มร.เคร็ก แกกนอน (Craig Gagnon) ผู้อำนวยการโครงการสุขภาพจิตและสารเสพติด ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ‘Horizon Rehab Center’ เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจว่า ปัจจุบันเยาวชนทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 12-25 ปี จำนวน 1 ใน 9 หรือราวร้อยละ 11.4 พบว่าเคยใช้สารเสพติดมาก่อน ซึ่งนอกจากเยาวชนไทยแล้ว เยาวชนในกลุ่มวัฒนธรรมที่สาม (Third Culture Kids) ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาเติบโตในประเทศไทยตามพ่อแม่ รวมถึงลูกครึ่งหรือเด็กที่โตมากับสังคมโรงเรียนนานาชาติที่โตมากับวัฒนธรรมที่ต่างจากคนทั่วๆไปในประเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะมักขาดการดูแลใกล้ชิดจากผู้ปกครองที่ต้องทำงานหนัก และโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งต้องเผชิญความต่างทางวัฒนธรรมตลอดเวลาส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิตใจ เมื่อผสมกับความอยากรู้อยากลองตามช่วงวัยแล้ว จึงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดได้ง่าย ขณะที่ การเสพติดดิจิทัลมากเกินไป ถือเป็นอีกปัญหาที่จะกระทบต่อเยาวชนได้ทั้งในด้าน “ความฉลาดทางอารมณ์” (อีคิว) การเรียนรู้สังคมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทำให้เกิดผลเสียระยะยาวตามมา ซึ่งน่าตกใจว่าจากผลสำรวจพบว่าเด็กที่เสพติดสมาร์ทโฟน มีอายุน้อยสุดเพียง 2 ปีเท่านั้น “ผมคาดหวังว่าการจัดงานเสวนาครั้งนี้ จะสามารถมีส่วนช่วยให้เยาวชน ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเยาวชน เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและการเสพติดดิจิทัลของเยาวชนยิ่งขึ้น พร้อมกับเพิ่มความใส่ใจในการดูแลพฤติกรรม ร่วมเฝ้าระวัง และส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนคุณภาพ ซึ่งครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งในภารกิจตามวิสัยทัศน์ของศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด Horizon Rehab Center ที่มุ่งหวังในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมไทยให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” มร.เคร็ก แกกนอน กล่าว
ด้าน ผู้จัดการตลาดดิจิทัล ของ Horizon Rehab Center กล่าวด้วยว่า ทาง Horizon Rehab Center ก่อตั้งมาเพื่อช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเสพติดด้านต่างๆ โดยเฉพาะการใช้สารเสพติด “ปัญหายาเสพติด ไม่ใช่แค่ปัญหาที่เกิดในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในหลายๆ ประเทศ ทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้เช่นกัน ผมขอยกตัวอย่างในปี 2562 คนไทยอายุระหว่าง 15-24 ปี 39% มีส่วนเกี่ยวข้องหรือใช้สารเสพติดและมีเยาวชนไทยในวัยระหว่าง 15-19 ปีใช้สารเสพติดกว่า 2.7 ล้านคน ซึ่งมีกว่า 300,000 คนต้องเข้ารับการบำบัด ซึ่งตัวเลขที่ว่านี้ยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี และนอกจากยาเสพติดแล้ว เรายังพบว่า ยังมีการเสพติดที่เรียกว่า การเสพติดทางพฤติกรรม (Process Addiction) ไม่ว่าจะเป็น ติดการพนัน ติดเกมส์ ติดอินเตอร์เน็ต และติดสื่อดิจิทัลต่างๆ ที่ทางประเทศอย่าง เกาหลี และ ญี่ปุ่น ได้จัดให้เป็นโรคชนิดหนึ่งแล้วในวันนี้”สำหรับแนวทางการบำบัดของทางศูนย์ จะใช้วิธีบำบัดในแบบ Western Style ที่มีการทำกระบวนการทดสอบ และประสบผลสำเร็จในการบำบัดจริงมาแล้ว “ซึ่งผมก็ต้องขอขอบคุณเครือโรงพยาบาลธนบุรี ที่ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้กับทางศูนย์มาตลอด โดยเฉพาะแนวทางการบำบัดในแบบของศูนย์ฯ ที่เป็น แบบ Western Style โดยมีการทดสอบ และประสบผลสำเร็จจริงมาแล้วในต่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้เกิดการฟื้นฟูทางด้านร่างกายให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่เรายังมีแนวทางการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมาพร้อมที่จะออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง และไม่หันกลับไปเสพติดสิ่งเหล่านั้นอีก ซึ่งในแต่ละขั้นตอน จะมีแพทย์ นักกิจกรรม และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเฝ้าติดตามพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด รวมถึงการร่วมพูดคุยกับผู้ปกครอง หรือ ครอบครัว เพื่อร่วมกันดูแล และสร้างความเข้าอกเข้าใจในตัวของผู้เข้ารับการบำบัดอย่างดีที่สุด” มร.เดวิด คัฟฟ์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น