทั้งนี้อยากให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดีด้วย ร้าน Billion
ร้านที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการร้านกาแฟหวานน้อยสั่งได้ มาก่อน เปิดเผยว่า หลังจากทราบว่ามีโครงการนี้ก็รีบตอบรับการเข้าร่วมโครงการทันที เพราะอยากร่วมรณรงค์กับโครงการนี้ด้วย และร้านสุดท้ายร้านกาแฟรีแลกซ์รูม
และมีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณสุธาทิพย์ จันสถาพร เจ้าของร้านกาแฟ Relax Room เล่าว่า เปิดร้านกาแฟมาหลายปีแล้ว และความตั้งใจคือ อยากเปิดร้านกาแฟแบบไม่ทำลายสุขภาพ จึงได้คิดเมนูกาแฟน้ำมะพร้าวขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องรับความหวานจากน้ำตาล แต่เป็นความหวานจากน้ำมะพร้าว เพราะ เป็นความหวานจากธรรมชาติ และใช้มะพร้าวหนึ่งลูกต่อกาแฟหนึ่งแก้วเลย ซึ่งโดยสรรพคุณของน้ำมะพร้าวก็มีประโยชน์อยู่แล้ว เมื่อนำมามิกกับกาแฟ เมื่อลูกค้าได้ชิมก็ติดใจจึงเป็นเมนูที่ลูกค้ามาที่ร้านแล้วต้องไม่พลาด
ส่วนเรื่องการเข้าร่วม “โครงการร้านกาแฟหวานน้อยสั่งได้” เมื่อได้รับการชักชวนก็ตอบรับทันทีเพราะร้านกาแฟที่เปิดมานี้ก็เพื่อให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดีด้วย ซึ่งนอกจากเมนูดังที่ลูกค้าต้องลองแล้ว เมื่อลูกค้าเข้ามาก็จะมีอีกหลายเมนูเพื่อสุขภาพที่ใส่หวานน้อย
โดยจะมีการแนะนำให้ลูกค้าทราบด้วย พร้อมกับมีแผ่นป้ายระดับความหวานของน้ำตาลให้ลูกค้าได้ดู แต่ส่วนใหญ่ลูกค้าและมาอีกจะกลายเป็นลูกค้าประจำก็จะเข้าใจทันทีว่า ที่ร้านนี้เป็นร้านกาแฟอ่อนหวาน ถ้าอยากดื่มกาแฟแล้วสุขภาพดีก็มาที่ร้านได้
หลังจากนั้น รับฟังแนวคิดจาก ทต.สุธา เจียรมณีโชติชัย อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย และที่ปรึกษาเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ในการสร้างสภาพแวดล้อมลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน และทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ประธานเครือข่าวเด็กไทยไม่กินหวาน ให้พูดคุยให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับโครงการนี้
โดยทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย และที่ปรึกษาเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เปิดเผยว่า ปัญหาด้านสุขภาพที่มาจากโรค NCDs ในปัจจุบันส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการทานหวานจัด จนส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาและปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทานหวานกันมาก็มาจากอาหารสตีทฟู้ด และ กาแฟพร้อมชงดื่มเอง ซึ่งปัจจุบันมีร้านกาแฟเกิดขึ้นจำนวนมาก และผู้ที่เข้าไปซื้อเครื่องดื่มทานก็ชอบรสหวาน จนนำพามาสู่โรคต่างๆ ตามมา
สิ่งที่ทางหน่วยงานพยายามทำคือ เข้าไปโน้มน้าวหรือชักชวนกลุ่มร้านกาแฟเหล่านี้ให้เข้าใจและทราบถึงพิษภัยของการทานหวานจัด ด้วยการให้ลดความหวานลงจากที่เคยชงประมาณ 25-50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นปริมาณที่ลูกค้ารับได้ เพราะจะให้ลดลงแต่ขายไม่ได้ก็คงไม่ใช่
“เป็นการชักชวนและชี้ให้เห็นว่าการให้ลูกค้าได้ทานกาแฟอ่อนหวานนั้นดีต่อสุขภาพของผู้ดื่ม ดีที่ช่วยทำให้ต้นทุนในการใช้น้ำตาลลดลง ซึ่งดีทั้งคนขายและคนซื้อและช่วยทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้ดีขึ้นด้วย เราพยายามแก้ไขที่ต้นน้ำซึ่งก็คือผู้ผลิต แต่ก็เป็นผู้ผลิตรายย่อย เช่น จังหวัดสิงห์บุรี เป็นต้น สำหรับชักชวนผู้ผลิตกาแฟแบรนด์ใหญ่ก็พยายามดำเนินการอยู่ ถ้าได้เข้ามาเข้าโครงการด้วยก็น่าจะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพดีขึ้นมากกว่านี้ไปอีก” ทพ.สุธา กล่าว
ทางด้าน ทพญ.วังจันทร์ กิตติภาดากุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี หัวหน้ากลุ่มงานทันตสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันกระแสคนชอบดื่มกาแฟมีสูงมาก ร้านกาแฟก็มีทั่วทุกพื้นที่ เราจึงไปชักชวนขอความร่วมมือให้ร้านกาแฟและเครื่องดื่มเข้าร่วมโครงการ “ร้านกาแฟ/น้ำผลไม้ อ่อนหวาน” ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการรณรงค์ของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน โดยให้ร้านกาแฟและเครื่องดื่มมีเมนูทางเลือกเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งสามารถปรับสูตรลดน้ำตาลในเครื่องดื่ม กาแฟ ให้ลูกค้าได้มีสิทธิ์เลือกมากขึ้น ปัจจุบัน จ.สิงห์บุรี มี 16 ร้านที่เข้าร่วมโครงการ
ร้านที่เข้าร่วมโครงการจะมีป้ายประชาสัมพันธ์หน้าเคาน์เตอร์ร้าน เพื่อให้ความรู้กับลูกค้าถึงผลเสียของการรับประทานหวานมากเกินไป รวมถึงป้าย “หวานน้อย สั่งได้ อร่อยด้วย” ซึ่งเป็นป้ายบอกเปอร์เซ็นต์ระดับความหวานตั้งแต่ 100-75-50-25 และ 0 หรือ 5-4-3-2-1 ตามลำดับ เพื่อให้ง่ายต่อการสั่งความหวานในเครื่องดื่มนั้นๆ
โดยเราได้ไปวัดค่ากาแฟหวานน้อย กับร้านที่เราไปปักหมุดกัน โดยเมนูหวานทั่วไป ค่าของการวัดจะอยู่ที่ระดับ 10 เมนูที่ร่วมรายการหวานน้อย เมื่อวัดแล้ว ค่าความหวาน จะอยู่ในระดับที่ 5-6 เท่านั้นค่ะ
“ลูกค้าสามารถสั่งเมนูอะไรก็ได้ ไม่ได้ห้ามไม่ให้ทานหวาน แต่ให้หวานน้อยลงจะหวาน 75% หรือ 50% ก็ได้ อย่างน้อยให้ลูกค้าเข้าใจแนวคิดและตระหนักการไม่ทานหวาน ขณะเดียวกันร้านก็ไม่เสียฐานลูกค้าอะไร เพราะยังมีเมนูเดิมอยู่ ความหวานยังมีอยู่ เพียงแต่สามารถทำหวานน้อยลงให้ลูกค้าได้เท่านั้น” ทพญ.วังจันทร์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น