การพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวสู่ “ประเทศไทย 4.0” นั้น การมุ่งพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนากำลังคนอย่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จึงได้ร่วมมือกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านมาตรวิทยาอย่าง สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ในการนำระบบมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นมาตรฐานในการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบใน สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา โดยมาตรวิทยาและบทบาทของศาสตร์ในสาขานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขยายองค์ความรู้ด้านมาตรวิทยาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
ซึ่งขยายขอบข่ายจากมาตรวิทยาฟิสิกส์ไปครอบคลุมมาตรวิทยาเคมีชีวภาพ และด้านสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญและจำเป็นขั้นพื้นฐานในการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของประเทศในกลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี
นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารคุณวุฒิวิชาชีพ 3 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
(องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา ระยะที่ 3 นั้นถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาระบบคุณภาพของประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จะเห็นว่างานด้านการสอบเทียบมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและความชำนาญในสาขานั้นๆ ซึ่งประเทศที่มีการพัฒนางานทางด้านมาตรวิทยาให้มีความแข็งแรง จะเป็นฟันเฟืองที่ช่วยผลักดันให้ประเทศพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
รศ.ดร.มังกร โรจน์ประภากร ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา ระยะที่ 3 จัดทำขึ้นจำนวน 3 สาขาอาชีพ ได้แก่ อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ, อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรง และอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ทั้งนี้การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนี้ เพื่อสนับสนุนมาตรฐานอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ อาทิ ด้านยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์, โลหะและเครื่องจักร, อาหารและยา, ยางและพลาสติก ฯลฯ
ให้มีคู่มือสำหรับสร้างมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพและฝีมือแรงงาน สร้างโอกาสก้าวหน้าในสายงานของตนเอง สร้างความยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ประกอบอาชีพ ได้บุคลากรที่มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ลดภาระการฝึกอบรมพนักงาน ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ และสามารถจัดทำหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ซึ่งขยายขอบข่ายจากมาตรวิทยาฟิสิกส์ไปครอบคลุมมาตรวิทยาเคมีชีวภาพ และด้านสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญและจำเป็นขั้นพื้นฐานในการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของประเทศในกลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี
นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารคุณวุฒิวิชาชีพ 3 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
(องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา ระยะที่ 3 นั้นถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาระบบคุณภาพของประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จะเห็นว่างานด้านการสอบเทียบมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและความชำนาญในสาขานั้นๆ ซึ่งประเทศที่มีการพัฒนางานทางด้านมาตรวิทยาให้มีความแข็งแรง จะเป็นฟันเฟืองที่ช่วยผลักดันให้ประเทศพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
รศ.ดร.มังกร โรจน์ประภากร ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา ระยะที่ 3 จัดทำขึ้นจำนวน 3 สาขาอาชีพ ได้แก่ อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ, อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรง และอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ทั้งนี้การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนี้ เพื่อสนับสนุนมาตรฐานอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ อาทิ ด้านยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์, โลหะและเครื่องจักร, อาหารและยา, ยางและพลาสติก ฯลฯ
ให้มีคู่มือสำหรับสร้างมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพและฝีมือแรงงาน สร้างโอกาสก้าวหน้าในสายงานของตนเอง สร้างความยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ประกอบอาชีพ ได้บุคลากรที่มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ลดภาระการฝึกอบรมพนักงาน ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ และสามารถจัดทำหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น