ผ่านพ้นไปอย่างยิ่งใหญ่และสุดประทับใจ กับ งาน “Thailand Halal Assembly 2019” การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ ปีที่ 6 จัดโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ซึ่งในปีนี้จัดภายใต้แนวคิด Algorithmic Touch of Halal เป็นกระบวนการสร้างรูปแบบการพัฒนาฮาลาลอย่างเป็นระบบรอบครอบที่จะนำไปสู่การสร้าง halal blockchain และการจับคู่ธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ โดยเงินสะพัดตลอดงานกว่า 2 ล้าน 6 แสนบาท
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน Thailand Halal Assembly 2019 กล่าวว่า นับว่าเป็นความสำเร็จสุดยิ่งใหญ่ กับงานฮาลาลที่ถูกกล่าวขวัญว่าเป็นงานฮาลาลที่ดีและยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นงานฮาลาลที่ชาวมุสลิมด้านกิจการฮาลาลทั่วโลกตั้งตารอ กับ การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ “Thailand Halal Assembly” หรือ THA ซึ่งจัดโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย โดยปีนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 สำหรับงาน “Thailand Halal Assembly 2019” การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ ภายใต้แนวคิด Algorithmic Touch of Halal เป็นกระบวนการสร้างรูปแบบการพัฒนาฮาลาลอย่างเป็นระบบรอบครอบที่จะนำไปสู่การสร้าง Halal Blockchain และการจับคู่ธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) กรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งยังได้อดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ศักยภาพฮาลาลประเทศไทย”
ซึ่งเราคาดหวังว่าการจัดงาน THA ในปีนี้ จะบ่งบอกให้ประชาคมโลกให้ได้รับรู้ว่าการดำเนินการธุรกิจ สร้างฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งนั้นต้องการเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ คิดไตร่ตรองอย่างรอบครอบ โดยประเทศไทยเราได้นำเสนอแนวคิด Halal Blockchain เป็นประเทศแรกของโลก ซึ่งต่อไปจะถือเป็นต้นแบบให้กับการประเทศอื่นๆ ทั้งประเทศที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม เฉกเช่นที่เราเคยเป็นต้นแบบด้าน “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” จนทั่วโลกให้การยอมรับมาแล้ว ภายใน THA 2019 ประกอบด้วยงานประชุมวิชาการนานาชาติ HASIB ครั้งที่ 12, งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล ซึ่งมีวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานจากต่างชาติ กว่า 300 คน จาก 35 ประเทศทั่วโลก ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือว่ามีการนำเสนอผลงานวิจัยเยอะที่สุดตั้งแต่เคยจัดงานมา จำนวนทั้งสิ้น 65 ผลงาน จาก 6 ประเทศ และยังมี การสร้างเครือข่ายการรับรองฮาลาล ประเทศไทย, การประชุมประชาพิจารณ์มาตรฐานฮาลาล, การประชาพิจารณ์ยกร่างมาตรฐานฮาลาล เรื่องมาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมุสลิม มีผู้เข้าร่วมกว่า 120 คน จาก 56 องค์กร ทั้งองค์กรศาสนา ภาครัฐ และภาคเอกชน และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจภิวัฒน์ จำนวนกว่า 30 ราย และอยู่ในระหว่างเจรจาซึ่งคาดว่าจะสำเร็จลุล่วงหลังจากการจัดงานครั้งนี้อีกว่านับ 100 ราย
และในปีนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ “Social Enterprise” หรือ กิจการเพื่อสังคม โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินงานด้านกิจการเพื่อสังคม ในการเริ่ม “โครงการ SMEs HERO in town” เพื่อพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ ให้ความรู้และเข้าไปให้คำปรึกษาเชิงลึกในการผลิตสินค้า หรือบริการฮาลาล รวมถึงการส่งเสริมการตลาด แก่ผู้ประกอบการกิจการขนาดเล็ก เพื่อหวังให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง จากการมีผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงและท้ายที่สุดสามารถส่งออกสินค้าไปยังนอกชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งดำเนินงานไปแล้ว 5 ชุนชนภายใต้ความร่วมมือจากอิหม่าม คอเต็บ และกรรมการประจำมัสยิด คือ มัสยิดอัลอิสตีกอมะห์, มัสยิดบางหลวง, มัสยิดดารุ้ลอะมาน เพชรบุรีซอย 7, มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน (บ้านสมเด็จ), มัสยิดนูรุ้ลหุดา (ตลาดมดตะนอย) และจะดำเนินงานต่อเนื่องให้ครบทั้ง 33 มัสยิดภายในปี 2563 นี้
ในส่วนของงาน Thailand International Halal Expo 2019 หรือ THIHEX 2019 งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลทั้งไทยและต่างชาติกว่า 313 บูท ทั้ง ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร, ผลิตภัณฑ์คอสเมติกส์, การท่องเที่ยว, โลจิสติกส์ และการเงินการธนาคาร และในปีนี้เรายังได้รวบรวม 33 มัสยิด เอาผลิตภัณฑ์ของชุมชนในมัสยิดมานำเสนอห้ผู้ร่วมงานได้ ชิม ช้อป ใช้กัน โดยตลอดการจัดงาน การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ “Thailand Halal Assembly 2019” นั้นมีผู้เข้าร่วมงานตลอดระยะเวลา 3 วัน กว่า 35,645 คน สามารถสร้างเงินสะพัดตลอดการจัดงานกว่า 2,609,409 บาท รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน Thailand Halal Assembly 2019 กล่าวว่า นับว่าเป็นความสำเร็จสุดยิ่งใหญ่ กับงานฮาลาลที่ถูกกล่าวขวัญว่าเป็นงานฮาลาลที่ดีและยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นงานฮาลาลที่ชาวมุสลิมด้านกิจการฮาลาลทั่วโลกตั้งตารอ กับ การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ “Thailand Halal Assembly” หรือ THA ซึ่งจัดโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย โดยปีนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 สำหรับงาน “Thailand Halal Assembly 2019” การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ ภายใต้แนวคิด Algorithmic Touch of Halal เป็นกระบวนการสร้างรูปแบบการพัฒนาฮาลาลอย่างเป็นระบบรอบครอบที่จะนำไปสู่การสร้าง Halal Blockchain และการจับคู่ธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) กรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งยังได้อดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ศักยภาพฮาลาลประเทศไทย”
ซึ่งเราคาดหวังว่าการจัดงาน THA ในปีนี้ จะบ่งบอกให้ประชาคมโลกให้ได้รับรู้ว่าการดำเนินการธุรกิจ สร้างฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งนั้นต้องการเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ คิดไตร่ตรองอย่างรอบครอบ โดยประเทศไทยเราได้นำเสนอแนวคิด Halal Blockchain เป็นประเทศแรกของโลก ซึ่งต่อไปจะถือเป็นต้นแบบให้กับการประเทศอื่นๆ ทั้งประเทศที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม เฉกเช่นที่เราเคยเป็นต้นแบบด้าน “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” จนทั่วโลกให้การยอมรับมาแล้ว ภายใน THA 2019 ประกอบด้วยงานประชุมวิชาการนานาชาติ HASIB ครั้งที่ 12, งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล ซึ่งมีวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานจากต่างชาติ กว่า 300 คน จาก 35 ประเทศทั่วโลก ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือว่ามีการนำเสนอผลงานวิจัยเยอะที่สุดตั้งแต่เคยจัดงานมา จำนวนทั้งสิ้น 65 ผลงาน จาก 6 ประเทศ และยังมี การสร้างเครือข่ายการรับรองฮาลาล ประเทศไทย, การประชุมประชาพิจารณ์มาตรฐานฮาลาล, การประชาพิจารณ์ยกร่างมาตรฐานฮาลาล เรื่องมาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมุสลิม มีผู้เข้าร่วมกว่า 120 คน จาก 56 องค์กร ทั้งองค์กรศาสนา ภาครัฐ และภาคเอกชน และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจภิวัฒน์ จำนวนกว่า 30 ราย และอยู่ในระหว่างเจรจาซึ่งคาดว่าจะสำเร็จลุล่วงหลังจากการจัดงานครั้งนี้อีกว่านับ 100 ราย
และในปีนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ “Social Enterprise” หรือ กิจการเพื่อสังคม โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินงานด้านกิจการเพื่อสังคม ในการเริ่ม “โครงการ SMEs HERO in town” เพื่อพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ ให้ความรู้และเข้าไปให้คำปรึกษาเชิงลึกในการผลิตสินค้า หรือบริการฮาลาล รวมถึงการส่งเสริมการตลาด แก่ผู้ประกอบการกิจการขนาดเล็ก เพื่อหวังให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง จากการมีผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงและท้ายที่สุดสามารถส่งออกสินค้าไปยังนอกชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งดำเนินงานไปแล้ว 5 ชุนชนภายใต้ความร่วมมือจากอิหม่าม คอเต็บ และกรรมการประจำมัสยิด คือ มัสยิดอัลอิสตีกอมะห์, มัสยิดบางหลวง, มัสยิดดารุ้ลอะมาน เพชรบุรีซอย 7, มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน (บ้านสมเด็จ), มัสยิดนูรุ้ลหุดา (ตลาดมดตะนอย) และจะดำเนินงานต่อเนื่องให้ครบทั้ง 33 มัสยิดภายในปี 2563 นี้
ในส่วนของงาน Thailand International Halal Expo 2019 หรือ THIHEX 2019 งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลทั้งไทยและต่างชาติกว่า 313 บูท ทั้ง ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร, ผลิตภัณฑ์คอสเมติกส์, การท่องเที่ยว, โลจิสติกส์ และการเงินการธนาคาร และในปีนี้เรายังได้รวบรวม 33 มัสยิด เอาผลิตภัณฑ์ของชุมชนในมัสยิดมานำเสนอห้ผู้ร่วมงานได้ ชิม ช้อป ใช้กัน โดยตลอดการจัดงาน การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ “Thailand Halal Assembly 2019” นั้นมีผู้เข้าร่วมงานตลอดระยะเวลา 3 วัน กว่า 35,645 คน สามารถสร้างเงินสะพัดตลอดการจัดงานกว่า 2,609,409 บาท รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น