รองศาสตราจารย์ ดร. คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า “ KMITL INNOVATION EXPO 2024” เป็นการจัดแสดงผลงานวิจัยนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และผลงานสร้างสรรค์ ที่จะสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ หรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้ โดยเน้นที่การนำเสนอผลงาน/โครงการทั้งของอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายและผลงานที่สามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งยังมุ่งเน้นการเชื่อมโยงความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้บัณฑิตที่สามารถเข้ามาร่วมชมผลงานของนักศึกษาทั้งสถาบัน ในการนี้ทางสถาบันจึงได้ร่วมกับทุกคณะ ทุกวิทยาลัย และวิทยาเขต ทุกหน่วยงานภายในสถาบันและหน่วยงานภายนอกที่มีความร่วมมือที่ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ
ไฮไลท์ในงานอยู่ที่ผลงานวิจัยใน 6 คลัสเตอร์ ประกอบด้วย 1. BCG (Agriculture & Food) ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนและความอยู่รอดในอนาคต อาทิ ผลงานวิจัยนํ้าส้มสายชูหมักจากมะม่วงมหาชนก, อาหารผงแบบ Freeze Dry, สแน็คแผ่นโภชนาการสูงจากปลีกล้วย 2. Industry 4.0: การเคลือบฟิล์มเซรามิคใสเพื่อป้องกันการหมองของเครื่องเงิน, IoT Edge computing สําหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางสู่โรงงานอัจฉริยะ 3. Health & Wellness: กลุ่ม MEDICAL DEVICE ได้แก่ KMITL Oxygen High Flow, กล้องและAI ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น, ระบบสเปรย์อิมัลชันน้ำมันหอมระเหยจากพืชเพื่อการลดฝุ่น PM 2.5, 4. Digital & AI: กลุ่ม Future Mobility อากาศยานไร้คนขับอีวีทัล (eVTOL), รถไฟไทยทํา, รถสามล้อไฟฟ้า ERA-ATOM และ Be Boat เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 5. Smart city: กลุ่ม New Energy นวัตกรรมแบตเตอรี่กราฟีน, การแปลงก้างปลาเป็นถ่านกัมมันต์เจือไนโตรเจนเพื่อประยุกต์ใช้สําหรับตัวเก็บประจุยิ่งยวด 6. Creative Economy: สื่อสิ่งพิมพ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสําหรับเยาวชน, การพัฒนากลยุทธ์การผลิตสื่อ, โครงการออกแบบพัฒนาเก้าอี้ล้อเลื่อนสําหรับแข่งขันกีฬาด้านความเร็วเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนพิการ
การจัดงาน “KMITL INNOVATION EXPO 2024” ครั้งนี้ เชื่อว่าจะเป็นอีกเวทีหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ และการนําเสนอผลงาน วิเคราะห์สังเคราะห์ และฝึกทักษะการสื่อสาร รวมทั้งมีความกระตือรือร้นในการทําโครงงานนวัตกรรมและชิ้นงานในทุกระดับชั้นปี รวมถึงการส่งเสริมให้นักศึกษาทุกชั้นปีได้มีโอกาสเสนอแนวคิดสร้างสรรค์ และลงมือทํา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างนวัตกรรมในอนาคต และเป็นการสร้างทักษะ ศักยภาพของนักศึกษาของสถาบันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลักดันผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และหวังว่าจะเกิดการต่อยอดนําไปใช้จริงได้ในที่สุด
รวมทั้ง ในระหว่างที่เรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาจะได้เริ่มทําโปรเจค การบ่มเพาะตลอดทั้ง 4 ปี ที่ศึกษาอยู่ นักศึกษาจะมีทักษะ ความสามารถพร้อมทํางานได้จริงและสําคัญที่สุด ทางสจล.มีหลักสูตรที่เข้มข้น แต่มีความยืดหยุ่น ส่วนหนึ่งคือนักศึกษาสามารถเลือกศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองสนใจได้อีกด้าน เพื่อให้มีทักษะรอบด้าน ทั้งหลักสูตรระยะสั้น ระยะยาว และยังเป็นหลักสูตรที่บุคคลทั่วไปในทุกช่วงวัยสามารถเข้ามาเรียนได้ที่สํานักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL Lifelong Learning Center) และ KMITL Master Class เช่น หลักสูตร ELON KIDS หรือจะเป็นหลักสูตร Law for Entrepreneurs กฎหมายสําหรับผู้ประกอบการ, Robotics and AI หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งทาง สจล. ได้คํานึงถึงคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ภาคอุตสาหกรรม และยังเป็นพื้นที่ให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรม อันจะนำไปสู่เป้าหมายการเป็น The World Master of Innovation ตามวิสัยทัศน์ของสถาบันได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ตลอดการจัดงาน ยังจัดให้มีการเสวนา ในหลายๆ หัวข้อ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นการอัปเดทเทรนด์ของนวัตกรรม และงานวิจัยอีกด้วย อาทิ เทคโนโลยีอวกาศกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติริมชายฝั่งประเทศไทย, ERIA Digital Innovation and Sustainable Economy Centre (E-DISC) and some researches for digitalization in ASEAN and EAST Asia, นวัตกรรมสามพระจอมสู่การยกระดับอุตสาหกรรมไทย, แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นด้วยแนวทางการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ, กลยุทธ์นวัตกรรมที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมไทย (Sustainable innovation strategies in Thai industry), บรรยายหัวข้อ University Holding Company of KMITL โดย บริษัท เคเอ็มไอทีลาดกระบัง จำกัด และเสวนา หัวข้อ Creative Art and Technology in Tourism Industry , Navigating the carbon credit landscape: Strategies, challenges, and business impact, หัวข้อ Farm of the Future, หัวข้อ Micro needle Sensor Technologies for Improved Health, หัวข้อ Relationship between VR sickness, gaze, and autonomic nervous activity in VR
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://expo.kmitl.ac.th/
หรือติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ : Facebook แฟนเพจ : KMITL
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น