ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก 49% ในขณะนี้ว่าประเทศของตนกำลังประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยชาติที่วิตกมากที่สุดคืออินโดนีเซียที่ 60%
กิจกรรมเชิงอนุรักษ์สร้างแรงกระเพื่อมในหมู่ผู้บริโภคของภูมิภาคนี้อย่างมาก กว่า 58% กล่าวว่ากิจกรรมเชิงอนุรักษ์กระตุ้นให้พวกเขาตระหนักรู้ถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 46%
มลภาวะพลาสติกหลุดจาก 3 อันดับแรก ของรายการปัญหาที่น่าวิตกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในหมู่ผู้บริโภคทั่วโลก
ข้อมูลงานวิจัยใหม่จาก Mintel’s annual Global Outlook on Sustainability* ชี้วิกฤติการณ์ขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภครู้สึกวิตกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
จำนวนผู้บริโภคทั่วโลกที่จัดอันดับให้วิกฤติการณ์ขาดแคลนน้ำติด 3 อันดับแรกของปัญหาสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นจาก 31% ในปี 2022 เป็น 35% ในปี 2023 ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ผู้คนหันมาวิตกเพิ่มขึ้นถึง 13% และนับเป็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในปีที่ผ่านมา โดยในปี 2021 มีผู้บริโภคทั่วโลกไม่ถึง 3 ใน 10 (หรือ 27%) ที่วิตกเรื่องการขาดแคลนน้ำ
ความกลัวต่อการขาดแคลนน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มลภาวะพลาสติกหลุดจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม 3 อันดับแรก โดยความกังวลต่อปัญหามลภาวะพลาสติก (เช่น ขยะพลาสติกในมหาสมุทร) ลดลงจาก 36% ในปี 2021 มาเป็น 32% ในปี 2023
สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน (37%), เกาหลีใต้ (34%), และอินโดนีเซีย (32%) เป็นประเทศที่แสดงความวิตกสูงสุดในเรื่องการขาดแคลนน้ำ ในขณะเดียวกัน ความวิตกเรื่องการขาดแคลนอาหารจากภัยแล้งหรือผลผลิตตกต่ำยังมีอัตราสูงอย่างมีนัยสำคัญทั้งในญี่ปุ่นและออสเตรเลีย (28%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 25%
แม้ความวิตกต่อการขาดแคลนน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นปัญหาที่ผู้คนทั่วโลกกังวลมากที่สุด โดยไทยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับทั่วโลกอยู่ที่ 47% ในปี 2023 ส่วนอินเดียมีความวิตกในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในภูมิภาคจาก 31% ในปี 2021 เป็น 44% ในปี 2023
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น