เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 Insightoutstory ได้มีโอกาศร่วมทริป โครงการ ช.ส.ท.พาแม่เที่ยว เป็นโครงการประจำปีของ ชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ในปี 2563 โดยกำหนดเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี บึงกาฬ และจังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 13-16 สิงหาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม และวิริยะประกันภัย
ชื่อกิจกรรมในครั้งนี้ คือ ช.ส.ท.พาแม่เที่ยว "ชีวาธรรมตามรอยพญานาค อดรธานี - บึงกาฬ - สกลนคร" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และศึกษาดูงานว่าท่านได้ทรงงานอะไรไว้บ้าง นอกจากนั้นเรายังได้เรียนรู้ ความเป็นอยู่แบบวิถีไทย วิถีถิ่น เราจะไปชมวัดสวยๆ ชมพื้นที่แบบธรรมชาติ และโบราณสถาน และที่สำคัญ คณะนี้จะช่วยกันกระจายรายได้
การท่องเที่ยวครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มนักท่องเที่ยวจากกลุ่มผู้สูงอายุ โดยคณะเริ่มตั้งแต่เช้าเช่นเคยค่ะ ล้อหมุน 6.15 น. ณ สโมสรทหารบก เดินทางด้วยกัน 3 คันรถบัส จำนวนผู้ร่วมทริป และสื่อมวลหลายแขนงรวมประมาณ 80 กว่าท่าน
โดยมี คุณวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้กล่าวเกี่ยวกับทริปครั้งนี้ว่า
ทริปนี้เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ ช.ส.ท. ได้มีโอกาศจัดงาน เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นปีที่ 20 ที่ ช.ส.ท.ได้จัดงานถวายพระองค์ท่าน ด้วยความสำนึกในกรุณาอันล้นพ้น โดยปีนี้ เราจัด ทริป 3 จังหวัด ในโครงการ "ชีวาธรรมตามรอยพญานาค อดรธานี - บึงกาฬ - สกลนคร" ซึ่งการเดินทางเรา ได้รับการได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มนักท่องเที่ยวจากกลุ่มผู้สูงอายุเช่นเคย ถึงแม้นช่วงนี้จะเป็นหน้าฝน เป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบนึง เที่ยวหน้าฝน เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่หลายๆคนยังไม่เคยสัมผัส
และ ณ ปัจจุบันการท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นไปได้ยาก ด้วยสถานะการ และเศรษฐกิจ คณะเราดีใจ ที่เป็นส่วนหนึ่ง ในการนำพาผู้ร่วมทริปท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ ออกมาท่องเที่ยวใช้จ่าย เพื่อหมุนเงินเม็ดเงินเหล่านี้ มาสูพี่น้องชาวไทย ในพื้นที่ต่างๆ สู่ผู้ประกอบการต่าง ๆ
และขอฝากให้พี่น้องชาวไทย ออกมาเที่ยวเมืองไทย ถึงแม้น้อยนิด แต่มีประโยชน์มากมายสำหรับคนที่รอต้อนร้บเราอยู่ ด้วยรอยยิ้มของพวกเค้าเหล่านั้น ทำให้เรามีความสุขเช่นกัน
โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน โดย คุณสุกฤตา อนุกูลสาธุกิจ รอง ผอ. ททท.สำนักงานน่าน ได้กล่าวขอบคุณคณะที่มาเที่ยวในครั้งนี้ และกล่าวเชิญชวนคนไทยร่วมกันเที่ยวช่วยไทย โดยกล่าวว่า
ราตรีสีฟ้า
และวันที่ 14 สิงหาคม 2563 ทางชมรม ได้จัดพิธี เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พร้อมกันนี้ ยังช่วยประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น ในทริปนี้ เราตามรอย พญานาคกันด้วย ตามกันมาเลยค่ะว่าเราไปเที่ยวที่ไหนกันบ้าง
"ชีวาธรรมตามรอยพญานาค อดรธานี - บึงกาฬ - สกลนคร"
จังหวัดอุดรธานี
ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน มูลนิธิศาลเจ้าปู่ย่า
ศาลเจ้าปู่-ย่า ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้กับตลาดหนองบัว ถือว่าเป็น ศาลเจ้าเก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอุดรฯ ให้การเคารพนับถือกันเป็นอย่างยิ่ง ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าปู่-ย่า ยังไม่สามารถหาหลักฐานในระยะก่อตั้งเริ่มแรก ที่เป็นข้อมูลสรุปอย่างชัดเจน ได้ เพียงแต่อาศัยการบอกเล่าของกลุ่มพ่อค้าชาวจีนรุ่นเก่า ที่เล่าสืบมาว่าประมาณ พ.ศ. 2488 กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในจังหวัดอุดรธานี ได้อัญเชิญ ผงธูปที่เรียกกันว่าผงมงคลหรือผงอิทธิเจแห่งองค์เทพเจ้าปู่จากใต้ร่มไม้ใหญ่ทาง ทิศตะวันตกของจังหวัดอุดรธานี เป็นเส้นทางที่มุ่งไปสู่อำเภอหนองบัวลำภู (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของจังหวัดหนองบัวลำภู) ซึ่งมีสถานภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยขุนเขา หนองน้ำ และต้นไม้ใหญ่นานาชนิด เป็นลักษณะพื้นที่ที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ตามตำราโหราศาสตร์จีน จึงได้อัญเชิญมาประทับที่ศาลไม้เล็กๆ ใต้ต้นไม้ใหญ่ริมฝั่งหนองบัว ตำบลหนองบัว จังหวัดอุดรธานี ใกล้สถานีรถไฟ ปัจจุบัน คือ บริเวณศาลเจ้าปู่-ย่าที่มีความร่มรื่นอันเป็นสัญลักษณ์ของความ สงบสุข บนเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ เบื้องหน้าศาลไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เป็นสัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตชาวเมืองอุดรธานี
บริเวณศาลเจ้าปู่-ย่า ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี ศูนย์รวมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีบรรพชนและหลักปรัชญาของชาวไทย เชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี เมืองอุดรธานีเป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่จำนวนมาก เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นจุดศูนย์รวมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีบรรพชนและหลักปรัญชา ของพี่-น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี โดยเริ่มมีแนวคิดการจัดสร้างในสมัยคณะกรรมการศาลเจ้าปู่-ย่า สมัยที่ 58
ภายในศูนย์วัฒนธรรม ไทย-จีน ถูกออกแบบเป็นกลุ่มอาคาร ประกอบด้วยอาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา อาคารพิพิธภัณฑ์คุณธรรม อาคาร การเรียนรู้ อาคารหอประชุมปรีชา ชัยรัตน์ อาคารสำนักงาน ร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากจีน และร้านน้ำชาผิงอัน จำหน่ายเครื่องดื่ม ชา กาแฟและเบเกอร์รี
ภายในพิพิธภัณฑ์คุณธรรม ( ชั้น 1 ) จัดแสดงเรื่องราวของคนไทย เชื้อสายจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดอุดรธานี เมื่อ120 ปี จัดแสดงเรื่องราวของธุรกิจการค้าในสมัยอดีต การศึกษาและการรวมตัวของ 9 องค์กร 11 ตระกูลแซ่ อีกทั้งยังบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของพลังศรัทธาต่อ องค์เทพเจ้าปู่-ย่า แห่งศาลเจ้าปู่-ย่า พร้อมด้วยเทคโนโลยีฉายภาพยนตร์ 3 มิติ ให้ผู้เข้าชมได้ตื่นตาตื่นใจ
วัดศิริสุทโธ คำชะโนด อำเภอบ้านดุง
คำชะโนดหรือเมืองชะโนดหรือตำนานวังนาคินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือวังทอง บ้านม่วงและบ้านจันทร์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นป่าที่มี ลักษณะเหมือนเกาะกลางน้ำอยู่กลางทุ่งนา เต็มไปด้วยต้นชะโนด ซึ่งเป็นพืชจำพวกปาล์ม ความยาวประมาณ 200 เมตร
ตำนานป่า คำชะโนด
ป่าคำชะโนดเป็นสถานที่ ๆ ปรากฏในตำนานพื้นบ้าน เป็นสถานที่ ๆ เชื่อว่าเป็นที่ สิงสถิตของพญานาคและสิ่งลี้ลับต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นจะพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญพระเวสสันดร รวมถึงหญิงสาวที่มายืมเครื่องมือทอผ้าอยู่เป็นประจำ และเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงที่อำเภอบ้านดุง แต่น้ำก็ไม่ท่วมบริเวณคำชะโนด เมื่อระดับน้ำลดลง คำชะโนดก็ยังคงอยู่เช่นเดิม
ที่จริงแล้ว ป่าคำชะโนดเคยเกิดน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้เชื่อว่าเกิดจากการที่มีการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิมในอดีต จึงทำให้พื้นที่ของเกาะซึ่งลอยน้ำอยู่นั้นมีความหนัก จึงเป็นสาเหตุที่ ทำให้ต้องจมน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2560 ถึงกับต้องปิดสถานที่แห่งนี้เป็นการชั่วคราว
เรื่องราวของวังนาคินทร์คำชะโนด หรือ ป่าคำชะโนด กลายเป็นข่าวคราวโด่งดังขึ้นมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เมื่อปรากฏว่ามีกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าสามารถบันทึกวิดีโอภาพของเปรตและรุกขเทวดาได้ที่ป่าแห่งนี้ ก่อนที่ความจะแตกว่าเป็นเรื่องหลอกลวง แต่จากนั้น เรื่องราวความลี้ลับในป่าคำชะโนดก็กลายเป็นที่รับรู้และสนใจของคนในสังคมทั่วไป จนหนึ่งในเรื่องเล่าเกี่ยวกับอาถรรพ์ของสถานที่แห่งนี้ได้กลาย เป็นภาพยนตร์ใน พ.ศ. 2550 เรื่อง ผีจ้างหนัง
อีกเรื่องราวของคำชะโนด เมื่อเดินไปถึงป่าคำชะโนด จะมี“บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” หรือ “บ่อคำชะโนด” ที่ตั้งอยู่กลางเกาะ มีลักษณะเป็นน้ำใต้ดินพุ่งไหลอยู่ตลอดเวลา และไม่เคยลดแห่งลงเลย ระดับน้ำอยู่แค่ไหน ก็จะอยู่ระดับนั้นไม่เปลี่ยน (มีความเชื่อกันว่าเป็นประตูเชื่อมไปสู่เมืองบาดาล ที่อยู่อาศัยของพญาศรีสุทโธนาค) ทั้งยังเป็นจุดที่ คนนิยมเข้ามาสรงน้ำรูปปั้นพญานาค และประชาชนส่วนใหญ่ยังนำน้ำใส่ขวดเพื่อเก็บกลับไปสักการะ เพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ปัจจุบัน ป่าคำชะโนด ยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีมนต์ขลัง ด้วยเรื่องเล่าตำนานพญานาค ซึ่งตามตำนานเชื่อกันว่า พญาศรีสุทโธนาค ผู้ขุดแม่น้ำโขงใช้ป่าคำชะโนด เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองบาดาลและโลกมนุษย์ ซึ่งบริเวณดังกล่าวคือ สะพานปูน รูปปั้นพญานาค 2 ตัว 7 เศียร และถ้าสังเกตให้ดี ๆ ตรงกึ่งกลางสะพาน จะมีรอยแยก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรอยต่อระหว่างโลกมนุษย์กับบาดาลนั่นเอง
•ในเรื่องโชคลาภ วัดป่าคำชะโนด
หลายๆคน อดถามไม่ได้เกี่ยวกับโชคลาภว่า บูชาพญานาคจะมีโชคลาภหรือไม่ ความจริงสิ่งนี้ย่อมขึ้นกับกรรมและวาระของแต่ละบุคคลด้วย
•ส่วนพญานาคนั้นท่านเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงทรัพย์ในดินและสินในน้ำ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีผู้คนเดินทางไปกราบไหว้สักการะและขอหวยกับ จ้าวปู่ศรีสุทโธเป็นจำนวนมากและมีผู้ประสบผลสำเร็จได้โชคได้ลาภไปมากมายหลายคน เรียกได้ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จนกลายเป็นกระแสในหมู่คนเล่นหวยที่ต้องไปกราบไหว้ ดูสักครั้ง ทำให้มีผู้คนไปกราบไหว้อย่างล้นหลามในทุกวัน
•ใครอยากจะมีโชคเรื่องเงินทองลองไปสักการะและขอพรกับท่านดูก็ไม่เสียหาย แต่ทั้งนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและวิจารณญาณของทุกคนไม่มีใครสามารถบังคับได้ด้วยประการทั้งปวง
ด้วยแรงศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศที่เดินทางไปยังป่าคำชะโนดกันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้คณะกรรมวัดได้ออกกฎระเบียบ 6 ข้อ ได้แก่
1. ไม่จุดธูปเทียนบูชาในป่าคำชะโนด
2. ให้นำพานบายศรีหรือเครื่องเซ่นไหว้กลับ เพื่อเป็นการลดขยะ
3. ไม่โยนเหรียญลงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
4. งดปล่อยปลาและสัตว์น้ำลงไปในแหล่งน้ำ
5. ไม่ผูกผ้าแพร 7 สี
6. ไม่ทาแป้งหรือขัดถูต้นไม้
* ข้อมูลจาก udoncarrent.com
จังหวัดสกลนคร
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร มีประวัติความเป็นมาโดยจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านกุดนาขาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีราษฎรยากจนจำนวนมาก แต่ราษฎร มีความสามัคคีกลมเกลียวกันดี จึงทรงมีพระราชดำริให้ราษฎรปลูกต้นไม้รักษาป่า
คณะกรรมการหมู่บ้านกุดนาขาม ได้พร้อมใจกันถวายที่ดินสาธารณะของหมู่บ้านจำนวน 43 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา สำหรับจัดตั้งโครงการป่ารักน้ำ และราษฎรบ้านกุดนาขาม ได้ช่วยกันเสียสละแรงงานด้วยการปลูกต้นไม้โตเร็วและร่วมกันปลูกต้นไม้เสริมจาก ที่มีอยู่เดิม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2526 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการป่ารักน้ำ บ้านกุดนาขามอีกครั้งหนึ่ง ทรงปลูกต้นไม้และทรงมีราชดำริให้ราษฎรปลูกเพิ่มเติม ในช่วงนั้นได้จัดครูมาช่วยฝึกสอนอาชีพต่าง ๆ ตามที่ราษฎรถนัด และทรงมีพระราชดำริที่จะให้บ้านกุดนาขามเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง จึงทรงมีพระเมตตาให้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพขึ้น โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้พันเอก เรวัต บุญทับ (ยศในขณะนั้น ปัจจุบันคือ พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์) เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2526 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อรับพระราชนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นที่บ้านกุดนาขาม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพมาตั้งแต่บัดนั้น
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม เป็นแหล่งผลิตศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม มีห้องแสดงการปั้นเขียนสี แสดงผลิตภัณฑ์ ฝีมือในการผลิต ออกแบบสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่นิยมใช้ของไทย ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ฯ ได้นำมาจัดแสดงให้ชม และจำหน่าย ในงานนิทรรศการที่เกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกประจำจังหวัด รวมทั้งงานออกร้านในเทศกาลต่าง ๆ ในต่างจังหวัด และในกรุงเทพมหานคร
จังหวัดบึงกาฬ
วัดอาฮงศิลาวาส
วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่เขตพื้นที่บ้านอาฮง อำเภอเมืองบึงกาฬ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮง แอ่งน้ำขนาดใหญ่จากฝั่งไทยถึงฝั่งลาว ที่มีความยาวประมาณร้อยกว่าเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดบึงกาฬ ด้วยเหตุที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นแนวโค้งยาวประกอบกับมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพญานาค ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาที่วัดอาฮง และแก่งอาฮง อย่างไม่ขาดสาย
ภายในบริเวณวัดกว้างขวางและสวยงามมีอุโบสถหินอ่อน รูปทรงไทยประยุกต์ ตั้งอยู่บนพื้นที่เนิน มีบันไดทางขึ้นมีพญานาคทอดตัวยาวไปจนเกือบถึงตัววิหาร ภายในอุโบสถตกแต่งแบบเรียบง่ายมีพระประธาน คือ พระพุทธควานันท์ศาสดา ซึ่งมีความงดงามตระการตาเป็นพระพุทธรูปที่มีพะพุทธลักษณ์คล้ายกับพระพุทธ ชินราช นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำสององศ์ประดิษฐานอีกด้วย
มีความเชื่อกันว่าบริเวณหน้าวัด คือ จุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขงซึ่งมีความลึก 200 เมตร บริเวณนี้จะมีน้ำจะไหลเชี่ยววนจนเป็นหลุมรูปกรวย หากมีพวกเศษไม้ ใบไม้ หรือวัตถุเล็กๆ ติดอยู่จะถูกกระแสน้ำหมุนวนเป็นรูปกรวยประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงหลุดเคลื่อนไปในที่อื่น เมื่อมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวมาอีกก็จะต่อตัวเป็นรูปกรวย ขึ้นมาใหม่เกิดสลับกันไปตลอดทั้งวัน จึงทำให้เชื่อว่าที่นี่ คือ จุดที่เป็น สะดือแม่น้ำโขง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี สามารถมองเห็นแก่งอาฮง แก่งหินกลาง ลำน้ำโขงปรากฎขึ้นมาเหนือน้ำ กลุ่มหินมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้นนาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย
ขอบคุณร้านอาหาร
- ร้านปราสาททอง ประตูน้ำพระอินทร์ จ.พระนครศรีอยุธยา
- ร้านครัววาสนา จ.อุดรธานี
- ครัวแม่ลมูล
ขอบคุณที่พัก
- โรงแรมที่พัก ศิวิไลซ์ โฮเทล จ.อุดรธานี
- โรงแรมที่พัก โรงแรมเดอะวัน จ.บึงกาฬ
ขอขอบคุณผู้สนับสนุน
- ชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว (ช.ส.ท.)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม
- วิริยะประกันภัย
....................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น