เริ่มเปิดงานการประชุมระดับอาเซียนแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุอาเซียน ครั้งที่ 19 (The 19th ASEAN Senior Officials Meeting on Minerals: The 19th ASOMM) เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียน มุ่งพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง 4 ด้าน ทั้งข้อมูล บุคลากร การพัฒนาแร่อย่างยั่งยืน และการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปี 2562 นี้ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุอาเซียน ครั้งที่ 19 (The 19th ASEAN Senior Officials Meeting on Minerals: The 19th ASOMM) โดยสาระสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ จะร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมาของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียน ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559 – 2568) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2559 – 2563) หรือ ASEAN Minerals Cooperation Action Plan III (2016-2025) Phase I (2016-2020): AMCAP III PHASE I รวมทั้งร่วมหารือถึงปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินงาน ตลอดจนพิจารณาผลความร่วมมือทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาฐานข้อมูลด้านแร่ (Facilitating and Enhancing Trade and Investment in Mineral)
2) การพัฒนาด้านแร่อย่างยั่งยืน (Promoting Environmentally and Socially Sustainable Mineral Development)
3) การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาด้านแร่ (Strengthening Institutional and Human Capacities in the ASEAN Minerals Sector)
4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนด้านแร่ (Maintaining Efficient and Up-To-Date ASEAN Minerals Database, including its infrastructure towards achieving AEC integration in the minerals sector)
นอกจากนี้ความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียนของกลุ่มประเทศอาเซียนดังกล่าว ยังได้รับความร่วมมือจากสหพันธ์สมาคมเหมืองแร่แห่งอาเซียน (ASEAN Federation of Mining Association: AFMA) คณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ (Coordinating Committee of Geoscience Programmes in East and Southeast Asia: CCOP) และองค์กรผู้แทนรัฐบาลนานาชาติด้านเหมืองแร่ แร่ ธาตุ โลหะ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Intergovernmental Forum on Mining, Minerals, Metals and Sustainable Development: IGF) โดยได้หารือแนวทางความร่วมมือกันในอนาคต ซึ่งผลสำเร็จของการประชุมในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน
ทั้งนี้ ผลสำเร็จจากความร่วมมือดังกล่าวจะสร้างให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน ทั้งสร้างให้เกิดฐานข้อมูลแร่อาเซียนและระบบสารสนเทศ (ASEAN Mineral Database and Information System: AMDIS) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาของภาคแร่ธาตุของประเทศสมาชิกอาเซียน สร้างให้เกิดการ มีส่วนร่วมในการสร้างงาน และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำให้เกิดการเพิ่มการค้าการลงทุนในภาคแร่ธาตุ
เพื่อสนับสนุนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นอกจากนี้ ยังสร้างให้เกิดกองทุนด้านแร่ธาตุอาเซียน หรือ ASEAN Mineral Trust Fund ซึ่งเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินงานแผนงานโครงการและกิจกรรมความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน ได้แก่ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลแร่ การค้าและการลงทุนด้านแร่ การพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน และการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรด้านแร่ของประเทศสมาชิก ตลอดจนการดำเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียน ซึ่งเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ตั้งแต่การรับทราบข้อมูลด้านแร่ระหว่างกัน การพัฒนาการค้าและการลงทุนเหมืองแร่ระหว่างกัน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการผลิตแร่ การใช้ประโยชน์แร่ และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการแร่
“ผลจากความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านแร่ธาตุอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้ร่วมกันดำเนินการตามแผนงานมาเป็นระยะที่ 3 แล้ว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนภูมิภาคของเราตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียนต่อไป เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ พัฒนาทรัพยากรแร่ธาตุอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน” นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปี 2562 นี้ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุอาเซียน ครั้งที่ 19 (The 19th ASEAN Senior Officials Meeting on Minerals: The 19th ASOMM) โดยสาระสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ จะร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมาของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียน ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559 – 2568) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2559 – 2563) หรือ ASEAN Minerals Cooperation Action Plan III (2016-2025) Phase I (2016-2020): AMCAP III PHASE I รวมทั้งร่วมหารือถึงปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินงาน ตลอดจนพิจารณาผลความร่วมมือทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาฐานข้อมูลด้านแร่ (Facilitating and Enhancing Trade and Investment in Mineral)
2) การพัฒนาด้านแร่อย่างยั่งยืน (Promoting Environmentally and Socially Sustainable Mineral Development)
3) การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาด้านแร่ (Strengthening Institutional and Human Capacities in the ASEAN Minerals Sector)
4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนด้านแร่ (Maintaining Efficient and Up-To-Date ASEAN Minerals Database, including its infrastructure towards achieving AEC integration in the minerals sector)
นอกจากนี้ความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียนของกลุ่มประเทศอาเซียนดังกล่าว ยังได้รับความร่วมมือจากสหพันธ์สมาคมเหมืองแร่แห่งอาเซียน (ASEAN Federation of Mining Association: AFMA) คณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ (Coordinating Committee of Geoscience Programmes in East and Southeast Asia: CCOP) และองค์กรผู้แทนรัฐบาลนานาชาติด้านเหมืองแร่ แร่ ธาตุ โลหะ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Intergovernmental Forum on Mining, Minerals, Metals and Sustainable Development: IGF) โดยได้หารือแนวทางความร่วมมือกันในอนาคต ซึ่งผลสำเร็จของการประชุมในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน
ทั้งนี้ ผลสำเร็จจากความร่วมมือดังกล่าวจะสร้างให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน ทั้งสร้างให้เกิดฐานข้อมูลแร่อาเซียนและระบบสารสนเทศ (ASEAN Mineral Database and Information System: AMDIS) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาของภาคแร่ธาตุของประเทศสมาชิกอาเซียน สร้างให้เกิดการ มีส่วนร่วมในการสร้างงาน และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำให้เกิดการเพิ่มการค้าการลงทุนในภาคแร่ธาตุ
เพื่อสนับสนุนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นอกจากนี้ ยังสร้างให้เกิดกองทุนด้านแร่ธาตุอาเซียน หรือ ASEAN Mineral Trust Fund ซึ่งเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินงานแผนงานโครงการและกิจกรรมความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน ได้แก่ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลแร่ การค้าและการลงทุนด้านแร่ การพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน และการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรด้านแร่ของประเทศสมาชิก ตลอดจนการดำเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียน ซึ่งเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ตั้งแต่การรับทราบข้อมูลด้านแร่ระหว่างกัน การพัฒนาการค้าและการลงทุนเหมืองแร่ระหว่างกัน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการผลิตแร่ การใช้ประโยชน์แร่ และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการแร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น