"หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ นำคณะสื่อมวลชน ติดตามงาน "โครงการ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร - สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า ประชาร่วมใจ ถวายในหลวง" อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ปัจจัยสำคัญ ในการดำรงชีวิต คือ "น้ำ"

"หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ"  และ มูลธินิพิทักษ์คชสาร นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นเยี่ยมชม และติดตามงาน  "โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร - สัตว์ป่าและการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่าประชาร่วมใจ ถวายในหลวง" ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 

โครงการนี้จัดทำขึ้น เพื่อชุมชนและสัตว์ป่า เหตุเกิดจากการใช้ทรัพยากรแบบไม่ระมัดระวังขาดความรู้ความเข้าใจ ระหว่างคน และสัตว์ป่า จึงทำให้ทรัพยากรเสื่อมสภาพ ไม่เป็นระบบขาดแบบแผน ทั้งอาหาร เช่น การเก็บหน่อไม้จากชาวบ้านบุกรุกที่ทำกินของสัตว์ป่า และปัญหาที่สำคัญนั่นคือเรื่อง แหล่งน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของคน และสัตว์ป่า ทำให้เกิดปัญหาลูกโซ่ตามกันมา 

ปัญหาเหล่านี้ เป็นการยากที่ทางราชการจะเข้ามาแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ดังนั้นจึงต้องอาศัยทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ 

ด้วยเหตุนี้   "หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ"  ณ วัดเวฬุวัน และ มูลธินิพิทักษ์คชสาร จึงจัดทำ "โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร - สัตว์ป่าและการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่าประชาร่วมใจ ถวายในหลวง" ขึ้นมา  

เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์ป่า และสร้างสมดุลที่ดีของผืนป่า ให้คนที่อยู่อาศัยบริเวณนี้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข 

การดำเนินการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ได้ กำหนดเป็น 4 ระยะในเวลา  4 ปี 

ระยะที่ 1 (ปีที่ 1) ปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำนำร่อง ปลูกพืชอาหารสัตว์ จัดทำโป่งเทียม :: ดำเนินการเสร็จแล้ว( กค.62-สค-63)

ระยะที่ 2 (ปีที่ 2) ปรับปรุงพัฒนาแหล้งน้ำ 2 ให้ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์การบำรุงรักษาแหล่งน้ำและทรัพยากรป่าไม้ ปลูกพืชอาหารสัตว์ จัดทำโป่งเทียม ฟื้นฟู แหล้งอหารสัตว์ป่า และอบรมอาชีพตามแนวทางศาตร์พระราชา

ระยะที่ 3 (ปีที่ 3) ติดตามประเมินผลสภาพแห่งน้ำ และการแนะนำแนวทางการฟื้นฟูป่า แหล่งอาหาร ในระยะที่ 2 ติดตาม ประเมินผล อบรมอาชีพตามแนวทางศาตร์พระราชา เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างคน สัตว์ป่า และช้างป่า 

ระยะที่ 4 (ปีที่ 4) ติดตาม ประเมินผล โครงการฯ  และส่งมอบโครงการฯให้กับชุมชน

แนวทางนี้ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ต.ห้วยเขย่ง ต.ท่าขนุน ต.หินดาด และ ต.ลิ่นถิ่น  โดยมีแผนงานดังนี้ 

1.ฝ่ายกึ่งสระซอยซีเมนต์ เพื่อชะลอน้ำ กักเก็บน้ำ เพิ่มความชุ่มชื่น ดักตะกอน ฟื้นฟูระบนิเวศ ดิน น้ำ ป่า และยังลดการเกิดภัยจากธรรมชาติ น้ำหลาก ไฟป่าได้อีกด้วย

2.บ่อบาดาล เพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรได้ตลอดปี

3.โรงผลิตน้ำดื่มจากน้ำบาดาล เพื่อประชาชนมีน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภคตลอดทั้ง ลดปัญหาสุขภาพของประชาชน

4. การถ่ายทอด ส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพตามศาตร์พระราชา ได้รับความรู้ในการบริหารจัดการทรพัยากรได้อย่างคุ้มค่า เป็นระบบ 

5.การสร้างแหล่งอาหารของสัตว์ป่า และช้าง เพื่อให้สัตว์ป่าและช้างมีแหล่งอาหารที่เพียงพอ คืนความชุ่มชื่นให้กับผืนป่า ลดการกระทบกระทั่งระห่างคน กับสัตว์ป่า และช้างป่า และยังให้อยู่ร่วมกันกับชาวบ้านใช้พื้นที่ร่วมกันได้อย่างสมเหตุสมผล และเป็นธรรม 

"หลวงปู่สาคร " บรรยายพิเศษ 

งานที่ลงมือทำเพื่อช้างคู่แผ่นดิน คู่ศาสนา"  

และ นำคณะสื่อมวลชน ตามรอยโขลงช้าง ทองผาภูมิ และเยี่ยมชมโรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ ตำบล ห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ กาญจนบุรี 

กับ โครงการขยายบ่อน้ำ เพื่อการเกษตร และอุปโภคและบริโภค ใช้ในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนมีนักเรียนประมาณ 900 คน  ที่นี่ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการบริโภค และอุปโภค เรียบร้อยแล้ว 

ชมแหล่งกักเก็บน้ำบนเขา
เพื่อสัตว์ป่า และช้างป่า

ปล่อยปลาที่ แหล่งกักเก็บน้ำ

สร้างระบบนิเวศที่สมดุล

ปลูกป่าทดแทน รวมถึงเพื่อสร้างแหล่งอาหาร

ของสัตว์ป่าและช้างป่า

โครงการนี้นอกจากจะเป็นการบรรเทาปัญหา ชาวบ้าน ชุมชน และสัตว์ป่าแล้ว การทำสาธารณประโยชน์ในครั้งนี้ ตลอดจนเป็นการทำความดีเพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศลและแทนคุณแผ่นดินอีกด้วย 

ติดตาม มูลนิธิพิทักษ์คชสาร ได้ที่

Facebook : มูลนิธิพิทักษ์คชสาร


" …ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็ก ๆ และกระจาย กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า..."

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  พระราชทานเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ต่อการจัดการความขัดแย้งคนกับช้างป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี 





Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก