“เทรนด์ In Control สะท้อนถึงการที่ผู้บริโภคเลือกรับประทานอาหารเพื่อเป็นการเลือกสรรและควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้บริโภคจะเลือกจับคู่อาหารหรืออาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และเหมาะสมกับความต้องการทางสุขภาพส่วนบุคคล ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์หรือช่วงอายุต่างๆ ของชีวิต อีกทั้ง ผู้บริโภคยังใช้โซลูชันเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ในการสังเกตและคาดการณ์สุขภาพโดยรวมของตน ทำให้ยิ่งมีความรอบคอบในสิ่งที่บริโภคมากขึ้น แบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม จึงควรสื่อสารกับผู้บริโภคถึงคุณค่าและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ลงบนกล่องบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจนและเรียบง่าย หรือหากมีคิวอาร์โค้ดที่ช่วยตรวจข้อมูลทางโภชนาการ ก็จะยิ่งเป็นการสร้างความรู้สึกแห่งการเลือกสรรและควบคุมได้ต่อลูกค้ามากยิ่งขึ้น” คุณสุทธินันท์ เตชะทยานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
เทรนด์หลักที่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับที่สอง คือเทรนด์ Flexi-Shopping อิสรภาพในการเลือกชอปที่ยืดหยุ่นมากขึ้นตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้คนเลือกซื้ออาหารอย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงราคาและคุณค่าที่เหมาะกับตนเองอย่างสูงสุด “ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ผู้บริโภคยังคงคาดหวังผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่เสนอคุณค่าสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับราคา จะมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้กังวลด้านค่าใช้จ่ายก็ให้ความสำคัญกับราคาเช่นเดียวกัน โดยพวกเขาจะซื้อสินค้าที่มีราคาเข้าถึงได้และในบางคราวอาจซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและราคาสูงขึ้นสลับกันไปเพื่อเป็นการให้รางวัลแก่ตนเอง” คุณสุทธินันท์กล่าวเสริมเทรนด์หลักลำดับที่สาม คือ Eatertainment ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบัน สังคมหรือชุมชนออนไลน์ ที่นำโดยครีเอเตอร์ในแพลตฟอร์มต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการสร้างสรรค์ หรือนำเทรนด์เมนูอาหารใหม่ๆ เป็นอย่างมาก ทำให้การทำอาหารทานเองหรือเลือกซื้ออาหาร กลายเป็นเรื่องที่สนุกและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้บริโภค“ตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์เป็นต้นมา สังคมออนไลน์กลายเป็นที่ที่ยึดโยงผู้คนที่มีความหลงใหลในสิ่งเดียวกันให้เข้ามาแบ่งปันประสบการณ์กัน โดยเฉพาะในเรื่องของอาหาร” คุณสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “ผู้บริโภคได้เข้ามาแบ่งปันหรือค้นหาแรงบันดาลใจในการทำอาหาร ทำให้การทำอาหารกลายเป็นเรื่องสนุกและทำได้ง่ายโดยแทบไม่ต้องพึ่งเชฟ แบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม อาจจะลองใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่ปรุงได้ที่บ้านพร้อมวิธีการทำอาหารแบบทีละขั้นตอนเพื่อเป็นการเน้นย้ำเทรนด์ทำอาหารในบ้าน”เทรนด์สุดท้าย “Local Reclaimed” เมื่อผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจท้องถิ่นมากขึ้น เครือข่ายระหว่างชุมชนจึงแน่นแฟ้นมากกว่าที่เคย แบรนด์ที่ส่งผลดีต่อชุมชนท้องถิ่นจะกลายเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นขึ้น “จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้เห็นผลกระทบที่ชุมชนของตนได้รับ และตั้งใจอุดหนุนแบรนด์ท้องถิ่นมากขึ้น ผู้บริโภคหลายคนรู้สึกโหยหาอดีต และมองหาความสบายใจจากวันวาน รสชาติแบบดั้งเดิมที่คุ้นเคยเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงความสุขในวัยเยาว์ได้อีกครั้ง ดังนั้น แบรนด์ที่เน้นวัตถุดิบที่เลือกสรรมาจากชุมชนท้องถิ่น ก็จะสามารถตอบโจทย์เทรนด์นี้ได้” คุณสุภนัฐ กล่าวปิดท้ายรายงาน ‘เทรนด์ดิพิเดีย’ ของเต็ดตรา แพ้ค ได้ระบุถึงเทรนด์หลัก 10 เรื่องสำหรับปี 2566 นี้ ได้แก่ เคล็ดลับเพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้น (Life Hacks) อิสรภาพในการเลือกชอป (Flexi-shopping) ชีวิตที่ควบคุมได้ (In Control) พักเพื่อเติมเต็มและซ่อมแซม (Replenish and Repair) แนวคิดเพื่อสภาพอากาศ (Climatarianism) ความชัดเจนสีเขียว (Green Clarity) เปิดเผยตัวตนที่แท้จริง (Un-masking Identities) มุ่งสนับสนุนท้องถิ่น (Local Reclaimed) ชีวิตที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด (Evolving Spaces) และทุกมื้อคือความสนุก (Eatertainment)เต็ดตรา แพ้ค นำเสนอรายงานเทรนด์การเปลี่ยนแปลงผู้บริโภค เทรนด์ดิพิเดีย ประจำปี 2566 ให้กับลูกค้าของเรา เพื่อให้มีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น