ม.ราชภัฏโคราชนำเครือข่ายราชภัฏทั่วประเทศ ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงวัฒนธรรมสร้างคุณค่าอัตลักษณ์พื้นถิ่นบนเศรษฐกิจ BCG

เครือข่ายวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 38 แห่ง โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นแกนนำ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย ภายใต้โครงการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างคุณค่า อัตลักษณ์พื้นถิ่นด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรมบนฐานเศรษฐกิจ BCG โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานในพิธี พร้อมกันนี้มี ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และนักวิจัยจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม ณ ห้องประชุมแคทรียา โรงแรมรามา การ์เด้นส์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการขับเคลื่อนเครือข่ายนักวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ แบ่งการทำงานเป็น 7 กลุ่มมหาวิทยาลัย ราชภัฏ ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา มหาวิทยาลัย ราชภัฏกลุ่มอีสานเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มอีสานล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก และมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ โดยมีเป้าหมายยุทธศาสตร์และพันธกิจเดียวกัน แบ่งพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทุกภูมิภาคในประเทศ ทำหน้าที่ในการนำความรู้เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 

เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเชิงพื้นที่ พัฒนาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในแผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 1 และ 2 พัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยว ของฝาก ของที่ระลึก กิจกรรมทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน รวมทั้งการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และช่องทางการสื่อสารการตลาดเพื่อทำให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจในระดับชุมชน ในพื้นที่ 48 ชุมชน
มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในประเภทต่าง ๆ ขับเคลื่อนต่อเนื่องในปีที่ 3 ผ่านโครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าอัตลักษณ์พื้นถิ่นด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรมบนฐานเศรษฐกิจ BCG คัดเลือกมา 7 พื้นที่ 7 ผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาให้เป็นโมเดลต้นแบบตลอดห่วงโซ่การพัฒนา ยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม CBT-SE ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้จริงให้กับกลุ่มผู้ซื้อ/นักท่องเที่ยวคุณภาพ สร้างความชัดเจนในอัตลักษณ์บนศักยภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏและเชื่อมโยงภารกิจความรับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานภาคีทั้งภายในและภายนอกอย่างมีพลวัต บนฐานอัตลักษณ์ชุมชนในบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละภูมิภาค

มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูงทางวิชาการ เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งต่อท้องถิ่นและประเทศชาติ สร้างต้นแบบการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในท้องถิ่น ส่งเสริมให้มีความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม และสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นที่พึ่งของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก