นอกจากนี้ภายในงานจัดเสวนาในหัวข้อ “พลิกวิกฤตสู่โอกาส เตรียมความพร้อมไปจีน (หลังปลดล็อค COVID-19)” โดยประเด็นสำคัญภายในวงเสวนา
ดร.นิธิวดี จรรยาสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติจีน และหัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาจัดการธุรกิจระหว่างประเทศไทย มหาวิยาลัยกรุงเทพ ชี้ให้เห็นว่า แม้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธ์ 2019 หรือ โรค COVID-19 ส่งผลให้หลายมณฑลของประเทศจีนปิดให้มีการเดินทางเข้าออก แต่หากมองด้านการส่งออกพบว่ายังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยทางการจีนยังคงนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยในหลายผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พยาบาลผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องระยะเวลา และขั้นตอนที่ยุ่งยากมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทางการจีนเปลี่ยนแปลงการทำงานของพนักงานของทุกบริษัทให้ทำงานที่บ้านผ่านระบบออนไลน์
ขณะที่ MR. Liu Hua Lyu กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในฐานะหน่วยงานที่อยู่ในความดูแลของกรมศุลกากรของประเทศจีนว่า ทางการจีนคาดการณ์ว่าจะอนุญาตให้บริษัท หน่วยงานต่างๆ กลับมาทำงานในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ นั้นหมายความว่า การนำเข้าและการส่งออก หลังจากนี้ทยอยกลับมาดำเนินการได้
แต่อาจจะมีความเข้มงวดมากขึ้นในเรื่องของการตรวจมาตรฐานที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่จะเข้าไปขายในประเทศจีน ซึ่งที่ผ่านมาสินค้าทุกชนิดที่จะเข้าไปขายในประเทศจีนต้องผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดกฎหมายของจีน ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย หรือ หีบห่อบรรจุภัณฑ์ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด
ดังนั้นการเข้ามาร่วมทำความร่วมมือกับ เซ็นทรัลแล็บไทย และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้สินค้าไทยขยายตลาดเข้าไปขายในประเทศจีนได้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ ดร.วิสุทธิ์ วีระกุลพิริยะ ผู้อำนวยการศูนย์ตรวจประเมินมาตรฐานและรับรองระบบ
เซ็นทรัลแล็บไทย เชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบของไทยสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารสด เนื่องจากจะสามารถลดระยะเวลาการตรวจสอบที่ด้านตรวจของจีนหากผ่านการตรวจจากเซ็นทรัลแล็บไทยหลังจากนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น