คราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส ไทยแลนด์ จัดกิจกรรมมาสเตอร์คลาส ชูหัวข้อ “การคิดค้นสูตรอาหารและการกำหนดต้นทุน” โดยผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจบริการอาหาร และเชฟชื่อดังมากประสบการณ์ พร้อมมอบส่วนลดพิเศษจาก Makro ให้ผู้ร่วมงาน

 

กรุงเทพฯ กรกฎาคม 2565 – เมื่อเร็ว ๆ นี้ คราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส ไทยแลนด์ (Kraft Heinz Foodservice Thailand) จัดกิจกรรมสอนทำอาหารระดับมาสเตอร์คลาส ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom งานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์กิจกรรมต่อเนื่องที่จะประกอบด้วยการสัมมนา การประชุมกลุ่มย่อย การลงมือปฏิบัติ และอีกมากมาย เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่บรรดาผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการอาหาร เชฟ และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารของเมืองไทย 

กิจกรรมครั้งนี้จะนำเสนอแนวทางเริ่มต้นในการคิดค้นสูตรอาหารและการกำหนดต้นทุนอาหารแก่ผู้ร่วมงานสัมมนา โดยคราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส ไทยแลนด์ แบ่งการสัมมนาเว็บบินาร์ออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นการสัมมนาถึงวิธีการวางแผนเมนูอาหารและการพัฒนาสูตรเพื่อเพิ่มยอดขายในธุรกิจอาหาร รวมถึงแนวทางการคำนวณต้นทุนอาหารที่เหมาะสม

ช่วงที่สองจะเป็นการสาธิตการปรุงอาหารโดยเชฟมืออาชีพชาวไทย ร่วมกับ พอลีน ดิแอซ แลกเดมิโอ เชฟบริการอาหารเชิงพาณิชย์ของคราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส เว็บบินาร์ช่วงที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ร่วมสัมมนาชาวไทยในการยกระดับคุณภาพเมนูอาหารของตนเองด้วยผลิตภัณฑ์ซ้อสแนวใหม่ของคราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส เป้าหมายหลักในภาพรวมของการจัดกิจกรรมครั้งนี้คือเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมบริการอาหาร ตลอดจนสร้างชุมชนของธุรกิจบริการอาหารในประเทศซึ่งเหล่าสมาชิกสามารถดึงดูดผู้ที่สนใจ ส่งต่อแรงบันดาลใจ และยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บริษัทฯทุ่มเททีมงานมืออาชีพทั้งหมดขององค์กรมาแบ่งปันองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมบริการอาหารแก่เจ้าของธุรกิจอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้เชฟร้านอาหารสามารถคิดค้นสูตรอาหารใหม่ร่วมไปกับเรา ตลอดจนนำเสนอโซลูชั่นธุรกิจในการเพิ่มทั้งยอดขาย ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และผลกำไร โดยคราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส ซึ่งดำเนินงานผ่านสถาบันสอนทำอาหารของบริษัท จะประสานงานกับร้านอาหาร ทั้งร้านอาหารรายย่อย ภัตรคาร และผู้ประกอบการโรงแรม เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด พร้อมยกระดับธุรกิจของพวกเขาให้มีมาตรฐานสูงขึ้น

Bryan Tan หัวหน้าแผนก คราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส ไทยแลนด์ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมมาสเตอร์คลาสในครั้งนี้ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ให้บริการทางด้านอาหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในการฟื้นฟูความสามารถจากสถานการณ์โรคระบาด และร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาให้รอดจากภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกในปัจจุบัน กิจกรรมเว็บบินาร์ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบเมนูอาหาร การตั้งราคาอาหาร และการเลือกใช้อุปกรณ์ ซึ่งผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้ไม่ยาก และนี่คือแนวทางของเราในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของลูกค้าของเราในประเทศไทย”

ท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันสอนทำอาหารไฮนซ์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โปรดติดตามข่าวสารผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของ คราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส ไทยแลนด์ ได้ที่

เฟซบุ๊กของคราฟต์ ไฮนซ์ ฟู้ดเซอร์วิส ไทยแลนด์ ลิงก์

● อินสตาแกรม @kraftheinzfs_thailand

เกี่ยวกับคราฟต์ ไฮนซ์

เรื่องราวความสำเร็จของไฮนซ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อ เฮนรี จอห์น ไฮนซ์ ก่อตั้งธุรกิจฮอร์สแรดิชเล็ก ๆ ของเขาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1869 ในมลรัฐเพ็นซิลเวเนีย ต่อมาในปี ค.ศ. 1876 บริษัทจึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ซ้อสมะเขือเทศไฮนซ์ (Heinz Tomato Ketchup) ในสหรัฐอเมริกา และกลายเป็นสินค้ายอดนิยมที่ครองตลาดทั้งในลอนดอนและภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก โดยวัตถุดิบหลักของซ้อสมะเขือเทศใช้เฉพาะมะเขือเทศสดใหม่และสุกด้วยแสงแดดตามธรรมชาติ นับแต่นั้นมา บริษัทฯ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ออกสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ มายองเนส มัสตาร์ด ซุป ครีมสลัด ถั่วบรรจุกระป๋อง และสินค้าอีกหลายรายการ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่านวัตกรรมคือหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจมานานกว่า 150 ปี โดยในปี ค.ศ. 2015 ไฮนซ์ ควบรวมกิจการกับ คราฟต์ และให้กำเนิด คราฟต์ ไฮนซ์ (Kraft Heinz) บริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลกในปัจจุบัน วันนี้ คราฟต์ ไฮนซ์ คือแบรนด์ผู้ผลิตซ้อสที่ขายที่ดีที่สุดของโลก และถือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงอาหารยอดนิยมของผู้คนในนานาประเทศ

Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก