การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีการติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก ก่อให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในสายงานการผลิตที่จำเป็นต้องใช้การควบคุมจากมนุษย์ เครื่องจักรกลเป็นพื้นฐานความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศต่างตระหนักถึงความจำเป็นในการยกระดับอุตสาหกรรมไปอีกขั้น โดยเครื่องจักรกลอัจฉริยะของไต้หวันที่ปราศจากการควบคุมดูแลโดยมนุษย์จึงมีบทบาทสำคัญในสถานการณ์นี้ ชื่อเสียงของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัจฉริยะไต้หวันเป็นที่ยอมรับจากอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก ในด้านเครื่องจักรกลที่มีความโดดเด่นทั้งคุณภาพ และการบริการในราคาเหนือกว่าคู่แข่ง อีกทั้ง ยังมีเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง และมีการผสมผสานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างกว้างขวาง
บริษัทต่างๆ ได้นำเสนอไอเดียใหม่ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Chin Fong หนึ่งในสี่ผู้ผลิตสื่ออัดเสียงชั้นนำของโลก เสนอแนวคิดใหม่กับเครื่องปั๊มชิ้นงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ดีขึ้น Grintimate เผยถึงการใช้เทคนิคอุทกสถิตเพื่อทำการผลิตเพลาขับรถยนต์ง่ายขึ้น FFG ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผลิตเครื่องมือเครื่องจักรสามอันดับแรกของโลก และเป็นผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องจักรรายใหญ่ที่สุดในไต้หวัน ได้เปิดตัวทางเลือกสำหรับการผลิตอัตโนมัติในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของสายการผลิต และทาง HIWIN ผู้มีส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับ 2 ในสาขาของกลุ่มผลิตภัณฑ์สายนำสัญญาณ ให้คำแนะนำเรื่องชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับอุปกรณ์เครื่องจักรอัตโนมัติให้มีความแม่นยำและความทนทานสูง
บริษัท Manford ได้นำเสนอโซลูชั่นด้วยเครื่องจักรกลประหยัดพลังงานตัวใหม่ที่จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และลดการใช้น้ำมันหล่อลื่นลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยังคงรักษาสมรรถภาพในการทำงานได้ดังเดิม ทาง Solomon แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีการมองเห็นแบบ 3 มิติ สามารถช่วยอุปกรณ์เครื่องจักรอัตโนมัติในการทำงานที่ซับซ้อน และงานประเภทหยิบยกชิ้นงาน (Pick-and-Place) ได้อย่างแม่นยำ She-Hong ผู้ผลิตศูนย์เครื่องจักรกลที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน ได้แนะนำตัวควบคุมอัจฉริยะ "Hartrol Premium" ซึ่งมีหน้าสัมผัสที่เป็นมิตร และใช้งานง่าย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจและจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ Tongtai นำเสนอโซลูชั่นที่แตกต่างสำหรับการผลิตอัจฉริยะ และแบ่งปันตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาช่วยลูกค้าสามารถสร้างสายงานการผลิตที่ยืดหยุ่น
นอกจากนี้ ไต้หวัน ยังเปิดตัว โครงการ ‘Taiwan Excellence Smart Machinery Virtual Pavilion’ เพื่อจัดแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลอัจฉริยะ Smart Machinery ร่วมทั้งหมด 60 รายการจาก 50 แบรนด์ที่ได้รับเลือกจากทาง Taiwan Excellence ซึ่งผู้ซื้อจะสามารถทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลอัจฉริยะได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยใช้เทคนิค VR ที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเสมือนจริงแบบไร้ข้อจำกัด
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยบริษัทที่ทำการศึกษาทางการตลาด 'Markets and Markets' เผยว่า ตลาดของการผลิตเครื่องจักรกลอัจฉริยะในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นจาก 214.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 384.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR - Compound Annual Growth Rate) ที่ 12.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกลุ่มบริษัทใน Taiwanese Smart Machinery จะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ยอดการเติบโตนี้เกิดขึ้นได้ในระยะยาว โดยการเพิ่มขีดความสามารถและแก้ปัญหาให้กับสายงานการผลิตทั่วโลก ซึ่งประเทศต่างๆ ต้องหันมาใช้เครื่องจักรกลอัจฉริยะในระบบการผลิตมากขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างราบรื่นแม้ในภาวะวิกฤต ซึ่งทั่วโลกได้ประจักษ์ถึงศักยภาพในอุตสาหกรรมผลิตของไต้หวัน จากภารกิจผลิตหน้ากากอนามัยรวม 92 สายการผลิตเสร็จสิ้นภายใน 40 วัน และยังเพิ่มการผลิตหน้ากากจาก 1.88 ล้านชิ้นเป็น 17 ล้านชิ้นต่อวัน ทำให้ไต้หวันกลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการผลิตของโลก
นายวอลเตอร์ เย ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน หรือ TAITRA กล่าวว่า การระบาดของไวรัส COVID-19 ในครั้งนี้ ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องจักรและการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาใหม่ๆ เราได้แสดงให้เห็นแล้วว่าบริษัทชั้นนำในไต้หวัน สามารถจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อมาสนับสนุนการผลิตเครื่องจักรในช่วงวิกฤตินี้ได้ โดยบริษัทเหล่านี้พร้อมที่จะเป็นผู้สนับสนุนที่ทั่วโลกวางใจ Taiwan Excellence พร้อมที่จะนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ จากไต้หวันให้กับทั่วโลกในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้
นายกวน จือ ลี ผู้บริหารระดับสูงของสำนักการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน หรือ MOEA กล่าวว่า เมื่อสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทั่วโลกเริ่มสงบลง การอุตสากรรมทั่วโลกจะเริ่มกลับมาดำเนินการเต็มรูปแบบอีกครั้ง และเศรษฐกิจก็จะเริ่มกลับมาคงที่ อุตสาหกรรมเหล่านี้ก็จะเริ่มมีความต้องการในการใช้เครื่องจักรอัจฉริยะเพื่อลดการสูญเสียกำลังการผลิต หากมีเหตุวิกฤติเช่นครั้งนี้ขึ้นอีกครั้ง ไต้หวันพร้อมจะเป็นแหล่งสำคัญในการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ยังอยู่ได้เมื่อวิกฤตการณ์ครั้งนี้จบลง
เกี่ยวกับโครงการ Taiwan Excellence
โครงการ The symbol of Taiwan Excellence ถูกจัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1992 โดยกระทรวงเศรษฐกิจของไต้หวัน การคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาร่วมงานนั้นขึ้นอยู่กับผลงานการค้นคว้าและวิจัย คุณภาพ การออกแบบ และการตลาด สินค้าที่ได้รับเลือกให้มาแสดงในงานและได้รับรางวัล Taiwan Excellence Awards จะได้รับเกียรติให้เป็นตัวอย่างในวงการอุตสาหกรรมไต้หวัน ทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลในการทำการค้ากับชาติอื่นๆ จากทั่วโลก เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจในไต้หวันอีกด้วย ในปีนี้นับเป็นปีที่ 26 ของโครงการ Taiwan Excellence ที่แบรนด์ต่างๆ จะได้รับการคัดเลือกมาแสดงผลงาน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.taiwanexcellence.org
เกี่ยวกับสำนักการค้าต่างประเทศ (BOFT), MOEA
สำนักการค้าต่างประเทศ หรือ BOFT เป็นสำนักงานที่อยู่ภายใต้การบริหารของ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) โดยมีหน้าที่ในการควบคุมกฎระเบียบและเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยนสินค้า ควบคุมเศรษฐกิจ และการลงทุนของต่างประเทศ สำนักงานถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1969 และหน้าที่หลักของสำนักงานคือการปรับเปลี่ยนสภาพเศรษฐกิจให้เอื้อต่อการทำการค้ากับทั่วโลกให้มากขึ้น นอกจากนี้ BOFT ยังได้ทำงานร่วมกับ สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน หรือ TAITRA ในหลายๆ โครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการในไต้หวันหรือโครงการนานาชาติ จากการทำงานร่วมกับ TAITRA มาตลอดหลายสิบปีทำให้ทั้งสององค์กรพร้อมที่จะจับมือกันในการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนของไต้หวันและนานาชาติต่อไป
เกี่ยวกับสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน (TAITRA)
สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน หรือ TAITRA เป็นองค์กรกึ่งเอกชนที่ไม่หวังผลกำไรที่ช่วยส่งเสริมการค้าของไต้หวัน สภาได้ถูกตัดตั้งขึ้นในปี 1970 เพื่อช่วยการค้ากับต่างชาติ สภาส่งเสริมการค้านี้ได้รับการสนับสนุนจากทั้งทางรัฐบาล องค์การอุตสาหกรรม และองค์การการค้าต่างๆ อีกมากมาย สภา TAITRA ได้สนับสนุนธุรกิจของไต้หวันให้มีความมั่นคงมากขึ้น ทั้งยังช่วยส่งเสริมการค้าต่างประเทศให้กลุ่มธุรกิจไต้หวันสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกได้ นอกจากนี้ สภายังได้มีการโปรโมตและสร้าเครือข่ายธุรกิจโดยฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,200 คนที่ทำงานอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงไทเป และในสำนักงานอื่นๆ อีกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก นอกจากสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน หรือ TAITRA แล้วยังมีองค์กรพันธมิตรอื่นๆ เช่น Taiwan trade Center (TTC) และ Taipei World Trade Center (TWTC) ที่สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน หรือ TAITRA ได้ร่วมงานและสร้างโอกาสให้กับกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ อีกมากมาย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.taitra.org.tw
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น