ด.ร. อรรชกา ศรีบุญเรือง ประธานสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA กล่าวว่า การจัดงาน Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023) ครั้งนี้นับเป็นปีที่ประสบความสำเร็จจากความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของ CEA ที่ได้ร่วมพัฒนาพื้นที่ให้เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างจุดเด่น สร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิม พร้อมกับการยกระดับรายได้ให้กับชุมชน จนนำมาสู่การเข้าร่วมงานของ 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเทศกาลครั้งนี้ และออกแบบโปรแกรมต่าง ๆ ที่หลากหลายถึง 530 โปรแกรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในย่านต่าง ๆ ในพื้นที่กทม. ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ที่กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 7 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย
“ CEA พร้อมที่จะเปิดรับย่านที่สนใจเข้าร่วมเทศกาลฯ ในปีต่อไป โดยการเข้าไปร่วมค้นหาอัตลักษณ์ของแต่ละย่านและมาสู่การวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การออกแบบสร้างสรรค์ในมุมต่าง ๆที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการกระตุ้นการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ และงานครั้งนี้แต่ละย่านมีไฮไลท์ที่น่าสนใจที่จะกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในกทม. ที่ทั้งจากคนไทยและต่างประเทศ ดังนั้นคาดว่าในปี 2566 จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากยิ่งขึ้น ” ด.ร. อรรชกากล่าว
สำหรับแนวคิดงานครั้งนี้คือ “urban‘NICE’zation เมือง - มิตร - ดี” เพื่อสร้างความ ‘น่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว’ ใน 6 มิติด้วยกัน ทั้งในด้านมิตรดีต่อสิ่งแวดล้อม มิตรดีต่อการเดินทาง มิตรดีต่อวัฒนธรรม มิตรดีต่อชุมชน ธุรกิจ และความหลากหลายของผู้คนในสังคม ที่มีการออกแบบเป็นกิจกรรมใน 4 รูปแบบ ได้แก่1. Showcase & Exhibition แสดงผลงานจากนักสร้างสรรค์นำเสนอแนวคิดเพื่อการแก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิต 2. Talk & Workshop กิจกรรมบรรยาย และเวิร์กช้อป เพื่อให้ความรู้และแนวคิดใหม่จากนักสร้างสรรค์ 3. Creative Market & Promotion เปิดตลาดนัดสร้างสรรค์ 6 ตลาดทั่วกรุงเทพฯ กว่า 80 แบรนด์ดีไซน์ 4. Event & Program กิจกรรมสร้างบรรยากาศ และความเคลื่อนไหวกับเมืองในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงเป็นต้นรศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การจัดเทศกาลออกแบบกรุงเทพ 2566 หรือ Bangkok Design Week 2023 (BKKDW 2023) ครั้งนี้เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญ ที่มีเป้าหมายในการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ละย่าน ด้วยการใช้สินทรัพย์ในย่านมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น สอดรับกับแผนงานการจัดเทศกาล 12 เดือนของ กทม. ที่มีการบรรจุไว้ในปฏิทินกิจกรรมของกทม. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเป็นกิจกรรมสำคัญทำให้กรุงเทพฯ มีภาพลักษณ์เป็นเมืองสร้างสรรค์ระดับโลก สร้างผู้ประกอบการและคนรุ่นใหม่ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนนโยบายของ กทม.ที่จะนำไปสู่การต่อยอด พลิกฟื้นเศรษฐกิจในย่านอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาซบเซา และสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตามการพัฒนาความเจริญของเมือง
“การนำแพลตฟอร์มของการขับเคลื่อนย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นของย่านต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ จนสามารถเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มีการยกระดับความเป็นอยู่ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยนักออกแบบมืออาชีพเพื่อให้เกิดประโยชน์ และความร่วมมือกับชุมชนในย่าน”ในการจัดเทศกาล #BKKDW2023 มี 9 ย่านที่เข้าร่วมเทศกาล ในพื้นที่ 12 เขต ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี ประกอบด้วย 1. ย่านเจริญกรุง - ตลาดน้อย บนถนนสายแรกของประเทศไทย จากนั้นลัดเลาะเข้าไปในชุมชนเก่าที่กลายเป็น ‘ย่านต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์’ กว่า 200 โปรแกรม อาท Circular Café มีแนวคิดแบบ Zero Waste ตั้งแต่การตกแต่งพื้นที่และออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ต่าง ๆ ด้วยวัสดุรีไซเคิล การลดใช้พลังงานและทรัพยากรในการจัดการ ไปจนถึงการนำเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ สร้างสรรค์ออกแบบโดย QUALY ร่วมกับ HARV และ LMLM ร่วมทดลองเป็นผู้ผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบ
WASTE IS MORE สร้างสรรค์ออกแบบโดย MORE ด้วยการสร้างสรรค์และส่งต่อความคิดผ่านนิทรรศการ ที่จุดประกายความคิดที่ว่า “ไม่มีของเสีย มีเพียงทรัพยากรที่มีคุณค่า” ชวนวงการการออกแบบ วงการวิจัยและพัฒนาวัสดุ โรงงาน ผู้ประกอบการที่มีขยะอยู่ในมือ ใตแนวคิดความยั่งยืน สถานที่ : อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง, โถงกลาง โดยRe-Vendor เจริญกรุง 32 ที่มีการออกแบบของ CEA ร่วมกับ Cloud-Floor , CommDe/ID CU ,KU และ Street Vendors CRK32 ร่วมกันออกแบบเชิงทดลองของร้านค้าแผงลอย ในซอยเจริญกรุง 32 เพื่อสร้างนำเสนอสตรีทฟู้ดริมทางในรูปแบบใหม่ สถานที่ : ย่านเจริญกรุง, ซอยเจริญกรุง 322. ย่านเยาวราช บนพื้นที่ไชน่าทาวน์ - ย่านเยาวราช ทรงวาด สำเพ็ง สู่การสร้างสรรค์ให้ย่านแห่งนี้ไม่มีวันหลับใหลและกลายเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ Bangkok City of Design ออกแบบโดย “City Trooper X Academic Program” เปิดประสบการณ์ใหม่ในย่านเก่าที่ไม่ได้มีดีแค่ สตรีทฟู้ดระดับโลกแต่ยังมีความเข้มข้นทางวัฒนธรรมจีนหลากหลายยุคสมัย
3. ย่านสามย่าน - สยาม ศูนย์รวมแหล่งการเรียนรู้ และศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ และสนามทดลองของคนสร้างสรรค์มาระดมไอเดียนอกกรอบในพื้นที่ เช่น Art4C House of Passa Saratta และยังมี CASETiFY และ BKKDW2023 ออกแบบโดย CASETiFY แบรนด์ไลฟ์สไตล์และอุปกรณ์เสริมเทคโนโลยีระดับโลก สร้างคอลเลคชั่น“เคสโทรศัพท์” ที่สะท้อนบริบทกรุงเทพฯ โดยศิลปินไทย 10 ท่าน
4. ย่านพระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง เมืองเก่าที่มีความคลาสสิกสะท้อนความเจริญของยุคสมัย พร้อมวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นนำมาต่อยอดสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์ สู่บริบทใหม่ของกรุงเทพฯ ตามจุดต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ประปาแม้นศรี ลานคนเมือง ไปรษณียาคาร บ้านนางเลิ้ง เป็นต้น
5. ย่านอารีย์ - ประดิพัทธ์ โดยกลุ่ม AriAround ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายนักสร้างสรรค์ จัด กิจกรรม “เปิดบ้าน เปิดย่าน เปิดเมือง” ให้ชมสตูดิโด อาคารบ้านเรือน รวมถึงร้านค้าเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมธุรกิจในพื้นที่ เช่น โครงการ 33 space สวนซอยประดิพัทธ์ 17 สวนกรมประชาสัมพันธ์
6. ย่านพร้อมพงษ์ ย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง ซอยสุขุมวิท 26 โดยกลุ่ม 49 & FRIENDS เป็นการรวมตัวของนักสร้างสรรค์ ยกระดับให้ย่านมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากผลงาน 49 & FRIENDS: LUMINOUS 26 พัฒนาสิ่งแวดล้อมใหม่ ในซอยสุขุมวิท 26 ออกแบบระบบส่องสว่างใหม่ เพิ่มความปลอดภัยของคนเดินถนนและรถยนต์ในยามค่ำคืน
7. ย่านบางโพ สานต่อ‘ถนนสายไม้บางโพ ตํานานที่มีชีวิต’ ย่านการสร้างมูลค่าเพิ่ม หาซื้องานไม้ดีไซน์เก๋ราคาพิเศษในรอบ 15 ปี งานไม้ งานเฟอร์นิเจอร์ งานแกะสลัก ไม้แปรรูป ของตกแต่งประเภทต่าง ๆ รับส่วนลดสูงสุดกว่า 50%
8. ย่านวงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู / คลองสาน บนถนนสายวัฒนธรรม ความเชื่อ อาหาร และศิลปกรรม ในรูปแบบใหม่ โดย SC Asset ร่วมกับ กลุ่มยังธน สถานบันการศึกษา กลุ่มนักสร้างสรรค์ กลุ่มผู้ประกอบการ ชุมชนคนในพื้นที่ และย่านคลองสาน ดึงสินทรัพย์สร้างมูลค่าเพิ่มมานำเสนอในการออกแบบใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ด้วยกิมมิคนั่งเรือเที่ยวตามสไตล์ กลุ่ม SUP X Klong San และไอคอนสยาม
งานถลกหนังที่ไม่ต้องกลัวหนังถลอก แค่เข้าไปสัมผัสจัดการออกแบบให้เข้ากับที่อยู่อาศัยที่ "THE MAKER" ซอยกรุงธนบุรี : อยู่อย่างย่านเจริญรัถ โดย SC Asset ออกแบบผลิตภัณฑ์
9. ย่านเกษตร แนวคิด ‘GREEN LIVING กรีนดีอยู่ดี’ไม่ใช่แค่เที่ยวงานเกษตรแฟร์ แต่ต้องข้ามฟากเข้าตลาดอมรพันธ์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกลุ่มร้านค้าผู้ประกอบการ ชุมชนคนในพื้นที่เข้าร่วมเทศกาลครั้งนี้พบกับไฮไลต์ที่สร้างสรรค์ พร้อมออกแบบการบริหารจัดการขยะด้วยจุดทิ้งขยะ รูปแบบใหม่
มาร่วมสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘เมือง - มิตร - ดี’ สำหรับทุกคนใน #BKKDW2023 ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.bangkokdesignweek.com, FB และ IG: bangkokdesignweek, Twitter: @BKKDesignWeek, Line: @bangkokdesignweek
#BKKDW2023 #BangkokDesignWeek #urbanNICEzation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น